ปศุสัตว์
ปุ๋ยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พืชหลายชนิดมีการเจริญเติบโต โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักอย่าง N P K ซึ่งธาตุอาหารพืชเหล่านี้หากไม่ได้จากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสต์ สามารถหาได้จากช่องทางไหนบ้างนั้น มีเกษตรกรหลายท่านได้ลดต้นทุนการผลิต คือการใช้มูลสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์มาเป็นปุ๋ยบำรุงให้กับพืช ลุงสุชล สุขเกษม เกษตรกรบ้านสารภี จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ทำการเกษตรแบบผสมผสานมีตั้งแต่การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ที่เลี้ยงจะเน้นการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างไก่ไข่ไว้ทั่วบริเวณสวน จากนั้นจะนำมูลไก่ไข่ที่ได้มาทำเป็นปุ๋ยใส่ให้กับต้นไม้ภายในสวน ทำให้ผลผลิตภายในสวนงอกงามออกมาได้ดี จากหมูหลุม สู่ไก่หลุม ไก่ตะกร้า ลุงสุชล เล่าว่า ช่วงปี พ.ศ. 2547 มีหนี้สินอยู่ประมาณ 4-5 แสนบาท จึงได้เดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย เพื่อไปหาเงินมาใช้หนี้ หลังจากใช้หนี้ก็เหลืออีกนิดหน่อย จึงกลับมาอยู่บ้านเกิดและเตี่ยยกที่ดินให้ 1 ไร่ จากนั้นจึงได้ใช้ที่ดินมาทำเกษตรตามแบบในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ 1 ไร่ 1 แสน “ถ้าใครจะทำตามเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระองค์ท่านเนี่ย ต้องทำตาม 3 ข้อแรกให้ได้ก่อน 3 ข้อแรกมีอะไรบ้าง 1. เข้าใจ 2. เข้าถึง 3. พัฒ
คุณมนตรี ชูกำลัง วัย 41 ปี จากอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อดีตผู้รับเหมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมางานน้อย จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดและทดลองเลี้ยงหนูพุกใหญ่ จนปัจจุบันหันมาทำอาชีพนี้เต็มตัว และขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ปัจจุบันคุณมนตรีเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงหนูพุกใหญ่อำเภอพรหมพิราม “ที่ฟาร์มได้ปรับรูปแบบโดยการเลี้ยงเป็นส่วนของทีมงาน ส่วนผมเน้นเรื่องการตลาดและแปรรูป ทางผมจะไปรับหนูเป็นจากลูกฟาร์ม นำมาแปรรูปที่ฟาร์มหลักของผมหรือเรียกว่าฟาร์มส่วนกลาง และเป็นส่วนหาองค์ความรู้เพื่อที่จะมาพัฒนาในองค์กรที่รวมกลุ่มกันเลี้ยงโดยมีผู้ร่วมโครงการวิสาหกิจชุมชนมีทั้งหมด 20 ฟาร์ม มีผู้ร่วม 5 จังหวัด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่เกษียณอายุ โดยตอนนี้มีผู้ร่วมจากจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิจิตร” คุณมนตรี กล่าว การพัฒนาพันธุ์ ปัจจุบันการเกษตรก้าวหน้า พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถเลี้ยงให้มีน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม หนูที่จะอบโอ่งจะต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ 1-3 ตัวต่อกิโลกรัม ถ้าขนาดมากกว่านั้น อัตราการเปลี่ยนเป็นเนื้อจะน้อย จะไม่ได้คุณภาพ (หนู 1 กิโลกรัม ชำแหละแล้วจะเหลือ 7-8 ขีด
ปัจจุบันมีผู้สนใจทำการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากจิ้งหรีดเป็นแมลงที่เลี้ยงง่าย จึงได้มีการพัฒนา ศึกษา คิดค้น ปรับปรุงพันธุ์ และวิธีเลี้ยง เพื่อให้ได้จิ้งหรีดที่เข้มแข็ง โตเร็ว และเพิ่มจำนวนต่อรุ่นของการผลิตให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในพื้นที่ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม จิ้งหรีดอาจมีโอกาสป่วยเป็นโรคได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย อาทิ โรคไม่ติดเชื้อ หรือโรคติดเชื้อที่ระบาดตามธรรมชาติ ระบบสุขอนามัยหรือการสุขาภิบาลที่ไม่ดี การเลี้ยงที่แออัดมากเกินไป ประกอบกับสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน ร้อนเกินไป หนาวจัด น้ำท่วม ทำให้จิ้งหรีดเกิดความเครียด อ่อนแอ ป่วยและล้มตาย เมื่อมีการตายอย่างผิดปกติ ผู้เลี้ยงมักจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในการแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก บางรายอาจคิดว่าสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเป็นตัวกระตุ้นให้จิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้ ที่ผ่านมาพบว่ามีการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ หรือยาบำรุงกำลัง ละลายน้ำหรือผสมอาหารให้จิ้งหรีดกินเพื่อเป็นการรักษาและป้องกันโรค แต่จากการที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชา
คุณสิทธิศักดิ์ โรจน์วิศิษฎ์ เป็นอีกคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงงูเสมือนเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งภายในบ้าน กินและนอนห้องเดียวกัน เพียงแต่แยกที่พักสำหรับงูแต่ละตัวไว้ต่างหาก และจากสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพียงความชอบ สามารถเพิ่มเติมเป็นรายได้เข้ามายังคุณสิทธิศักดิ์ได้ไม่น้อย จุดเริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงของคุณสิทธิ์ศักดิ์ ไม่ได้เริ่มจากงูเป็นชนิดแรก แต่เพราะโรคภูมิแพ้ทำให้สัตว์เลี้ยงที่มีขนถูกตัดออกไป แล้วหันมาเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า เต่า และงู แทน ด้วยประสบการณ์การเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานที่ผ่านมา คุณสิทธิศักดิ์เห็นว่า งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ดูแลง่ายและใช้เวลาน้อยที่สุด อายุ 13 ปี ของคุณสิทธิศักดิ์ เป็นวัยเริ่มต้นของการเลี้ยงงูเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน ตลาดนัดจตุจักรเป็นแหล่งซื้อขายสัตว์เลี้ยงหลากหลาย และจูงใจให้ไปเลือกซื้อ ซึ่งไม่ผิดหวังสำหรับนักเลี้ยงสัตว์มือใหม่ การเลี้ยงลองผิดลองถูกบวกการศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ตลอดการเริ่มเลี้ยงงู ในครั้งแรกงูสายม่าน เป็นงูชนิดแรกที่คุณสิทธิศักดิ์ตัดสินใจซื้อมาเลี้ยง แต่ในท้ายที่สุด Boa Constrictor กลับเป็นงูที่ครองใจและยึดเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านมากที
แมงป่องช้าง (Giant scorpion) ชื่อสามัญ : แมงป่องช้าง Common name : Giant scorpion ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heterometrus sp. Order : ScorpionesFamily : Scorpionidae ลักษณะทั่วไป แมงป่องช้างเป็นสัตว์มีเปลือกแข็งหุ้ม ลำตัวเรียว มีขาจำนวน 4 คู่ อวัยวะที่โดดเด่น คือ “ก้ามใหญ่” (pedipalps) 1 คู่ มีส่วนหัวและอกอยู่รวมกัน เรียกว่า prosoma ทำหน้าที่หนีบอาหารหรือจับเหยื่อ มีตาบนหัว 1 คู่ และตาข้างอีก 3 คู่ตรงกลางหลัง (middle dorsal) และขอบข้างส่วนหน้า (anterolateral) ตรงปากมี “ก้ามเล็ก” (chelicera) 1 คู่ ส่วนถัดมาเรียกว่า mesosoma ประกอบด้วยปล้อง 7 ปล้อง ซึ่งปล้องที่ 3 มีอวัยวะสำคัญคือ “ช่องสืบพันธุ์” (genital operculum) และมีอวัยวะที่เรียกว่า pectines หรือ pectens 1 คู่ มีรูปร่างคล้ายหวี ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากการสั่นของพื้นดิน ส่วนสุดท้ายคือส่วนหางเรียวยาว เรียกว่า metasoma ประกอบด้วยปล้อง 5 ปล้องกับปล้องสุดท้าย คือ “ปล้องพิษ” มีลักษณะพองกลมปลายเรียวแหลม คล้ายรูปหยดน้ำกลับหัว บรรจุต่อมพิษ มีเข็มที่ใช้ต่อย เรียกว่า “เหล็กใน” (sting apparatus) สำหรับฉีดพิษ แม้ว่าแมงป่องมีตาหลายคู่ แต่มีประสิทธิภาพการ
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันอุตสาหกรรมไก่เนื้อนั้นมีการขยายตัวอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะไก่ดำ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ยังคงได้รับความนิยม เนื่องจากลักษณะผิวหนังที่มีสีดำและมีสรรพคุณทางด้านยาที่ใช้ในการบำรุงร่างกาย จึงทำให้ได้รับความต้องการอยู่เสมอ เช่นเดียวกับไก่ดำมองโกเลียที่มีถิ่นกำเนิดจากแถบเหนือของมองโกเลีย ประเทศจีน รูปร่างสวยงาม แข็งแรง ผิวหนัง เนื้อ กระดูก และเครื่องในมีสีดำ ขนมีหลากหลายสีปะปนกันไป ทั้งสีดำ ขาว ทอง และสีดอกหมาก รวมถึงมีลักษณะตัวที่ใหญ่กว่าไก่ดำอินโดนีเซีย คุณเรวัต พาดกลาง เจ้าของ เอแอนด์เอ ฟาร์ม ในพื้นที่ตำบลจันอัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ “ไก่ดำมองโกเลีย” เมื่อเล่าย้อนเส้นทางการเป็นเจ้าฟาร์มในทุกวันนี้ คุณเรวัต เล่าว่า เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างเชื่อมโลหะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา หลังเรียนจบจึงเข้าทำงานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ในบริษัทแห่งหนึ่ง ก่อนจะมองหาช่องทางในการหารายได้เสริม จึงเริ่มคิดและหาไอเดียจากความชอบส่วนตัวในเรื่องของสัตว์ปีก จึงเริ่มเลี้ยงไก่สวยงามเพาะพันธุ์ขาย ทำให้มีรายได้เข้ามาไม่ขา
จากที่มองว่า การเลี้ยงแพะขุนเนื้อขาย คงเป็นได้เพียงอาชีพเสริมในตอนแรก เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่ปี กลับทำให้ คุณนิเวศ แม้นพวก หนุ่มตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มองเห็นช่องทางในการสร้างเม็ดเงินจากแพะ ที่ไม่ใช่แค่เพียงเลี้ยงแพะขุนเพื่อขายเนื้อ แต่มุ่งมั่นทำฟาร์มแพะ พัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อขายพันธุ์ จะทำเงินได้ดีกว่าเลี้ยงแพะขุนขาย 20 กว่าปีก่อน คุณนิเวศ แม้นพวก เป็นเพียงหนุ่มรับจ้าง ทำหน้าที่พิธีกร โฆษกตามงานวัดในแถบจังหวัดภาคกลาง รายได้ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่คงที่ จึงคิดหาอาชีพเสริมทำ มองเห็นรอบข้างมีคนเลี้ยงแพะขุนขาย ทำให้คิดว่า สมัยเด็กๆ ช่วยพ่อเลี้ยงวัวก็ยังทำได้ เลี้ยงแพะก็คงไม่ต่างกัน จึงเป็นจุดเริ่มที่จะเลี้ยงแพะขุนเป็นอาชีพเสริม จากคนที่ไม่รู้อะไรเลย เริ่มเลี้ยงแพะขุนเนื้อขายตามที่เห็นคนในละแวกบ้านใกล้เคียงเลี้ยง มีภรรยาเป็นชาวสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จึงช่วยกันเลี้ยงแพะขุน และทำฟาร์มแพะเล็กๆ ขึ้นที่จังหวัดชัยนาท แรกเริ่มที่ 20 ตัว เห็นว่าน้อย จึงเพิ่มจำนวนภายในปีเดียวเป็น 85 ตัว เลี้ยงไปเลี้ยงมา เพิ่มจำนวนภายใน 3 ปี เป็นกว่า 300 ตัว ทำให้ต้องเริ่มจ้างแรงงานต่างด้าวมาช่วยเลี้ยงแพะ จากแพะไม่พอ เพิ่
ในอดีต เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่แบบปล่อยตามลานบ้าน หรือบริเวณสวนหลังบ้าน ทำเล้าไว้เพื่อให้เป็นที่นอนและวางไข่เท่านั้น มีรางอาหารไว้บริเวณเล้าที่พัก อาหารผสมมีเพียงรำข้าว ปลายข้าว ใบกระถินแห้ง และเปลือกหอย สำหรับไก่ไข่ เมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้นจึงมีงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาสูตรอาหารที่สามารถร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตให้สั้นลง และมีอัตราการแลกเนื้อสูง โดยมีส่วนผสมของวัตถุดิบ 5 ชนิด ประกอบด้วย 1.แป้ง ได้จากรำข้าว ปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานใช้ในการเดินหรือวิ่ง 2.โปรตีน ได้จากปลาป่น ปลาสด แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ใช้สร้าง ขน เล็บ เลือด เนื้อ และหนัง 3.ไขมัน ได้จากกากถั่วเหลือง กากมะพร้าว ไขสัตว์ และน้ำมันหมู ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 4.วิตามิน ได้จากหญ้าสด ใบกระถิน และบางส่วนจากข้าวโพดและปลาป่น ปัจจุบัน มีการผลิตวิตามินออกมาหลากหลายชนิดวางจำหน่าย วิตามินทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์เลี้ยง 5. น้ำ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเลือดของเหลว และเมือกต่างๆ เนื่องจากมีภาคเอกชนรายใหญ่หลายรายผลิตอาหารของทั้งสัตว์น
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เลี้ยงง่าย สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็ว มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารสูง และมีวงจรในการผลิตสั้น แม่กระต่าย 1 ตัว สามารถผลิตลูกให้เนื้อเทียบเท่าลูกวัว 1 ตัว ใน 1 ปี กระต่ายเป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งเนื้อ หนัง และขน รวมทั้งเป็นสัตว์ที่ใช้ทดลองในงานวิจัยด้านต่างๆ กระต่ายที่เลี้ยงในปัจจุบันทั่วโลกมีหลายร้อยสายพันธุ์ หากแบ่งแยกประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็นกระต่ายเนื้อ กระต่ายขน กระต่ายสวยงาม และกระต่ายใช้เป็นสัตว์ทดลอง สำหรับคนไทย เมื่อพูดถึงกระต่ายทุกคนคุ้นเคยกับการเลี้ยงกระต่าย เพื่อเป็นเพื่อนยามเหงาหรือเพื่อความเพลิดเพลิน น้อยคนนักที่จะเลี้ยงกระต่ายเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหารหรือการเอาหนังมาทำผลิตภัณฑ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเลี้ยงกระต่ายสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการเลี้ยงดูเล่น ในต่างประเทศทั่วโลก หลายประเทศมีการเลี้ยงกระต่ายเพื่อการค้า ในการเอาเนื้อไปทำอาหาร เอาหนังและขนไปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระต่ายเป็นสัตว์ที่มีอัตราการให้เนื้อสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ให้ลูกต่อครอกจำนวนมาก เฉลี่ย 8 ตัวต่อครอก ให้ลูกได้ถึง 10-11 ครอกต
วว. แนะผลิตฟางปรุงแต่งทดแทนหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ได้ปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา การผลิตฟางปรุงแต่งทดแทนหญ้า โดยเป็นสูตรที่ ลดปริมาณการใช้ยูเรียลง และเพิ่มปริมาณรำข้าวในส่วนผสม สามารถนำไปใช้เลี้ยงโคได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรในการเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพ สูตรการผลิตฟางปรุงแต่งทดแทนหญ้า มี 3 สูตร ดังนี้ 1. ฟางข้าวหมักกับน้ำ 100 กิโลกรัม กากน้ำตาล 10% และยูเรีย 1.5% 2. ฟางข้าวราดด้วยส่วนผสมน้ำ 100 กิโลกรัม กากน้ำตาล 10% และยูเรีย 1.5% 3. ฟางข้าวสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอัตราส่วนกากน้ำตาล 14% ยูเรีย 1% รำข้าว 4% ต่อฟางข้าว 100 กิโลกรัม จุดเด่น “ฟางปรุงแต่งทดแทนหญ้า” 1. สูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสูตรที่ลดปริมาณการใช้ยูเรียลง และเพิ่มปริมาณรำข้าวในส่วนผสม 2. ได้ปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น 11% 3. วัวกินมากขึ้นถึง 5 กิโลกรัมต่อ 1 วัน สามารถเพิ่มน้ำหนักวัวจากเดิมได้ถึง 3 ขีด 4. สามารถนำไปใช้เลี้ยงโคได้อย่างปลอด