ประมง
เทคนิคการเพาะพันธุ์กบง่ายๆ ได้ราคาดี ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เมื่อ “กบ” กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีคนบริโภคกันมากขึ้น การจับกบในวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมจึงกลายมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ เป็นลำเป็นสันให้กับผู้เพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงกบ เป็นอาชีพการเกษตรทางด้านการประมงอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะกบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย เจริญเติบโตเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้เวลาเลี้ยงสั้น สามารถบริโภคได้ตั้งแต่ระยะลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงกบขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการกบเพื่อการบริโภค และเพื่อใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน มีผู้นำกบไปเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงได้จนประสบความสำเร็จ ทั้งยังมีผู้สนใจในอาชีพการเลี้ยงกบเป็นจำนวนมาก การเลี้ยงกบขนาดใหญ่นั้นจะใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 3-4 เดือน จึงจะได้กบขนาดที่ตลาดต้องการ (4-6 ตัวต่อกิโลกรัม) ต้นทุนที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่ต้องซื้อลูกกบมาเพาะเลี้ยงต่อ ซึ่งถ้าเกษตรกรสามารถขยายพันธุ์กบได้เอง ก็จะช่วยลดต้นทุนลงไปได้มาก การขยายพันธุ์ลูกกบต้องอาศัยความชำนาญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การปล่อยกบลงผสมและก
ปลาสวยงามไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ความนิยมในประเทศยังไม่เคยลดน้อยลง มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความสวยงามอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ตลาดขายปลาสวยงามเป็นที่สนใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ได้เข้ามาแวะเวียนซื้อกันอยู่เป็นประจำ ซึ่งตลาดหลักๆ ได้แก่ ตลาดปลาสวยงามจตุจักร และฟิชวิลเลจราชบุรี ถือเป็นตลาดปลาสวยงามระดับต้นๆ ของประเทศ คุณสมชาย ศรีรักษา หรือ คุณเบนซ์ เจ้าของบ้านนอกปลาทองฟาร์ม เห็นช่องทางการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามเพื่อสร้างรายได้ จึงได้มาปรับเปลี่ยนเรียนรู้ชีวิตของการเป็นเกษตรกรเพาะพันธุ์ปลา โดยตั้งฟาร์มอยู่บนพื้นดินบ้านเกิดเพื่อเพาะพันธุ์ปลาทองส่งขาย และทำต่อยอดจนครบวงจร จึงทำให้เวลานี้ปลาทองที่ฟาร์มแห่งนี้มีลูกค้าเข้ามาซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทิ้งเมืองใหญ่ กลับบ้านเกิด ทำในสิ่งที่รัก จนเกิดรายได้ คุณเบนซ์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และต่อมาได้ย้ายมาทำงานที่บ้านเกิด เป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นมีความชอบการเลี้ยงปลาทองอยู่ด้วยเช่นกัน จึงได้เน้นแบบซื้อมาขายไปในช่วงแรก และเมื่อทำมาเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่าตลาดน่าจะไปได้ จึงเกิดความคิดที่จะไปเรียนร
อาชีพเพาะเลี้ยงปลา เป็นหนึ่งในอาชีพยอดนิยมที่เกษตรหันมายึดทำเป็นอาชีพ โดยมีระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกษตรกรแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดเองโดยจะดูตามลักษณะของสถานที่และทุนที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงปลา จริงแล้วทำได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจากตำราที่ได้เขียนไว้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงที่เผยแพร่นั้น จะเห็นว่ามีแนวทางการเพาะที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรู้ความถนัดของผู้เลี้ยงแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารูปแบบการเลี้ยงใดก็ตาม สุดท้ายเกษตรกรส่วนใหญ่จะคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนที่ได้ ความคุ้มค่า และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ป้าละมาย วงษ์เสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผล 2 ประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยวประเภท มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันม
ชาวบ้านตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี สืบทอดอาชีพทำนา ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ และทำประมงมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า เดิมทีชาวบ้านในชุมชนเลี้ยงปลาสลิด ตามธรรมชาติ ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 10 เดือนจึงได้ผลผลิต แต่ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้ปลามีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐาน ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาถูก คุณประสพชัย อารีวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จึงสนับสนุนให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงปลาสลิดแบบผสมผสาน วิธีการเพาะลูกปลา ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดหญ้าบนพื้นบ่อเป็นช่อง ช่องละ 3 เมตร ประมาณ 7-8 ช่อง เพื่อหมักน้ำให้เน่าทำลูกไรเป็นอาหารของลูกปลา เสร็จเริ่มวิดน้ำเข้าบ่อเลี้ยงให้เต็มแปลงที่สูงประมาณ 1 ฝามือที่ลึกประมาณครึ่งน่อง ที่สำคัญต้องใช้ตาข่ายไนลอนเขียวตาถี่กรองน้ำ ป้องกันศัตรูของลูกปลาที่อาจจะหลงปนเข้าไปในบ่อ หลังจากวิดน้ำให้ได้ระดับเครื่องวิดน้ำภายใน 24 ชั่วโมง พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะก่อหวอดผสมพันธุ์กัน เกิดลูกปลาภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น 7 วันจะเห็นปลาด้วยตาเปล่าบนผิวน้ำ ระยะนี้ต้องหมั่นดูน้ำในบ่อเลี้ยงอย่าให้น้ำเน่า ระยะนี้ควรวิ
ในพื้นที่ “เมืองลีง” นั้นอยู่ขั้นกลางเขตรอยต่อระหว่างสุรินทร์ กับบุรีรัมย์ มีสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมปราสาทหินจอมพระ โบราณสถานเมื่อครั้งสมัยพระชัยวรมันที่ 7 “เมืองลีง” ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เมื่อหมดหน้านาก็จะว่างงาน แต่ ลุงสังข์ หรือ คุณสังข์ โคตรวงษา ในวัย 58 ปี เป็นชาวนาโดยกำเนิด หมดหน้านาไม่รอฟ้ารอฝน ใฝ่หาความรู้และมองเห็นช่องทางในการเพาะเลี้ยงปูนา ที่บ้านหนองขาม ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ลุงสังข์ เล่าว่า เมื่อช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิต ทุกอย่างหยุดชะงักหมด ทั้งคนยากดีมีจนได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน แต่ชาวบ้านชาวนาอย่างเราๆ ก็ได้แต่นั่งเฝ้าแปลงนาไปวันๆ ได้แต่ทำใจ แต่ไม่ย่อท้อ “ในน้ำมีปลา ในนามีปู” ลุงสังข์นั่งดูปูที่อยู่ในแปลงนา ก็เริ่มเกิดแนวคิดและศึกษาการใช้ชีวิตของปูนา พร้อมๆ ไปกับการแสวงหาการเรียนรู้เพิ่มเติมจากนักวิชาการ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่นำความรู้มาจัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปูนาในระดับชุมชน ในช่วงโควิด-19 ลุงสังข์เป็นหนึ่งในจำนวนผู้อบรมที่อยากเพิ่มพูนเรื่องการเ
ในยุคปัจจุบันพื้นที่การเกษตรถูกจำกัด ทั้งจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและความต้องการใช้ที่ดินในด้านอื่นๆ การปรับตัวของเกษตรกรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะการใช้พื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงกลายเป็นหัวใจของการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ หนึ่งในวิธีการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ได้อย่างดีคือ “การเลี้ยงปลาในระบบพื้นที่น้อย” ถือเป็นการผสานการจัดการที่มีประสิทธิภาพเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากร การเลี้ยงปลาในลักษณะนี้จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างรายได้อย่างคุ้มค่าในพื้นที่จำกัดให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คุณน้ำมนต์-ธีรเวชช์ ยิ้มแดง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้พื้นที่ให้เกิดมูลค่าสูงสุด จึงได้สร้างบ่อผ้าใบขนาด 3 x 6 เมตร เเละถังจุน้ำได้ 1,000 ลิตร ในการเลี้ยงปลาดุกในระบบหนาแน่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมีตั้งแต่ระบบถังกรองน้ำ ระบบจุลินทรีย์ ปลาดุกที่เลี้ยงในระบบนี้จะไม่มีกลิ่นโคลนและไม่มีกลิ่นสาบในเนื้อปลา เลือกเลี้ยงปลาดุก ในระบบหนาแน่น เพื่อให้เข้ากับพื้นที่บริเวณรอบบ้าน คุ
เกษตรกรชาวจังหวัดชัยนาทได้รวมตัวกันจัดตั้ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลากราย เพื่อรวบรวมปลากรายสดขายให้กับผู้รับซื้อโดยตรง ป้องกันจากการถูกเอาเปรียบทางด้านราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งพัฒนาช่องทางการแปรรูปเนื้อปลากรายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของกลุ่ม พร้อมปรับรูปแบบการเลี้ยงปลากรายโดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้หลักคิดการลดต้นทุนให้มากที่สุดเพื่อทำให้มีรายได้เพิ่ม โดยนำพันธุ์ไม้ผลผสมผสานหลายชนิด อย่างกล้วย มะละกอ มาปลูกบริเวณรอบบ่อเลี้ยงปลา เพื่อสร้างร่มเงา ในบริเวณบ่อเลี้ยงปลาให้มีความร่มรื่น ช่วยให้ปลาไม่เครียดแล้ว ยังนำกล้วยใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารได้อีกทางหนึ่ง ปรับสูตรอาหารเข้มข้น เร่งผลิตปลากรายคุณภาพ ขณะเดียวกันได้ติดต่อ โรงงานผู้ผลิตอาหารปลาเพื่อขอปรับสูตรอาหารปลาโดยเน้นเพิ่มสูตรอาหารโปรตีนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ หวังเสริมสร้างการเจริญเติบโตของตัวปลาทั้งกระดูกและเนื้อ ช่วยให้ปลากรายตัวใหญ่ขึ้น และปรับวิธีการให้อาหารจากเดิมที่ใช้วิธีหว่านเป็นการลงทุนซื้อเครื่องพ่นอาหารแทน ช่วยให้อาหารกระจายไปทั่วบ่อ ปลากรายทุกตัวได้รับอาหารเท่ากัน ทำให้ปลามีขนาดใหญ่ โ
ล็อกซูมาเว, (ซินหัว) – ฟาร์มเลี้ยงปลาลอยน้ำกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมประมงท้องถิ่นในเมืองล็อกซูมาเว ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งแห่งสำคัญในจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีเกาะกว่า 17,000 แห่ง และมีแนวชายฝั่งราว 81,000 กิโลเมตร มีชื่อเสียงด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชในน้ำ อาทิ กุ้งล็อบสเตอร์ ปู และสาหร่ายทะเล ช่วงไม่กี่ปีมานี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้พัฒนาโครงการหมู่บ้านเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชในน้ำ เพื่อกระตุ้นการผลิตและส่งออกสินค้าประมง ตลอดจนส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาดใหญ่ ข้อดีของการเลี้ยงปลาในกระชังลอยน้ำ การเลี้ยงปลาในกระชังลอยน้ำ เป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นากจากนี้ ยังสะดวกในการดูแลจัดการ การเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิต และมีกา
“ปลานิล” ปลาเศรษฐกิจเลี้ยงง่าย โตเร็ว ได้รับความนิยมในทุกระดับ ปลานิลสามารถนำมาแปรรูปได้หลายประเภท ปัจจุบันมีการส่งออกปลานิลไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นิยมบริโภคปลานิลกันอย่างแพร่หลาย จุดเด่นของปลานิลอยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณปลานิลมีมากพอที่จะส่งขายตลาดพื้นบ้านและตลาดต่างประเทศ ในราคาที่ไม่สูงมากนัก ปลานิลจึงเป็นขวัญใจของคนทุกระดับ ที่จังหวัดกาญจนบุรี จากหน้าศาลากลางจังหวัดเลี้ยวซ้ายผ่านศาลจังหวัด ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองแล้วเลี้ยวซ้ายอีกทีเลาะไปตามแม่น้ำขึ้นไปทางตะวันออกประมาณ 3 กม. จะถึงกระชังปลานิลลอยอยู่ในแม่น้ำแม่กลองเป็นจำนวนมาก จัดว่าเป็นฟาร์มปลานิลใหญ่ที่สุดของเมืองกาญจน์ และของประเทศก็ว่าได้ ฟาร์มปลานิลในกระชังเหล่านี้เป็นของ คุณเทียมศักดิ์ สง่ากชกร อดีตกำนันตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จากการเลี้ยงโคนม “กำนันเทียมศักดิ์” ผันชีวิตมาทำฟาร์มปลานิลเลี้ยงปลาในกระชังที่แม่น้ำแม่กลอง เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก “กำนันเทียมศักดิ์” เล่าถึงที่มาแต่หนหลังก่อนจะมาเลี้ยงปลานิลในกระชังว่า เมื่อก่อนทำฟาร์มเลี้ยงโคนม
ปลาแรด มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ หนอง บึง และแหล่งน้ำที่นิ่ง ปลาแรดเป็นปลากินพืช (Herbivore) แต่สามารถกินอาหารหลากหลาย เช่น ใบไม้ ผัก ผลไม้ และอาหารเม็ด มีความอดทนต่อสภาพน้ำได้ดี ทำให้เลี้ยงง่าย คุณภานุวัฒน์ ห้วยเรไร เป็นผู้ที่มีความชื่นชอบในการเลี้ยงปลา จึงได้สนใจที่อยากจะเพาะพันธุ์ปลาแรดเป็นอาชีพ ด้วยสมัยยังเป็นเด็กค่อนข้างมีความชอบในเรื่องของการเลี้ยงปลา ทำให้ได้มีโอกาสมาทำอาชีพทางด้านนี้ จึงทำให้สิ่งที่รักและชอบสร้างความสำเร็จให้กับเขาได้เป็นอย่างดี คุณภานุวัฒน์ ชายหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่นและมากด้วยรอยยิ้ม เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนอาชีพดั้งเดิมเมื่อครั้งคุณพ่อคุณแม่นั้น จะเน้นเกี่ยวกับการทำสวนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อเขาเจริญวัยจนสามารถประกอบอาชีพได้ จึงมีโอกาสไปอยู่กับญาติที่เพาะพันธุ์ปลากรายจำหน่าย ทำให้ได้เรียนรู้และมีเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาติดตัวมา เมื่อได้กลับมาอยู่บ้านจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเพาะพันธุ์ปลาแรด และเริ่มทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง ประมาณปี 2548 “เริ่มแรกที่มาทำ ก็ยังไม่ได้ขุดบ่อหรือลงทุนอะไรมาก เพร