อาหารเพื่อสุขภาพ
วันที่ 14-15 มีนาคม 2568 เชิญชมงานอานนท์ไบโอเทคแฟร์ ครั้งที่ 1 เทศกาลเห็ด อาหารเห็ด และเห็ดเป็นยา ระหว่าง ณ สถาบันอานนท์ไบโอเทค ซอยไอยรา 38 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วัตถุประสงค์หลักของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเห็ดเป็นยาและฉลองวันเกิด 6 รอบ 72ปี ของ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล อดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเห็ดองค์การสหประชาชาติ (ระหว่างปี 2524-2548) และผู้ก่อตั้ง สถาบันอานนท์ไบโอเทค วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568 08.30 น.- ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10.00-12.00 u. Live Online : รับชมรายการสด ทาง KU Radio Plus “เห็ดเป็นยา และการพัฒนาผลิตภัณฑ์” ของเครือข่ายสถาบันอานนท์ไบโอเทคดำเนินรายการโดย นายถวิล สุวรรณมณี 09.30 – 12.00 น. เสวนา งานวิจัยด้านเห็ดเป็นยา และการพัฒนาเห็ดเป็นยา นำโดย : – รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล, คณะวิทยาศาสตร์ มก. – ดร.ภัทร์ หนังสือ, เวชกรโอสถ – หมอทวีศักดิ์ พลสวัสดิ์ (หมอวี คนคอน) – Mr. Idan Benshimol, อิสราเอล ผู้ดำเนินรายการ : กาญจนา เพชรมณี (ช่อลัดา) 13.30 – 16.30 น. – เสวนา เห็ดเป็นยา และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ นำโดย : – พอ.นพ.พงศ
บ้านไข่ผำ by ThaiWolffia นับเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงไข่ผำในโรงเรือนระบบปิดแห่งแรกของกรุงเทพฯ อยู่ในซอยเอกชัย 119 อำเภอบางบอน บ้านไข่ผำ ร่วมมือกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ไข่ผำในรูปแบบต่างๆ เช่น บะหมี่ไข่ผำ โปรตีนชงดื่มจากผงไข่ผำ ฯลฯ โดยวางเป้าหมายเจาะตลาดโกอินเตอร์ในอนาคต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page : บ้านไข่ผำ by Thai Wolffia หรือทางโทรศัพท์ 065 583 9150 .
ไข่เจียว หญ้าปักกิ่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ช่วยต้านมะเร็ง อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยควรกินอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสม ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน และมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้ ส่วนประกอบ ไข่ 2 ฟอง หญ้าปักกิ่ง 3-4 ต้น น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ น้ำปลาเล็กน้อย น้ำมันพืช สำหรับทอด วิธีทำ ล้างหญ้าปักกิ่งให้สะอาด แล้วหั่นซอย ตีไข่ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ปรุงรส ใส่หญ้าปักกิ่งลงในไข่ คนให้เข้ากัน ขอบคุณ : ศูนย์การเรียนรู้การดูแลสุขภาพภาคประชาชนด้านการแพทย์แผนไทย อภัยภูเบศร ……………….. เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2566.
