เอลนีโญ
ที่ผ่านมาเกิด “ปรากฏการณ์ลานีญา” มาอย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบต่อฝนในไทย โดยเฉพาะภาคใต้ ฤดูฝนมีแนวโน้มจะสั้นลง ฝนจะหายไปเร็ว ขณะเดียวกัน “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” ก็รุนแรงขึ้น ทำให้ฝนฟ้าไม่ปกติ ทั้งน้ำท่วมหนัก และภัยแล้งรุนแรงขึ้น ไม่รู้ว่าจะไปยุติตรงไหน และจะมีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน ตลอดจนการผลิตอาหารของโลกอย่างไร อะไรกันนักหนา? เดี๋ยวลานีญา เดี๋ยวเอลนีโญ มันจะมาอีท่าไหนกัน? แล้วที่ว่าจะมีผลต่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารป้อนโลก หรือพูดให้ตรงกว่านั้น มีผลต่อชาวไร่ชาวนาทั้งโลกนั้น จะมีผลอย่างไร? รุนแรงแค่ไหน? หรือจะต้องถึงล้มหายตายจากกันเสียสิ้นในคราวนี้? อธิบายกันแบบสั้นที่สุดคือ เอลนีโญ (El Niño) และลานีญา (La Niña) เป็นปรากฏการณ์สุดขั้วตรงข้ามของกระแสอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก กระแสลมเปลี่ยนทิศ กระแสน้ำในมหาสมุทรปรวนแปร มีผลต่อสภาวะอากาศของโลกเป็นวงกว้าง รวมทั้งแถบเอเชียเราด้วย นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุหรือคาดการณ์เวลาได้แน่ชัด จากสถิติเรารู้เพียงว่า ทุกๆ 2 ถึง 7 ปี มักเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาขึ้น โดยเอลนีโญมักเกิดขึ้นในช่วงปลายปี กินเวลาตั้งแต่ 2 เด
ปี 2567 คือปีที่พี่น้องเกษตรกรต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่แน่ไม่นอนของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จนเกิดภัยแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน หรือปรากฏการณ์ลานีญาที่ส่งผลให้เกิดภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” มีโอกาสนั่งพูดคุยกับ คุณพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวกับการปรับตัวของภาคการเกษตรเพื่อรับมือกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สร้างผลกระทบต่อเนื่องตลอดปี อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นถึงภาพรวมของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สร้างผลกระทบต่อภาคการเกษตร “เป็นที่ทราบกันดีว่าโลกของเรา โดยเฉพาะในโซนเอเชียต้องเจอกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า เอลนีโญ ส่งผลให้เกิดภัยแล้งตั้งแต่ในปี 2566 ต่อเนื่องมาถึงในปี 2567 แล้วก็เจอกับ ปรากฏการณ์ลานีญา ฝนตกในเกณฑ์ที่มากกว่าปกติ ทางภาคเหนือของเราก็เจอกับ เรนบอมบ์ จนเกิด น้ำท่วมฉับพลั
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2567 (กรกฎาคม-กันยายน 2567) หดตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยการผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนในไตรมาส 3 ได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนน้อยและอากาศแห้งแล้ง และยังได้รับผลกระทบลานีญาที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2567 ทำให้มีมรสุมและฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้สาขาพืชและสาขาบริการทางการเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2 เช่นเดียวกับสาขาประมง หดตัวเช่นเดียวกัน ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาป่าไม้ ยังขยายตัวได้ สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืช หดตัวร้อยละ 0.4 จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน 2567 ทำให้สภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชบางส่วน ทำให้ผลผลิตพืชหลายชนิดลดลง แม้ว่าปรากฏการณเอลนีโญจะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2567 แต่การเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญาในเดือนกันยายน 2567 ทำให้ประเทศไทยเผชิญกับมรสุมและมีฝน
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภาพอากาศที่ร้อนขึ้น เป็นปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มส่งผลแล้วในหลายพื้นที่ และคาดการณ์ว่า ภาวะเอลนีโญในปีนี้จะหนักขึ้นมากกว่าในปี 2566 โดยในปี 2567 อุณหภูมิโลก คาดว่าจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ ทั้งจากปริมาณน้ำฝนที่จะตกในช่วงฤดูฝนน้อยลง และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จะต่ำกว่าร้อยละ 20 หลังจากผ่านต้นปีไปแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงครึ่งปีแรก ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน อากาศจะร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ท้าทาย สำหรับการปลูกพืช และการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงปศุสัตว์และประมงจะเกิดภาวะแล้งในหลายพื้นที่ สำหรับผลพยากรณ์ของ สศก. คาดว่าเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2567 (ข้อมูล ณ กันยายน 2566) จะมีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และให้ผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม โดยลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม เนื่องจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ
ด้าน สทนช. เตรียมระดมทุกภาคส่วน เสวนา “ผ่าทางรอดประเทศไทย จับมือฝ่าวิกฤติภัย “เอลนีโญ”” พฤศจิกายนนี้ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง 66/67 สั่งการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทบทวนมาตรการรับมือหน้าแล้งนี้ ทั้ง 9 มาตรการ รวม 3 ด้าน เพื่อรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ด้าน เลขาธิการ สนทช. เผยพฤศจิกายนนี้เตรียมจัดงานใหญ่ ระดมทุกภาคส่วน ร่วมเสวนา “ผ่าทางรอดประเทศไทย จับมือฝ่าวิกฤติภัย “เอลนีโญ”” นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุมเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำปี 2566/2567 ณ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวน (ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/2567 ทั้ง 9 มาตรการ แบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านน้ำต้นทุน คือ เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ด้านความต้องการใช้น้ำ คือ กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชหน้าแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร
“ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยจากการส่งออกมายาวนาน แต่ในปี 2565 ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้กับเวียดนาม ผลผลิตของข้าวไทยและการแข่งขันข้าวในตลาดโลกของไทยร่วงลงมาอยู่อันดับ 3 โดนเวียดนามแซงขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเดิมเวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 7 ล้านตันต่อปี แต่เพียงแค่ 8 เดือน เวียดนามส่งออกถึง 5.81 ล้านตัน แซงหน้าไทยที่ส่งออกได้เพียง 5.27ล้านตัน จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย อีกทั้ง คาดการณ์ล่าสุดของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภายใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า การผลิตข้าวไทยจะลดลง 871,000 ตัน ข้าวเปลือก ลดลง 3.27% เหลือ 25.8 ล้านตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566-2567 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป และนอกจากปัญหาสภาพดิน ฟ้า อากาศ ที่ยากจะควบคุมแล้ว ผลผลิตข้าวของไทยยังมีความเสี่ยงลดลงเนื่องจาก แมลงศัตรูพืช และ “โรคในนาข้าว” ที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อผลผลิตและคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่ต่ำลง โรคที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อาทิ โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง และโรคใ
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝนที่ตกหนัก และปรากฏการณ์เอลนีโญ ในการนี้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และสื่อมวลชน ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินตรวจสภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะแวะลงจอดที่บริเวณเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จากนั้นได้ร่วมกับ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ไปรอทำข่าว ถึงแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก ควบคู่ไปกับการรับมือปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้า
รมว.เกษตรฯ “ธรรมนัส” เข้ม…ย้ำชลประทานบริหารน้ำ ลดผลกระทบประชาชนให้มากที่สุด (21 กันยายน 2566) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ผ่านทางระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และสำนักเครื่องจักรกล โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีฝ่ายบริหาร นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังส่งผลกระทบในปัจจุบัน ทำให้มีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักบางแห่ง กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด สู่ 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทานอย่างเคร่
ส.ป.ก. ชูไอเดียประหยัดน้ำ รับมือ “เอลนีโญ” จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดหลักสูตร “ปลูกผักสวนครัวระบบน้ำหยด” ต่อยอดโครงการบ่อน้ำบาดาลโซลาร์เซลล์ฯ นำร่องในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์-พิษณุโลก ด้านเกษตรกรเผยแล้งนี้หมดห่วงมั่นใจมีน้ำในการทำการเกษตรเพียงพอแน่นอน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า หลังจาก ส.ป.ก. ประสบความสำเร็จในการผลักดันโครงการก่อสร้างบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรแล้วเสร็จ จำนวน 41 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 28 จังหวัด คิดเป็น 66.13% ของพื้นที่เป้าหมาย มีพี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์ไปแล้ว 1,096 ครัวเรือน มีพื้นที่รับประโยชน์ 11,590 ไร่ โดยประโยชน์ของโครงการเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองและช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนประเภทผิวดิน เนื่องจากพื้นที่ ส.ป.ก. ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทานและเป็นพื้นที่ห่างไกลจากระบบไฟฟ้า ส.ป.ก. จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ นำมาใช้ในระบบสูบส่งกระจายน้ำเข้าแปลงเกษตรกรรมเพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคล
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร ครั้งที่ 2/2566 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (6 กันยายน 2566 ) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 42,646 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 6,450 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 10,188 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว 3,342 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก ได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เร่งเก็บกักน้ำและสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าให้ได้ม