แปรรูปสินค้าเกษตร
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นประจำทุกปี เพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณะ โดยปีนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคือ นายพินิจ แก้วพิมาย ซึ่งจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง สืบสานอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากบรรพบุรุษชาวไทคอนสาร นายพินิจสนใจอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพราะต้องการสืบทอดภูมิปัญญาคนไทคอนสาร และสืบทอดอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจากบรรพบุรุษ และมีแนวคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทำให้ครอบครัวไม่ต้องไปทำงานที่อื่น และเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นายพินิจช่วยมารดาเลี้ยงไหมตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนกระทั่งอายุ 20 ปี หลังแต่งงานก็หันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าเองมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเป็นคนชอบงานลักษณะนี้ จึงหาวิธีการสาวไหมให้ได้เส้นไหมสวยที่มีขนาดสม่ำเสมอ เรียบ สะอาด มีสีสดใส เพื่อพัฒนาต่อยอดในการผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ ผลิตผ้าไหมด้วยไหมพันธุ์ไทยพื้น
Eden Agritech เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สด โดยใช้สารที่ได้รับการรับรองจาก FDA ซึ่งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เป้าหมายหลักของบริษัทคือการลดการสูญเสียอาหารในระดับโลก และช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทานผักและผลไม้ที่สดใหม่ยาวนานยิ่งขึ้น วงการเกษตรไทยต้องจับตามอง กับนวัตกรรมใหม่จากฝีมือคนไทย อย่าง “Naturen” ผลิตภัณฑ์เพื่อการยืดอายุผักผลไม้ โดยทีมสตาร์ทอัพชื่อ Eden Agritech เป็นนวัตกรรมที่มีสารเคลือบจากธรรมชาติที่ปลอดภัยและสามารถบริโภคได้ ผลิตจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกผลไม้ และ Plant-based Cellulose หรือเซลลูโลสจากพืช ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยยืดอายุผักผลไม้ได้นานขึ้นถึง 5 เท่า โดยไม่กระทบต่อคุณภาพหรือคุณค่าทางโภชนาการ Naturen คือผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสำคัญในวงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การยืดอายุและรักษาคุณภาพของผักผลไม้ หลักการทำงานของ Naturen มี 3 จุดเด่นสำคัญ ปัจจุบันมีการทดสอบใช้งานจริงในกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก เก็บผลไม้ให้สดได้นาน ด้วย 2 วิธีง่ายๆ กับ Ed
กุหลาบ ไม้ประดับที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ประดับตกแต่งสวน ประดับสถานที่ หรือปลูกเพื่อการพาณิชย์ ในการนำไปสกัดน้ำหอม ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำกุหลาบมาเป็นของประดับตกแต่งบนจานอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงการนำมาดัดแปลงทำเป็นชากุหลาบเพื่อสร้างรายได้ และกำลังได้รับกระแสนิยมกันทั่วบ้านทั่วเมือง ในด้านของสรรพคุณเด่นของชากุหลาบที่มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย และช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง นำไปสู่การต่อยอดสร้างมูลค่าให้กับเกษตรกร และธุรกิจสตาร์ตอัพไม่น้อย สำหรับการต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ชากุหลาบออกมาในรูปแบบเฉพาะของแบรนด์ตัวเอง คุณธีรวัฒน์ เสื้อมา หรือ คุณปุ้ย เกษตรกรรุ่นใหม่ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 182 หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรหนุ่มไฟแรง ดีกรีปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โบกมือลาชีวิตในเมืองหลวง กลับบ้านเกิดมาสานต่อและพัฒนางานสวนของที่บ้านจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการปลูกพืชผสมผสานระบบอินทรีย์ และการต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร สร้างรายได้ดีตลอดปี คุณปุ้ย เล่าให้
