เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
แม้จะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และไม่เคยทำอาชีพเกษตรกรรมมาก่อน แต่ด้วยความมุมานะพยายามเรียนรู้บวกกับการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำให้วันนี้ คุณภูดิศ หาญสวัสดิ์ หรือ คุณเอก เจ้าของ “บ้านสวน สานฝัน” บ้านหนองไฮ ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรม ในระยะเวลาไม่กี่ปี โดยมีรางวัลการันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประธานยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Young Smart Farmer) จังหวัดขอนแก่น ในฐานะต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สืบสานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ของกรมส่งเสริมการเกษตร และรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ระดับภาค ประจำปี 2561 ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ เขายังทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมในหลายบทบาท อาทิ เป็นอาสาสมัครการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (อสปก.) เป็นครูบัญชีอาสา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น และเป็นประธานกลุ่มข้าว 3D (อร่อยดี ปลอดภัยดี สุขภาพดี) ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเกษตรและการทำบัญชีครัวเรื
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัย ภายใต้งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ปีงบประมาณ 2564 แผนงานวิจัยความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ ด้วย FFC Thailand หรือ Foods with Function Claims ระบบทางเลือกของการรับรองการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ด้วยตนเองในสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เพื่อก้าวไปสู่บทบาทหนึ่งในผู้ผลิตอาหารในตลาดโลก ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำคัญของ FFC Thailand และแนวทางการขับเคลื่อน รวมทั้งการรับรอง FFC และประโยชน์ที่จะได้รับว่า “FFC Thailand หรือ Foods with Function Cliams คือ ระบบการรับรองปริมาณสารสำคัญ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นระบบการรับรองได้ทั้งในผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ FFC Thailand คือ ระบบรับรองการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพในสินค้าเกษตรและอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในรูปแบบออนไลน์ ปิดช่องว่างและอุปสรรค
“ผมไม่ขายผักผลไม้สด แต่นำกล้วยมาอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต้นกุยช่ายมาทำขนม ใบย่านางมาทำชา หรืออย่างอ้อย ชาวบ้านปลูกใช้พื้นที่ 10, 20 ไร่ ขายส่งให้โรงงานผลิตน้ำตาล ก็ถูกกดราคา แต่ผมเรียนรู้กระบวนการหีบอ้อย นำภูมิปัญญาบรรพบุรุษมาใช้ เพื่อทำน้ำตาลอ้อยเอง ปลูกทุกอย่างในรูปแบบอินทรีย์ พื้นที่ปลูกอ้อยแค่ 1.5 ไร่ แต่สามารถทำรายได้เทียบเท่าคนที่ปลูกเป็นสิบๆ ไร่” ยุติกับดักมนุษย์เงินเดือน สู่เกษตรอินทรีย์วิถีไทย ชีวิตวัยเด็ก กับภาพที่เห็นปู่ย่า ตายาย ปลูกข้าว ปลูกผัก มีกินมีใช้อย่างไม่ขัดสน ความสุขเกิดในบ้านหลังเล็กๆ นั่นเพราะรู้จักคำว่า “พอเพียง” นี่จึงเป็นเหตุผลให้เด็กหนุ่มวัยเพียง 20 ปีต้นๆ ยุติการทำงานในระบบลูกจ้าง เพื่อเดินตามรอยความสุข ที่คนรุ่นก่อนเก่าดำเนินมา กับเกษตรอินทรีย์วิถีไทย คุณอภิวรรษ สุขพ่วง เขาคือเจ้าของความสุขกับวิถีพอเพียง ณ “ไร่สุขพ่วง” ตั้งอยู่ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จากพื้นที่แห้งแล้ง ดินเสีย ขาดน้ำ เด็กหนุ่มคนนี้มุ่งหน้าฟื้นฟู ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกข้าว สร้างแหล่งน้ำ สร้างบ้านอยู่อาศัย และเสริมด้วยกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เพื่ออาศัยผลพลอยได้ แต่ไม่ใช่เ
ผลไม้ดองหรือ ผลไม้แช่อิ่ม ตามฤดูกาลต่าง ๆ นับเป็นหนึ่งในการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกเพศ-ทุกวัย การทำ ผลไม้ดองหรือ ผลไม้แช่อิ่ม เป็นอาหารกินเล่นยอดนิยมที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยกรรมวิธีในการถนอมอาหารแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยจับผลไม้ที่เหลือจากการขายหรือกินไม่หมด มาสร้างสรรค์เป็นเมนูใหม่ ๆ อร่อยไฉไลยิ่งกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำขาย สร้างเป็นรายได้เสริม หรือรายได้หลัก ได้ไม่ยากอีกด้วย “ ถ้าจะพูดถึงเมนูยอดนิยม เราคงต้องพูดถึง “มะม่วงแช่อิ่ม” เรียกได้ว่า ลูกค้าขาประจำทุกคนไม่เคยพลาด ที่จะซื้อเมนูนี้ติดไม้ติดมือกลับบ้านกันทุกคน ส่วนเมนูอื่นๆ อย่าง มะขาม, มะปราง, มะดัน, กระท้อน, มะกอก, มะขามป้อม ก็ถือเป็นสินค้ายอดนิยมของร้านเราเหมือนกัน เรียกได้ว่า หากคุณชื่นชอบผลไม้แช่อื่มมี่ร้านของมีแทบจะครบทุกอย่างเลยทีเดียว” นี่คือ คำเอื้อนเอ่ยจากปากของ คุณสมใจ จินา เจ้าของผลิตภัณฑ์ สมใจผลไม้แช่อิ่ม ที่ได้ชักชวนให้ทีมงานของเรามาลองชิมสารพัดผลไม้แช่อิ่มรสชาติดี “ การทำผลไม้แช่อิ่ม สามารถทำเป็น “อาชีพหลัก” หรือ “อาชีพเสริม” เพิ่มรายได้จากเดิมที่มีอยู่แล้ว โ
พลิกโฉมภาคเกษตร ปั้น “โรงเรือนมะเขือเทศอัจฉริยะ” เปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตร 4.0 แก้ปัญหายากจน มุ่งขับเคลื่อนเป็นแหล่งวิจัยงานด้านเกษตรอัจฉริยะของประเทศ พร้อมส่งเสริมการตลาดและระบบขนส่ง หวังเพิ่มมูลค่าสินค้า สู่การพัฒนา Big Data นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักในโรงเรือน ภายใต้โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภออู่ทอง (ศพก.) วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ที่มุ่งเน้นในการยกระดับขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตร โดยการเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และมีเป้าหมายในการสร้าง GovTech/Big data ของกระทรวงเกษตรฯ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเพื่อยกระดับสู่ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60% อย่า
3 แบรนด์ 4 ผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า ‘มันสำปะหลัง’ สร้างทางรอดให้เกษตรกร นับเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการเกษตรไทย เมื่อ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จับมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันแก้ปัญหา “มันสำปะหลัง” ราคาตกต่ำ โดยเปิดตัว “สแน็ก 3 แบรนด์ใหม่” อย่าง CASSA SWEET, Amade และ CASSY CHIPS ผลผลิตจากแปรรูปมันสำปะหลัง เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา รศ.ดร. อนุวัติ แจ้งชัด คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เรามีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารซึ่งทำงานได้ครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมด้วยบุคลากร นักวิจัยที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการต่อยอดสินค้าเกษตรให้เกิดมูลค่าที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เกษตรศาสตร์ยังเป็นหนึ่งในเครือข่ายของ “เมืองนวัตกรรมอาหาร” หรือ Food Innopolis ในการศึกษา พัฒนา วิจัยชิ้นงานที่สามารถออกสู่ตลาดได้ สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น รศ.ดร. ปรารถนา ปรารถนาดี หัวหน้าโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะห