โคขุน
ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหาร โดยเฉพาะเนื้อโคที่ต้องมีทั้งรสชาติ ความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทำให้แนวคิด “ตลาดนำการผลิต” กลายเป็นหัวใจสำคัญของเกษตรยุคใหม่ เฮียสูง-อรรควัฒน์ วิริยะขจรเกียรติ เจ้าของ เอ็น.วี.เค. ฟาร์ม คือหนึ่งในเกษตรกรที่หยิบแนวคิดนี้มาขับเคลื่อนธุรกิจโคเนื้ออย่างจริงจัง ด้วยการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมแองกัสเพื่อสร้างเป็น “โคขุนคุณภาพสูง” ป้อนสู่ตลาดที่ต้องการเฉพาะกลุ่ม ทั้งร้านสเต๊ก ร้านชาบู โรงแรม รวมถึงลูกค้าทั่วไปที่นิยมเนื้อเกรดพรีเมียม จากการจัดการที่เข้มงวดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยง การคัดแยก การแปรรูป ไปจนถึงการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ฟาร์มของเฮียสูงจึงสามารถเพิ่มมูลค่าของโคขุนแต่ละตัวได้สูงถึงหลักแสนบาท พร้อมทั้งตอบโจทย์ตลาดเนื้อคุณภาพที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ปรับการเลี้ยงโคเนื้อ จากสิ่งที่ชอบ ให้ตรงตามความต้องการของตลาด เฮียสูง เล่าให้ฟังว่า เป็นคนที่ชื่นชอบในเรื่องของการเลี้ยงโคเนื้อ พอมีโอกาสจึงเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมรายได้ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ เมื่อการเลี้ยงเริ่มประสบผลสำเร็จมากข
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสน ผลิตโคเนื้อปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยแปรรูปเป็นเนื้อสเต๊ก ชาบู ไส้กรอก ลูกชิ้น อบแห้ง มุ่งเจาะตลาดฝั่งอันดามันเมืองท่องเที่ยวระดับโลก คุณจำเนียร เจียมสวัสดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง บอกว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสน ได้รวมตัวก่อตั้งขึ้นมาก็เพื่อรวบรวมบรรดาผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมืองรอบๆ ลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุงมาปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อประเภทลูกผสม จากการผสมพันธุ์กันกับโคสายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์ยุโรป แล้วก็เป็นโคเนื้อลูกผสมถึงสามสายใต้ “เป็นการพัฒนาเนื้อโคขุนเป็นอัตลักษณ์ของพัทลุง ให้มีความโดดเด่นที่สุด ที่จะเหมาะต่อการส่งออกแบรนด์ “Phatthalung Lake Beef” โดยชูจุดขายเนื้อโคขุนอัตลักษณ์แห่งลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุงที่สำคัญ” ส่วนอาหารที่ให้โคกินก็ไม่มีการใช้อาหารที่มีสารเร่งเนื้อแดง 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นการเลี้ยงโคเนื้อปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เลี้ยงแบบธรรมชาติพร้อมกับรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งจะไม่มีกลิ่นอีกด้วย ผู้เลี้ยงโคนั้นจะแบ่งสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกก็เป็นประเภทเลี้ยงแม่โค กลุ่มที่สองจะ
“โคขุน” นับเป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สร้างรายได้ดีให้เกษตรกร ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตรเป็นหลัก พื้นที่การเลี้ยงครอบคลุมทั้ง 19 อำเภอ พบการเลี้ยงมากที่สุดในอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอไชยา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) ติดตามสถานการณ์การผลิตโคขุนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ปัจจุบัน เกษตรกรมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม และเลี้ยงแบบรายเดียว ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโคขุน คือ คุณปรีชา เรืองแสง เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณปรีชา เล่าว่า เริ่มจากการเป็นเกษตรกรทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันราคายางพาราและปาล์มน้ำมันไม่แน่นอน ปุ๋ยราคาสูง ประกอบกับอยากมีรายได้เสริมที่สามารถสร้างอาชีพ หลังจากนั้นได้มีโอกาสศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงโคขุนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำพงแสน และศึกษาจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มที่เลี้ยงจนประสบความสำเร็จ จึงได้
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลุยยโสธรตามความคืบหน้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิก หนุนสหกรณ์ให้สินเชื่อคุณภาพแก่สมาชิก ช่วยลดหนี้ค้าง ชมอาชีพเลี้ยงโคขุนสร้างรายได้ พร้อมเดินหน้าขยายผลสู่สหกรณ์ทั่วประเทศ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายปรีชา ลาภารัตน์ สหกรณ์จังหวัดยโสธร และสหกรณ์จังหวัดใกล้เคียง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรทรายมูล จำกัด โดยมี นายสฤษดิ์ อกอุ่น ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ นางชฎาภรณ์ เสริฐวาสนา ผู้จัดการสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรทรายมูล จำกัด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ให้กำลังใจและชื่นชมความตั้งใจของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ด้วยการส่งเสริมอาชีพใหม่ ปรับเปลี่ยนอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิก จนกระทั่งสมาชิกมีเงินใช้หนี้ให้กับสหกรณ์ได้ รวมถึงการส่งอาชีพการเลี้ยงโคเป็นเรื่องที่ดี และขอให้สหกรณ์ขยายผลไปยังสมาชิกรายอื่นต่อไป ซึ่งตลาดโคยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทั้งมูลของโคยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก
เกษตรกรท่านนี้ที่ผมพาไปชม เขาขุนวัวเป็นอาชีพเสริมและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนขนาดธุรกิจของเขาให้เข้ากับทิศทางธุรกิจที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามมาจะพาไปดูครับ วัวขุนอาชีพเสริมที่เอาจริง พาท่านไปพบกับ คุณวิศาล กระต่าย ที่บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี คุณวิศาล มีคอกวัวขุนอยู่หลังบ้าน เป็นคอกวัวขุนที่สร้างขึ้นอย่างแข็งแรง ถาวร ชี้ให้เห็นว่าเขาเอาจริงเอาจังกับการขุนวัวอยู่ไม่น้อย คุณวิศาล เริ่มเล่าให้ฟังว่า “ผมมีงานประจำอยู่แล้ว แต่ก็มองหาอาชีพเสริมไปด้วย สุดท้ายก็มาลงเอยที่การขุนวัวเป็นอาชีพเสริม รายได้เสริม เริ่มขุนมาได้ 2 ปีแล้ว เริ่มต้นก็ลงทุนกับเรื่องคอกวัวแบบถาวรไปเลย เพราะเห็นว่าการขุนวัวน่าจะเป็นอาชีพเสริมที่ดี วิธีการของผมนั้นจะลงทุนขุนวัวไม่มาก ครั้งละ 3-7 ตัว มากที่สุดที่เคยขุนก็แค่ 7 ตัว ซึ่งมันก็แล้วแต่ราคาวัวในตลาด ช่วงไหนวัวราคาดี หาซื้อวัวโครงได้ง่ายก็ขุนมากหน่อย ช่วงไหนราคาแกว่งเราก็เลี้ยงโดยขุนให้น้อยตัวลง” คุณวิศาล เล่าให้ฟัง ต้องรู้ราคาขายวัวขุนเสียก่อน การขุนวัวก็เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง สิ่งที่มากับธุรกิจก็คือ ความเสี่ยง แต่จะเสี่ยงมากหรือน้
อาชีพทางการเกษตรของประชากรอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่ทำนาปลูกข้าวนาปี เมื่อเสร็จจากการเก็บผลผลิตแล้วมักนิยมทำเกษตรนอกฤดู อย่างเช่น ปลูกกระเทียม ถั่วเหลือง และถั่วลิสง หรือปลูกพืชชนิดอื่นบ้างเล็กน้อยเพื่อจำหน่ายและเก็บไว้บริโภคภายในครัวเรือน สำหรับวัวจะเลี้ยงเพื่อใช้งานและบริโภคในครัวเรือน วิธีเลี้ยงด้วยการต้อนฝูงขึ้นไปอยู่และหากินในป่าบนภูเขา ขาดการดูแลเอาใจใส่ จนทำให้วัวมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ตัวเล็ก ผอม ขี้โรค ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำมาใช้งานหรือบริโภค หรือแม้แต่ขายก็ได้ราคาต่ำ ทั้งนี้ ทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสบเมยเห็นว่า หากชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงวัวให้มาเป็นแบบควบคุมอย่างมีระบบตามแนวทางมาตรฐาน พร้อมไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงวัวตามแนวทางโครงการวัวแก้จน ตามนโยบายของรัฐบาลก็จะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายวัวเพิ่มขึ้น จึงชักชวนชาวบ้านที่มีความพร้อม มีความสนใจและสมัครใจเข้าเป็นกลุ่มนำร่องดำเนินงานตามแผนมาแล้วกว่า 3 ปีจนประสบความสำเร็จ ผลักดันกิจกรรมกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงวัวให้เกิดขึ้น สร้างบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในชุมชน ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้แล
โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เกิดจากการพัฒนาให้มีเลือด 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์บราห์มัน 25 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์พื้นเมือง 25 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เป็นโคที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีสีขาวครีมเหลืองทั้งตัวดูสง่างาม จึงถือว่าเป็นโคที่มีส่วนผสมผสานคุณสมบัติด้านดีของแต่ละสายพันธุ์เข้าด้วยกัน คือ สายพันธุ์บราห์มัน มีลักษณะเด่นที่โครงสร้างร่างสูงใหญ่ แข็งแรง พันธุ์พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คุ้นเคยและทนต่อสภาพอากาศได้ดี และสายพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ สร้างเนื้อได้มาก คุณภาพดี โตไวในสภาพการเลี้ยงเพื่อขุนเป็นโคเนื้อ จึงถือได้ว่าโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เป็นโคที่มีการปรับปรุงพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีเลิศ มีความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ มีความทนต่อสภาพอากาศจึงเหมาะสมที่เลี้ยงในสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย นอกจากนี้ โคยังเป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ทำให้ได้ลูกโคทุกปีแม้วัวจะไม่ค่อยได้กินอาหารที่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งการเลี้ยงสามารถปล่อยให้กินหญ้าตามทุ่งหญ้าทั่วไปได้เหมือนโคไร่ทุ่งทั่วไป แต่ถ้าต้องการส่งจำหน่ายเพื่อเป็นโคเนื้อที่มีเนื้อคุณภาพ การเลี้ยงต้องมีขั้นตอนมากขึ้นเป็นไปตามมาตรฐาน ดร.