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ภาพที่เราคุ้นตาคงหนีไม่พ้นเสียงหัวเราะสดใส เสื้อลายดอกสีสด และการสาดน้ำคลายร้อน แต่มีอีกหนึ่งไอเทมที่มักจะถูกหยิบมาใช้ในช่วงนี้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ลับๆ ที่หลายคนอาจมองข้ามไป นั่นก็คือ… “ดินสอพอง” ดินสอพอง คือดินแร่ธรรมชาติที่มีชื่อเรียกว่า “ดินมาร์ล” เป็นดินสีขาว เนื้อละเอียดแน่น พบได้ในบางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น หมู่บ้านหินสองก้อน จังหวัดลพบุรี ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่ดีที่สุดในประเทศ แม้จะไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช แต่ชาวบ้านนำดินชนิดนี้มาเผาและผ่านกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น จนกลายเป็นดินสอพองที่มีคุณสมบัติเด่น ทั้งด้านการดูดซับความมันเยิ้มบนใบหน้า บรรเทาอาการร้อนผิว และใช้ได้แม้แต่ในอุตสาหกรรมแป้ง เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร จากตำราโบราณ…สู่การใช้จริง ดินสอพอง ไม่ได้มีดีแค่ใช้เล่นสงกรานต์ แต่ยังเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “สมุนไพรแร่ธาตุ” หรือที่เรียกว่า “เครื่องยาธาตุวัตถุ” น้อยคนจะรู้ว่า “ดินสอพอง” ถูกบันทึกไว้ใน ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำรายาโบราณตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีสูตรยา
ผ้าขาวม้าทอมือ ผลงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดตรัง ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวและหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นของฝาก ของขวัญในช่วงเทศกาลต่างๆ รวมทั้งเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ โดยผ้าขาวม้าทอมือตำบลนาหมื่นศรี มีตั้งแต่ราคาผืนละ 100-400 บาท แล้วแต่ลวดลาย และความยากง่าย . เดิมที ชาวบ้านภาคใต้ ที่นิยมมีผ้าขาวม้าไว้ติดประจำตัว สำหรับใช้เอนกประสงค์ ซึ่งผ้าขาวม้าของนาหมื่นศรีผ้าขาวม้า มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวถูกใจคนซื้อ เนื่องจากผ้าขาวม้าของในชุมชนแห่งนี้ ทอจากฝ้าย มีขนาดใหญ่กว่าผ้าขาวม้าทั่วไป สามารถใช้เป็นผ้าห่มและผ้าห้อยไหล่ของคนเฒ่าคนแก่ขณะไปงานพิธีต่างๆ แล้ว ยังมีความประณีตงดงามโดยส่วนกลางผืนจะทอสลับสีเป็นลายราชวัตรที่ละเอียดประณีต (ผ้าขาวม้าลายราชวัตร) มีลายยกสลับเป็นเชิงคั่นก่อนถึงชายหรือเชิงผ้าซึ่งทอเป็นริ้ว ขอบริมผ้านิยมใช้สีแดง ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้ผ้าขาวม้า เป็นผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโกในปี 2566 ยิ่งทำให้ความต้องการผ้าขาวม้าม
ทุกวันนี้ ผู้คนทั่วโลกต่างหันมาดูแลใส่ใจเรื่องการรักษาสุขภาพ โดยเลือกกินอาหารคลีนและเพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืชเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งและโรคหัวใจแล้ว การบริโภคอาหารจากพืชยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเกษตรปศุสัตว์ ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมากินอาหารมังสวิรัติ จากผัก ผลไม้และธัญพืชแบบ 100% เพื่อสุขภาพที่ดีทำให้ร้านอาหารต่างๆ พยายามเพิ่มเมนูไร้เนื้อสัตว์เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น . “ ไส้อั่ว ” เป็นอาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของภาคเหนือของไทย ปกติทำจากเนื้อหมูบด โดยผสมกับมันแข็งของหมู เพื่อไม่ให้เนื้อหมูด้านเวลาสุก เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าในท้องตลาด กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพฝาง เกิดแรงบันดาลใจคิดค้นไส้อั่วที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หาง่ายในท้องถิ่น เหมาะสำหรับคนที่รักสุขภาพ คนไม่ทานเนื้อสัตว์หรือคนที่รับประทานเจ วีแกนและ คีโต การทำไส้อั่วถั่วเหลือง มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากเริ่มจากจัดเตรียมส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ถั่วเหลือง เต้าหู้ขาว เส้นบุก ฟองเต้าหู้ พริกแกงสูตรเจ วิธีทำ 1. ล้างถั่ว
วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร มีแรงบันดาลใจจากคำขวัญของจังหวัดชุมพร คือ ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก จึงได้นำของดีขึ้นชื่อของท้องถิ่นมานำเสนอในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ทุเรียนอัดแท่งอบกรอบผสมธัญพืชและรังนก ผลิตภัณฑ์ทุเรียนอัดแท่งอบกรอบผสมธัญพืชและรังนก ภายใต้ชื่อแบรนด์ โกลบาร์ Gold Bar ใช้วัตถุดิบหลักคือ ทุเรียนชุมพร ผสมผสานกับธัญพืชทั้งหมด 6 ชนิด ที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการ เพิ่มความแตกต่างด้านรสชาติ ทำให้รับประทานง่าย คงคุณค่าทางสารอาหาร มีความแปลกใหม่ สีเหลืองทอง กรุ๊บกรอบ หอม อร่อย ดังสโลแกน “โกลบาร์ Gold Bar” คุณค่าดั่งทอง ส่วนผสมหลัก ประกอบด้วย ทุเรียนทอดกรอบ ควินัว น้ำเชื่อมรสนํ้าผึ้ง เมล็ดฟักทอง กล้วยเล็บมือนาง เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ลูกเกด แครนเบอร์รี่ กลูโคสไซรัป รังนก น้ำ และเกลือ ขั้นตอนการทำเริ่มจาก เตรียมส่วนผสมทั้งหมด จากนั้นนำน้ำ น้ำเชื่อมรสน้ำผึ้ง เกลือ กลูโคสไซรัปขึ้นตั้งไฟอ่อนเคี่ยวจนเกิดฟอง ใส่รังนกและส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้ลงไปคนให้เข้ากันโดยเร็ว เทใส่ถาดนำมาชั่ง 8 กรัมอัดลงพิมพ์สี่เหลี่ยมให้เรียบแน่น รอให้เซ็ตตัวแล้วนำไปอบเป็
นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “แก้วมังกร” เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยในปี 2567 (ข้อมูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร) ประเทศไทยมีการส่งออกแก้วมังกร 1,995.92 ตัน มูลค่าการส่งออก 236.78 ล้านบาท ซึ่งแก้วมังกรมีแหล่งปลูกมากที่สุดในจังหวัดเลย คิดเป็นร้อยละ 73 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ ทั้งนี้ ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ เป็นแหล่งปลูกแก้วมังกรที่มีศักยภาพ พื้นที่ได้รับการส่งเสริมการรวมกลุ่มแบบแปลงใหญ่เพื่อผลิตแก้วมังกรให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายออกสู่ตลาด จากการติดตามของ สศท.3 พบว่า กลุ่มวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่แก้วมังกร ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เป็นกลุ่มที่ดำเนินงานภายใต้ BCG Model เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแก้วมังกร โดยเริ่มดำเนินการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ภายใต้นโยบายส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจดทะเบียนเป็นวิสา
นางสาวนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566-2570 โดยสอดคล้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองสมุนไพรตามแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้คณะอนุกรรมการวัตถุดิบสมุนไพรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจังหวัดปราจีนบุรี เป็น 1 ใน 14 จังหวัดเป้าหมาย “เมืองสมุนไพร Herbal City” ของประเทศ ที่มุ่งผลิตสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพระดับพรีเมียม ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สศท.6 ติดตามการดำเนินงาน วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่สมุนไพรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการผลิตสมุนไพรอินทรีย์คุณภาพพร้อมแปรรูป ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ (Organic Thailand) เริ่มดำเนินการปี 2564 และเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2565 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกรวม 400 ไร่ สมาชิกเกษตรกร 60 ราย โดยมี น
“ข้าวสังข์หยด” เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุงที่ปลูกกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปี ข้าวพันธุ์นี้ได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์ โดยนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ข้าวเจ้าเมื่อหุงสุกในรูปแบบข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติอร่อย ข้าวสังข์หยดนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวนาเมืองพัทลุง เพราะเป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยและของโลก ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา วันที่ 23 มิถุนายน 2549 การปลูกข้าวสังข์หยด ข้าวสังข์หยดพัทลุงผลิตจากแหล่งปลูกธรรมชาติ ที่ได้ชื่อว่า “อู่ข้าว” ของภาคใต้ เป็นแผ่นดินที่ราบระหว่างทิวเขาบรรทัดกับทะเลสาบสงขลา-พัทลุง ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด ชาวนาพัทลุงปลูกข้าวสังข์หยดในฤดูนาปี เดือนสิงหาคม-กันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป การปลูกข้าวสังข์หยด ครอบคลุม 11 อำเภอ เนื้อที่เพาะปลูกรวม 19,655 ไร่ ผลผลิตรวม 7,976 ตันต่อปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 402 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน