ประมง
ปลาพลวงชมพู หรือปลากือเลาะห์ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดประจำท้องถิ่นจังหวัดยะลาและนราธิวาส พบเห็นในลำคลองธรรมชาติ ที่น้ำค่อนข้างเย็นไหลผ่าน มีปริมาณออกซิเจนสูง เช่น น้ำตก หรือบริเวณต้นแม่น้ำสายหลักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตาปี ไปจนถึงมาเลเซีย ปลาพลวงชมพู เป็นปลาสวยงามที่ความโดดเด่นเรื่องสีเกล็ดเป็นสีชมพู บริเวณครีบหลังและครีบหางเป็นสีแดง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส โดยเฉพาะแม่น้ำปัตตานี และป่าฮาลา-บาลา ปลาพลวงชมพูได้รับการประกาศให้เป็นปลาประจำจังหวัดยะลาตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2558 นอกจากนี้ จังหวัดยะลาได้ยื่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ปลาพลวงชมพู (กือเลาะห์) ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา” “พลวงชมพู” อยู่ในตระกูลเดียวกับปลาเวียน และปลาพลวงหิน จุดเด่นของปลาพลวงชมพูคือ มีเกล็ดปลาสีชมพู ครีบหลังและครีบหางสีแดง เป็นปลาพลวงชนิดเดียวที่สามารถกินได้ทั้งเกล็ด เวลาเคี้ยวเกล็ดปลามีรสสัมผัสเหมือนเคี้ยวกระดูกอ่อนไก่ บางคนนำเกล็ดปลาพลวงชมพูมาทอดเป็นข้าวเกรียบก็ได้รสชาติอร่อยไปอีกแบบ แถมดีต่อสุขภาพเพราะเกล็ดปลาชนิดนี้มีสารคอลลาเจนสู
การเลี้ยงอึ่งปากขวด อึ่งโขก อึ่งเผ้า อึ่งเค่า (ภาคเหนือ) เจ้าสัตว์ลำตัวอ้วนป้อม มีเสียงร้องเฉพาะตัว เสียงดัง ผิวหนังสีเทาเข้ม มีจุดด่างเล็กๆ ข้างตัวสีเทาอ่อน ท้องจะออกสีขาวซีด ถ้าเป็นตัวเมียจะเห็นท้องมีลายจุดดำๆ เห็นไข่ชัด คล้ายไข่กบ คืออึ่งปากขวด อึ่งโขก อึ่งเผ้า อึ่งเค่า (ภาคเหนือ) คนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมรับประทานมาก ปีหนึ่งมีให้รับประทานครั้งเดียว คือต้นฤดูฝน ส่วนใหญ่คนนิยมกินไข่ ไข่จะเยอะมากถ้าเทียบกับตัวอึ่ง ฉะนั้นตัวเมียจึงเป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้เริ่มหายากขึ้น จึงพยายามที่จะนำมาเพาะเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้ค่อนข้างดีทีเดียว ที่ ดงลำดวนฟาร์ม โดย คุณอดุลย์ พูลเพิ่ม เป็นหนึ่งในผู้ที่เพาะเลี้ยงอึ่งเผ้า ทำไมต้องเป็น อึ่งเผ้า คือตัวใหญ่ ไข่เยอะ และไม่มีเมือกตรงผิวและเป็นสัตว์ที่อยู่ตามป่าละเมาะ กินดินโป่งและแมลงเป็นอาหาร ถือว่าสะอาด ไม่เหมือนอึ่งที่มีลำตัวลายเรียกว่าอึ่งข้างลาย จะเป็นอึ่งใกล้บ้าน กินทุกอย่าง ลำตัวเป็นเมือก เรียกอีกอย่างว่าอึ่งยาง หรืออึ่งลาย แต่รสชาติเหมือนกับอึ่งเผ้า ทำไมเล
ในยุคที่การทำเกษตรไม่จำกัดแค่บนบก การเลี้ยง สาหร่ายผักกาดทะเล กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้ ด้วยระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นเพียง 3 สัปดาห์ ก็สามารถเก็บเกี่ยวและขายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท จากปลานวลจันทร์สู่สาหร่ายผักกาดทะเล ต่อยอดทรัพยากรท้องถิ่นด้วย Zero Waste Model คุณตุ๋ม-สุภิดา ลิ้นทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ เล่าว่า ก่อนที่ชุมชนจะหันมาศึกษาและพัฒนา การเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเล พื้นที่ของเราติดทะเล อาชีพหลักจึงเกี่ยวข้องกับสัตว์ทะเล หนึ่งในนั้นคือ ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและมีราคาสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดที่มีมูลค่าต่ำ ทางกลุ่มของเราจึงนำทรัพยากรเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอด ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ภายใต้แนวคิด Zero Waste Model หรือ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเหลือทิ้งให้เป็นศูนย์ การเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเล เป็นการต่อยอดจากแนวคิด Zero Waste Model ที่ใช้กับ ปลานวลจันทร์ทะเล โดยเรายึดหลัก “ปลาหนึ่งตัว ตั้งแต่เกล็ดยันขี้ปลา เราไม่ทิ้งอะไ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลานิลกุ้งขาวบางเสาธง เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2560 มีเนื้อที่รวมกว่า 1,821.5 ไร่ มีเจ้าหน้าที่กรมประมงลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านวิชาการและติดตามความก้าวหน้าของฟาร์มเกษตรกรอย่างต่อเนื่องตลอดจนมีการจัดอบรมเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการพร้อมกับแนะนำตลาดใหม่ๆ ให้เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลานิลกุ้งขาวบางเสาธง มีการจัดการประชุมกับเกษตรกรในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมาของเกษตรกรในกลุ่ม ที่หันมาเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวจนประสบความสำเร็จในอาชีพ จากเดิมเกษตรกรเลี้ยงปลารอบละ 10 เดือน ก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กรมประมงทั้งในเรื่องวิธีการเลี้ยง การคัดเลือกลูกพันธุ์ อาหาร ฯลฯ ส่งผลทำให้การเลี้ยงสัตว์น้ำเหลือเพียงรอบละ 4 เดือน จากที่เกษตรกรเคยมีรายได้ปีละ 1 ครั้ง ตอนนี้มีรายได้มากขึ้นเป็นปีละ 3 ครั้ง ปัจจุบันทางกลุ่มมีผลผลิตที่หลากหลายมากขึ้นด้วย เทคนิคการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ทางกลุ่มจะปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศลงบ่อเลี้ยงก่อนกุ้งขาวเป็นระยะเวลา 1 เดือนในอัตราการปล่อยที่ไม่ให้หนาแน่นจนเกินไป เช่น กา
มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7436-2563 คือ การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เป็นมาตรฐานสมัครใจที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดขึ้นในปีพ.ศ. 2563 มีขอบข่ายครอบคลุมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ทั้งการเลี้ยงในบ่อและการเลี้ยงในแหล่งน้ำสาธารณะ ตั้งแต่การเลี้ยง การจับ จนถึงหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม โดยจุดเด่นของมาตรฐานฯ คือเกษตรกรสามารถขอการรับรองสัตว์น้ำหลายชนิดพร้อมกันได้ภายใต้มาตรฐานฉบับเดียว มกษ. 7436-2563 ประกอบด้วยข้อกำหนดสำคัญ 9 ข้อ ได้แก่ 1.สถานที่ 2.การจัดการเลี้ยง 3.การจัดการคุณภาพสัตว์น้ำ 4.การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ 5.สุขลักษณะภายในฟาร์ม 6.การจัดการน้ำทิ้ง การจับและการปฏิบัติหลังการจับ ก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม 8.ผู้ปฏิบัติงาน 9.การเก็บหลักฐานและการบันทึกข้อมูลยกเว้น จระเข้ สาหร่ายทะเล และกุ้งเครย์ฟิช ยื่นคำขอรับรองได้ที่ไหน ทั้งนี้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจ มาตรฐาน มกษ. 7436-2563 สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือยื่นคำขอรับการตรวจรับรองได้ที่ กองพ
“ สาริกาฟาร์ม 4 ” จังหวัดฉะเชิงเทรา นับเป็นต้นแบบของการเลี้ยงกุ้งบ่อเล็ก ขนาด 1 ไร่ (1,600 ตรม.) ที่มีแนวทางลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร โดยการลด ละ เลิกใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะ เลือกใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงภายในฟาร์ม ทำให้สัตว์น้ำแข็งแรง อัตราการรอดสูง ทนต่อความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดีแล้ว ยังพบสารอินทรีย์ตกค้างในพื้นบ่อเพาะเลี้ยงน้อยลงกว่าเดิม ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น สามารถเพาะเลี้ยงกุ้งโดยไม่มีการถ่ายน้ำ ทำให้ต้นทุนต่ำ มีผลกำไรมากขึ้น เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ กำไร1ล้าน ทำฟาร์มผลิตกุ้งคุณภาพดี ทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม คุณชาลี จิตรประสงค์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งฉะเชิงเทรา เจ้าของกิจการสาริกาฟาร์ม4 สะสมประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง มากว่า 30 ปี เขามุ่งมั่นที่จะผลิตกุ้งคุณภาพดี สด สะอาด ปลอดภัยไร้สารตกค้าง จำหน่ายภายในประเทศและส่งออก ขณะเดียวกันก็ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบจนได้รับมาตรฐาน Aquaculture Stewardship Council (ASC) ซึ่งเป็นมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของสหภาพยุโรป ปัจจุบ
“ปลานิล” เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของเชียงราย มีพื้นที่หลายแห่งเลี้ยงปลานิล แต่แหล่งผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอพาน เนื่องจากมีระบบชลประทานแม่ลาว ในปี 2561 เกษตรกรจำนวน 5,361 ราย เลี้ยงปลานิลได้ 21,563 ตัน สำหรับชาวบ้านตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง ใช้วิธีเลี้ยงปลานิลแบบต้นทุนต่ำแนวอินทรีย์ช่วยให้มีคุณภาพ ปลอดภัย พร้อมแปรรูปสร้างมูลค่า ส่งขายตลาดสุขภาพ ขุดบ่อสร้างแหล่งน้ำทำเกษตรกรรม แล้วใช้เลี้ยงปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด คุณพิชญาภา ณรงค์ชัย ประธานกลุ่มเลี้ยงปลานิลถิ่นล้านนาสู่สากล ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เล่าว่า จุดเริ่มต้นมาจากการที่ชาวบ้านในชุมชนประสบปัญหาน้ำเพื่อใช้ทำเกษตรกรรมไม่เพียงพอจึงร่วมกันขุดบ่อของแต่ละบ้านเอง มีขนาดเล็ก-ใหญ่ ตั้งแต่ 3 งาน ไปจน 1 ไร่ หลังจากใช้ประโยชน์แล้วก็นำปลาไปเลี้ยงในบ่อเพื่อใช้บริโภคก่อน ต่อมาได้พัฒนาวิธีเลี้ยงจนมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด จึงรวมกลุ่มกันเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อเป็นรายได้ จากเริ่มที่จำนวน 6 บ่อ จนถึงวันนี้มีจำนวน 130 บ่อ ปลาที่เลี้ยงเป็นชนิดกินพืช อย่างปลานิล ปลาตะเพียน โดยไปซื้อพันธุ์ปลามาจากอำเภอต่างๆ รวมถึงที่ศูนย์เพาะพันธุ์ปลาด้ว
กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีนและแคลเซียม ปัจจุบันนี้กุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณลดลง สวนทางกับความต้องการของตลาด ที่ใช้กุ้งฝอยเพิ่มมากขึ้น สำหรับการบริโภค และใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม ทำให้ราคากุ้งฝอยในท้องตลาดตั้งแต่กิโลกรัมละ 200-300 บาท ดร.บัญชา ทองมี อาจารย์ประจำคณะประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เล็งเห็นศักยภาพทางการตลาดของกุ้งฝอย เป็นสัตว์น้ำทางเลือกที่เกษตรกรใช้สร้างอาชีพได้ จึงได้ศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงกุ้งฝอยในเชิงการค้าภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จนประสบผลสำเร็จ สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ ลักษณะนิสัยของกุ้งฝอย กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืด ชอบซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือเกาะตามพรรณไม้ ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ น้ำขุ่น ลึกไม่เกิน 1 เมตร มีอินทรียวัตถุทับถมกัน กุ้งฝอยเพศเมียจะเริ่มมีไข่และผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 60 วันขึ้นไป จะสร้างไข่เก็บไว้ในถุงเก็บไข่ กุ้งเพศผู้จะพยายามติดตามก
“หอยเชอรี่สีทอง” เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามองเพราะมีการเลี้ยงเชิงธุรกิจกันมากขึ้นในทุกภาคของประเทศ แนวโน้มความนิยมบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะหอยเชอรี่สีทองมีโปรตีนสูงถึง 34-53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ และต้นทุนการเลี้ยงต่ำ จุดเด่นของหอยเชอรี่สีทอง เนื้อจะนุ่ม กรอบ คล้ายๆ เนื้อหมึก ไม่เหนียวเหมือนหอยเชอรี่ทั่วไป เนื้อเป็นสีเหลืองทอง เปลือกเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เป๋าฮื้อน้ำจืด” สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้ง ลวกจิ้ม ผัด ทอด ลาบ ก้อย ยำ แกงคั่ว ที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองเช่นกัน ชื่อว่า “สุวิมลฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 92/3 หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ฟาร์มหอยเชอรี่แห่งนี้เพาะเลี้ยงเพื่อขายให้ลูกค้าที่สนใจซื้อไปกิน หรือจะซื้อไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 2 เดือนครึ่ง เริ่มจำหน่ายได้ เน้นจำหน่ายเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ราคาคู่ละ 20-300 บาท จับขายเป็นตัวเพื่อนำไปประกอบอาหารในราคากิโลกรัมละ 150-180 บาท ทุกวันนี้มีลูกค้าสนใจสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น คุณภักดี คงวัน อายุ 52 ปี และ
การเลี้ยงปลาสลิดเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวที่สืบทอดมา 10 กว่าปี แม้ช่วงแรกจะให้ผลกำไรดี แต่เมื่อปริมาณปลาในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาปลากลับลดลง เกษตรกรหลายรายเผชิญกับภาวะขาดทุนรวมไปถึงคุณพ่อวีระ ที่ขาดทุนต่อเนื่องถึง 3 ปี จนกระทั่งคุณยุ้ย-คุณแชมป์เกิดแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปปลาสลิด พร้อมทั้งพัฒนาระบบการเลี้ยงและการผลิตให้ได้มาตรฐาน พูดถึง “ปลาสลิด” หลายคนคงนึกถึงบางบ่อ แต่รู้ไหมว่า “บ้านแพ้ว” ตอนนี้ขึ้นแท่นแหล่งเลี้ยงปลาสลิดที่ใหญ่ที่สุด และถ้าได้เห็นกรรมวิธีการผลิตของ “ปลาสลิดเกษตรพัฒนา” บอกเลยว่าต้องอยากซื้อแน่นอน เพราะใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลี้ยงจนถึงมือผู้บริโภค ได้ปลาสลิดสด คุณภาพ ได้มาตรฐาน อย. รับรองถูกใจสายกิน คุณยุ้ย-อุมารินทร์ เกตพูลทอง รองประธานวิสาหกิจชุมชน ปลาสลิดเกษตรพัฒนา จากอดีตพนักงานประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล สู่เส้นทางใหม่ที่ไม่ธรรมดา ผันตัวมาพัฒนา “ปลาสลิด” ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน คุณยุ้ยเล่าความหลังว่า “เมื่อก่อนไม่ทานปลาสลิดเลย เวลาเห็นปลาสลิดในตลาดวางบนกระด้ง มีแมลงวันบินว่อน บางครั้งก็เห็นไข่แมลงวันเกาะอยู่บนตัวปลา ทำให้ไม