คณิต สุขรัตน์ ได้ศึกษ
คุณรัชนีกร เงินแย้ม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจ 4 สินค้า ได้แก่ จิ้งหรีด แพะเนื้อ โคขุน และหญ้าเนเปียร์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้สูงกว่าการผลิตข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) สศท.4 ได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนสินค้าเกษตร Future Crop ทั้ง 4 ชนิด พบว่า สามารถเลี้ยงหรือปลูกเสริมทดแทนข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 จังหวัด ได้เป็นอย่างดี โดยหากจำแนกเป็นรายชนิด พบว่า จิ้งหรีด ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 276 บาทต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 1 ปี เลี้ยงได้ 6-7 รุ่น ให้ผลผลิตประมาณ 7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ราคาขายเฉลี่ย 104.06 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนเฉลี่ย 701 บาทต่อตารางเมตร ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 426 บาทต่อตารางเมตร หรือ 63 บาทต่อกิโลกรั
โคนม ถือเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ โคนมเพศเมียมีหน้าที่สร้างน้ำนม ในส่วนของโคนมเพศผู้นั้นเมื่อเกิดมาได้ไม่นานก็จะต้องถูกขายเข้าโรงฆ่าสัตว์เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีราคาค่อนข้างต่ำ เนื่องด้วยเนื้อโคนมไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มของผู้ที่กินเนื้อวัว ในขณะที่เนื้อโคขุนจะได้รับความนิยมที่มากกว่า เพราะโคขุนถูกเลี้ยงเพื่อสร้างเนื้อสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ ในปัจจุบันต้องยอมรับเลยว่า ธุรกิจด้านอาหารในประเทศไทยเติบโตมากขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อโคขุนมีความต้องการมากเพิ่มขึ้นไปด้วย ทำให้มีการนำเข้าเนื้อโคขุนจากต่างประเทศซึ่งทำให้เนื้อโคขุนนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาที่สูงขึ้น ดังนั้น เนื้อโคนมจึงเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง หากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศสามารถเพิ่มคุณภาพของเนื้อโคนมได้เทียบเท่ากับเนื้อโคขุนจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นและยังช่วยลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ คุณบุษกร บุญส่ง หรือ คุณโม อายุ 18 ปี อาศัยอยู่ บ้านโคกเชือกใต้ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงโคนมเพศผู้ มาเป็นระยะเวลา 3 ปี คุณบุษกรเล่าถึงจุดเริ่ม
การเลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพที่กำลังได้รับความสนใจเพราะสามารถทำกำไรได้มากเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง การเลี้ยงโคขุนต้องมีการลงทุนและมีแผนงานที่แน่นอนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะเวลาตามที่กำหนด การเลี้ยงโคขุนเปรียบเสมือนการออมทรัพย์ การเติบโตของโคที่เกิดขึ้นคือ ดอกเบี้ยที่เกิดจากการสะสม เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดก็นำมาขายสร้างรายได้แก่เกษตรกร คุณทวีป สูงสุทธิ์ เกษตรกรบ้านนาโต๊ะหมิง หมู่ที่ 1 ตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้ ทำการเกษตรหลากหลายรูปแบบ เช่น การปลูกปาล์มน้ำมันและการเลี้ยงโคขุนร่วมด้วย เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่า สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปีจนพึ่งพาตนเองได้เป็นคนแรกในชุมชนและนำความสำเร็จสรุปเป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดสู่ชุมชน เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด แก้ปัญหาความเป็นอยู่และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทั่งได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตรังจึงจัดตั้งให้เป็นศูนย์เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานคณะกรรมการแปลงใหญ่ระดับจ