ร่างกายมนุษย์ต้องการโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่สำหรับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือคนที่แพ้นมวัว การเติมโปรตีนให้ร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ปัจจุบันได้มีการสกัดโปรตีนจากพืช ( Plant-based Protein ) ตระกูลถั่วและธัญพืชต่างๆ อาทิ ถั่วเหลือง ข้าว ลูกเดือย งา เมล็ดแปะก๊วย เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ เพื่อเป็นโปรตีนทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ และคนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ ประโยชน์จากโปรตีนพืช นอกจากได้โปรตีนช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีกากใยอาหารสูง เสริมเรื่องระบบการขับถ่าย ดูดซึมง่าย ไม่มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันเลวให้กังวลใจ ที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าและช่วยลดปริมาณกากของเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชลงได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงลดการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน รศ.ดร.ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแปรรูปและเกษตรอาหารเชิงหน้าที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสกัดสารจากพืช และร
ในอดีตคนจีนนิยมใช้ลูกเดือยผสมข้าวต้มรับประทานเพื่อบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บวมน้ำ ปวดข้อเรื้อรัง บำรุงม้ามและปอด แก้ท้องเสีย เหน็บชา ร้อนใน ทำให้ผิวสวย และยังช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งอีก เพราะมีวิตามินบี 1 สูง-มากกว่าข้าวกล้องด้วยซ้ำ ที่น่าสนใจ ลูกเดือยเป็นอาหารสมุนไพรที่ “เหมาะกับผู้หญิง” อย่างยิ่ง เมื่อก่อน “เชื่อว่า” กินลูกเดือยทำให้ผิวสวย ผมสวย บำรุงมดลูก ผลการศึกษาวิจัย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือตัวทำละลายอินทรีย์จากรากหรือเมล็ดเดือยมีฤทธิ์ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น ทำให้เส้นผมเจริญดีขึ้น ทั้งพบว่าสารสกัดของลูกเดือยมีผลกระตุ้นการเจริญของ Ovarian follicle และกระตุ้นให้ไข่ตก นอกจากนี้ ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าสาร Coixenolide ในเมล็ดเดือย มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญของเนื้องอก เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้น น้ำลูกเดือย หรือมีส่วนประกอบของลูกเดือยจึงเหมาะเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ลูกเดือยมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะมีปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก มีอยู่ในปริมาณสูง รวมทั้งวิต
ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การออกกำลังกาย และอาหารเสริมในรูปแบบที่แปลกใหม่ ผู้คนมีการหาความรู้จากข่าวสารข้อมูลโซเชียลมากขึ้น มีไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความสมดุลชีวิต ไม่หักโหมทำงานเหมือนคน GEN เดิมๆ ให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตา ความสวย ความงาม และเริ่มใส่ใจต่อความยั่งยืนโลก ไม่ต้องการเป็นผู้ที่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมโลก ในปี 2024 มีแนวโน้มจะกลับมาบริโภคอาหารที่มีการแปรรูปน้อยลง อาหารท้องถิ่นสดใหม่ ปลอดภัย มีความเป็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ก็มีความเชื่อมั่นในกระบวนการแปรรูปอาหารมากขึ้น ใส่ใจการตรวจสอบกระบวนการแปรรูปที่เข้มข้นมากขึ้นและให้ความสำคัญกับส่วนผสม โภชนาการ และวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลายๆ คนก็คงอยากจะรู้ว่าเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพในปี 2024 จะต่างไปจากปีที่ผ่านมาขนาดไหน แล้วจะมี Future Food ตัวไหนที่น่าสนใจบ้าง รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต หัวหน้าทีมพัฒนาฯ เปิดเผยว่า เทรนด์อาหารโลกเพื่อสุขภาพปีนี้จะยังเหมือนปี 2023 แต่จ
หากใครมีสุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ “แก่นตะวัน” ก็ถือเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น เพราะแก่นตะวัน มีอินูลินสูงช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โคลิฟอร์ม และ อี.โคไล ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็กโตบาซิลลัส ให้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น หากอยากลดความอ้วน “แก่นตะวัน” เป็นหนึ่งในตัวช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี เคยมีการทดลองให้หนูกินอาหารผสมอินูลินนาน 3 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักตัวของหนูลดลงจากเดิมถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หากคนกินแก่นตะวันซึ่งมีอินูลินสูงเข้าไป จะช่วยลดน้ำหนักตัวได้ เพราะร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยสารเส้นใยอินูลินได้ เมื่อสารดังกล่าวตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารหลายชั่วโมง จะทำให้ไม่รู้สึกหิวและกินอาหารได้น้อยลง หากกินแก่นตะวันเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ เพราะมีแคลอรีต่ำและไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่กินแก่นตะวันเป็นประจำ มีโอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินน้ำตาลถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว รู้จัก
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการเสริมศักยภาพอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก ให้ทรงคุณค่าทั้งด้านโภชนาการ รสชาติที่ได้มาตรฐาน เพื่อนำไปสู่อาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารเพื่อการบำบัดและเชื่อมโยงถึงการท่องเที่ยว โดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ดั้งเดิมในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบหลักที่เป็นจุดเด่นของพิษณุโลก คือ เนื้อปลา เนื่องจากพิษณุโลกเป็นเมืองปลา ดังนั้นจึงมีปลาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปลาช่อน ปลาตะเพียนขาว ปลาเล็กปลาน้อย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ ซึ่งได้นำองค์ความรู้ด้านเชฟในระดับสากลและมีความเป็นวิทยาศาสตร์ มาช่วยในการใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติของวัตถุดิบมาใช้เพื่อลดการใช้เครื่องปรุงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาหารที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเหมาะกับคนที่เป็นโรค NCD ประกอบเป็นเมนูห่อหมกปลาฟาด เมนูปลาเห็ดที่ Low Sodium High Calcium คือ ลดความเค็ม และแคลเซียมสูง รวมถึงของหวานอย่างเมนู บัตเตอร์เค้กตาล ซึ่งออก
ปัจจุบัน คนไทยประสบปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน และมะเร็ง อันเกิดจากฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น ทำให้อาหารปนเปื้อนสารเคมี ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงวางแผนแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยใช้หลักการ “เกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวมโดยเฉพาะมิติ BCG Model หรือระบบเศรษฐกิจสีเขียว พัฒนาโครงสร้างชุมชนสู่ความเข้มแข็ง มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงในชุมชน หลักการเกษตรสุขภาพ ผศ.ดร.สถาพร แสงสุโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการวิจัย วิทยาลัยบริหารศาสตร์ กล่าวว่า “เกษตรสุขภาพ” เป็นการทำการเกษตรผสมผสาน สวนป่า ธรรมชาติ มุ่งผลิตอาหารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระความเจ็บป่วย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรสุขภาพ งดการใช้สารเคมีทุกชนิด เน้นใช้จุลินทรีย์ ชีวภาพ สารอาหารธรรมชาติ และสิ่งที่เหลือใช้ภายในบ้าน ชุมชน ป่า นำมาผลิตเป็นธาตุอาหารให้กับพืชที่ปลูก และเน้นปลูกพืช
มีผู้ประกอบการไม่น้อยที่เปลี่ยนความชอบเป็น Passion สร้างธุรกิจ เช่นเดียวกับ คุณยุวดี มีทำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคปหมึก ฟู้ดแอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ‘แคปหมึก’ ภายใต้แบรนด์ ‘Ocean Boy’ ที่ชื่นชอบการรับประทานปลาหมึกเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ได้คิดเพียงว่าทำสินค้าอะไรก็ได้จากปลาหมึก แต่เริ่มจากการค้นหางานวิจัยเพื่อนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง จนกลายเป็น ‘แคปหมึก’ ขนมไทยใส่นวัตกรรมที่สะกดใจผู้บริโภคทั้งไทยและต่างประเทศ เริ่มจากความชอบเปลี่ยนเป็น Passion สร้างธุรกิจไม่เหมือนใคร คุณยุวดี เล่าถึงที่มาของธุรกิจว่า เกิดจากความชอบรับประทานปลาหมึก จนกลายมาเป็นธุรกิจจากการได้ไปพบงานวิจัยของด็อกเตอร์ท่านหนึ่ง แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เรื่องการทำปลาหมึกแปรรูปให้พองฟู และกรอบเหมือนแคปหมู งานวิจัยนี้ช่วยทำให้ความฝันของเธอ ก้าวสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจ เพราะมองว่า คนรับประทานหมูอาจมีข้อจำกัดบางเชื้อชาติ แต่สำหรับปลาหมึกใครๆ ก็รับประทานได้ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ถ้าทำผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานส่งออกที่ครบถ้วน จะมีโอกาสเติบโตสู่ตลาดส่งออกไปยังตลาดทั่ว