เทคนิคเกษตร
ตะกร้ามีหลายประเภท แต่ละประเภทเหมาะกับงานต่างๆ กันไป ลักษณะของตะกร้าโดยทั่วไปคือ ปากบาน ตัวสอบลงไปจนถึงก้น ก้นตะกร้ากว้างกว่าก้นกระบุง เพราะว่าลักษณะการใช้งานต่างกัน สมัยเก่าก่อนชาวบ้านมักมีตะกร้าประจำบ้าน เราใช้ก็ต่อเมื่อต้องการใส่ข้าวของไปให้เพื่อนบ้าน ข้าวของที่ใส่ตะกร้าเช่น ฟัก แฟง แตงไทย หน่อไม้ เราชาวบ้านก็จะใส่ตะกร้ากระเดียดข้างไป ถึงบ้านเพื่อนบ้านก็หยิบของออกให้ไป ขากลับบางทีได้ของจากบ้านที่เอาของไปให้กลับมาด้วย คนไทยสมัยเก่าก่อน การซื้อขายแลกเปลี่ยนมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เรา “แบ่งกันกิน” หรือไม่ก็ “ใช้ของแลกของ” สมัยผู้เขียนเด็กๆ เกือบตาบอดเพราะตะกร้ามาคราหนึ่ง เหตุการณ์วันนั้นนึกถึงคราวใด รู้สึกเสียวสันหลังวาบๆ บางครั้งก็ขนลุกกราวเกรียว จะไม่ให้ขนลุกกราวเกรียวได้อย่างไร ถ้าตาบอดตั้งแต่เด็กๆ โอกาสทางการศึกษา อนาคตคงจบสิ้นกัน เรื่องมีอยู่ว่า แม่นำข้าวของต่างๆ ใส่ตะกร้าไปนา แม่บอกว่าจะไป “แปรท้องข้าว” คำว่าแปรท้องข้าว หมายถึง พิธีหนึ่งของชาวบ้านแถวภาคกลาง เมื่อข้าวตั้งท้องแล้ว ชาวบ้านจะเอากระทงเล็กๆ ข้าวตอก ดอกไม้ ผลไม้ ไปยังท้องนาของตน เมื่อถึงก็ปักไม้หลักยาวประมาณ 1 วาลงในนาข้าว
ปัจจุบัน มักพูดกันในวงการศึกษาเรื่องอาหารว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรค ตลอดจนการรู้จักเก็บหาผักล้มลุก ผักยืนต้นมากิน ดูจะลดน้อยลงเรื่อยๆ คือเราไม่ค่อยรู้จักชนิดของพืชผักกันแล้วนั่นเอง ส่งผลให้การสืบทอดตำรับอาหารที่ปรุงจากพืชท้องถิ่นหรือพืชป่าสูญหายไปมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ ฟังเผินๆ ก็ดูเหมือนจะจริงนะครับ แต่ครั้นเราลองไปเดินจับจ่ายซื้อของตามตลาดนัดหมู่บ้านย่านชุมชนชานเมืองใหญ่ๆ ก็กลับพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของแผงผักพื้นบ้านอย่างชัดเจนในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมา ผักหน้าตาแปลกๆ เดี๋ยวนี้มีให้เห็นทั่วไป โดยเฉพาะตามหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพฯ เผลอๆ จะมีมากกว่าตลาดต่างจังหวัดด้วยซ้ำไป การเพิ่มขึ้นของสินค้าใดๆ ย่อมสัมพันธ์โดยตรงกับผู้บริโภค กรณีของผักพื้นบ้าน คำอธิบาย ณ เวลานี้ที่เห็นชัดก็คือ มันตอบสนองรสนิยมการกินของแรงงานวัยหนุ่มสาวจากชนบทที่อพยพโยกย้ายเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ดังนั้น คงไม่เกินเลยความจริงไปนัก หากจะบอกว่า “ความรู้” ที่ชาวเมืองวิตกกันว่าจะสูญหายนั้น ได้ถูกชาวชนบทพลัดถิ่นนำเสนอด้วยการยืนยันวิถีการบริโภคซึ่งสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยบุรพกาลของพวกเขา ให้เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาทุกเม
บอระเพ็ด อาจเป็นความทรงจำแสนขมของบางคน แต่ความขมนี่แหละที่ใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนเมื่อก่อน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จึงพัฒนาบอระเพ็ดในรูปของแคปซูล ใช้เป็นยาเจริญอาหารในคนไข้วัณโรค คนไข้ HIV และคนไข้เบาหวาน บางรายใช้ช่วยในการควบคุมน้ำตาล ล่าสุด มีการใช้บอระเพ็ดเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม และพาร์กินสัน เนื่องจากมีสาร columbamine ซึ่งเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายสารสื่อประสาทในสมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย รวมทั้งกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลในทางคลินิกอย่างเป็นระบบ จึงควรใช้เสริมกับยาแผนปัจจุบัน และไม่ควรกินอย่างต่อเนื่อง เช่น เดือนเว้นเดือน หรือ 2-3 เดือนเว้นเดือน ที่สำคัญ ห้ามใช้บอระเพ็ดในผู้ที่มีภาวะเอนไซม์ตับบกพร่อง หรือผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไตรุนแรง รวมทั้งผู้ที่มีแนวโน้มความดันโลหิตต่ำเกินไป หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่มีร่างกายเย็น ข้อมูลจาก : คอลัมน์ เครื่องแนม นสพ.มติชนรายวัน
เชื่อว่าหลายคนหากได้ยินชื่อของสมุนไพรชนิดนี้แล้ว คงชะงัก ตกใจอยู่ไม่น้อย เพราะ คำว่า “ป่าเฮ่ว” ในภาษาเหนือ หมายถึง “ป่าช้า” คนภาคกลาง จึงเรียกว่า “ป่าช้าหมอง” หรือบางคนอาจรู้จักในชื่อ“ขันทองพยาบาท” ส่วนคนจีนเรียกว่า “หนานเฉาเหว่ย” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าSuregada multiflorum (A.Juss.) Baill. อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae “ป่าช้าหมอง” ชื่อนี้มีที่มา ว่ากันว่าป่าช้าหมองเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ภูมิปัญญามาช้านาน ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จนไม่มีใครต้องเสียชีวิต ทำให้ป่าช้าต้องหงอยเหงานั่นเอง ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของป่าช้าหมอง เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 3-7 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เกลี้ยงและเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอ่อนหรือเหลืองมีกลิ่นหอม ผลทรงกลม ใน 1 ผล แบ่งออกเป็น 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ผลจะแตกตามรอยประสานระหว่างแต่ละพู ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลือง ป่าช้าหมอง ขึ้นได้ทั่วไป เป็นสมุนไพรในกลุ่ม ดีปลากั้ง ดีปลาช่อน แต่มีสารออกฤทธิ์ทางยาสูงกว่า ในตำรายาล้านนา ใช้สำหรับช่วยรักษาโรคเรื้อรังหายยาก ส่วนข้อมูลทางโภชนาการ ช่วยบรรเ
ชีวิตคนเราเก่าก่อนอยู่กับธรรมชาติ การรักษาอาการเจ็บป่วย เราชาวบ้านมักอาศัยยาสมุนไพร ด้วยเหตุนี้เอง ในหมู่บ้านสมัยก่อนจึงมีหมอยาประจำหมู่บ้าน ใครเจ็บไข้ได้ป่วยก็ตามหมอไปรักษา นอกจากหมอประจำหมู่บ้านแล้ว คนไทยแต่ละครอบครัวมักมีผู้รู้จักสมุนไพร และรู้จักการรักษาโรคทั่วๆ ไป เป็นต้นว่ามีดบาดมือก็เคี้ยวใบตะโกแปะห้ามเลือด ถ้าเป็นหูดก็แกะให้เลือดออก แล้วนำยางรักสีขาวๆ หยดลงไป ไม่นานหัวหูดก็จะหลุดออกมา เป็นต้น สมัยผู้เขียนยังเด็กๆ ท้องร่วงคราวใด แทนที่พ่อจะพาไปหาหมอ หรือซื้อยามาให้กิน พ่อกลับไปถากเปลือกแคมาแช่น้ำซาวข้าวให้ดื่ม รสเปลือกแคฝาดเฝื่อนพิลึก แต่ก็ดื่มได้ไม่ยาก หลังดื่มไม่นาน อาการท้องร่วงก็ทุเลา และหายไป เปลือกแคเป็นยาวิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาของพ่อเรื่องยานี้ พ่อบอกว่าได้มาจากปู่ ผู้เขียนแม้จะไม่ได้ถามปู่ว่าได้มาจากไหน แต่ก็พอเดาได้ว่าคงรู้มาจากบรรพบุรุษของปู่ อย่างไรก็ไม่ได้เป็นยาผีบอก แต่เป็นยาบรรพบุรุษบอกต่อๆ กันมา การรักษาอาการเจ็บป่วย นอกจากใช้ยาสมุนไพรแล้ว ยังใช้เครื่องมือช่วยรักษาอาการบางอย่างได้อีกด้วย อย่าง เช่น งูรัดนิ้ว ฟังชื่อแล้วอย่าเพิ่งตกใจ นึกว่างูเป็นๆ มารัดนิ้วหรือไร คำตอ
ชาวสวน หันเปิดร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร ใช้ภูมิปัญญานำไผ่มาสานขึ้นรูปเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร ขายดีไม่น้อย ปัจจุบันเครื่องมือทางการเกษตรที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีมาแต่โบราณ นับวันยิ่งหาดูได้อยาก เพราะมีเครื่องมือที่ทันสมัย เข้ามาทดแทน ซึ่งเราควรที่จะอนุรักษ์ความเป็นไทยของเราไว้ และเป็นที่น่าดีใจที่ว่ายังมีคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งยังยึดอาชีพ สานไม้ไผ่ทำเครื่องมือทางการเกษตรออกมาจำหน่าย ให้กับพี่น้องชาวไร่ ชาวสวน ได้ใช้กัน ในราคาไม่แพง และยังเป็นการทำมาจากแรงงานคนด้วยการสานจากมือ เป็นงานฝีมือที่ละเอียด แสดงถึงภูมิปัญญาของเกษตรกรไทยสมัยโบราณอย่างแท้จริง คุณสมควร อารยะรุ่งโรจน์ หรือคุณตุ้ย เจ้าของร้าน “บางคูรัดไม้ไผ่” ต.บางคูรัด อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ซึ่งเปิดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตร ที่สานจากไม้ไผ่มากว่า 20 ปี เปิดเผยว่า พื้นเพตนเป็นคนสวนจังหวัดนนทบุรี ครอบครัวต้นตระกูล เป็นชาวสวนนนท์ เคยยึดอาชีพชาวสวนมาหลายปี ก่อนที่จะหันมาเปิดร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้วัสดุทางธรรมชาติ มาสานขึ้นรูปเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร และจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา กบ หนูนา กุ้งฝอย ปลาไหล เป็นต้น “ผมจำหน่
อำเภอเนินมะปราง ขึ้นชื่อในเรื่องพื้นที่การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกอันดับต้นของประเทศ มีเกษตรกรที่เก่งและมีความสามารถ การส่งเสริมเยาวชนในพื้นที่ให้มีความรู้และรักเกษตรก็ไม่น้อยหน้า ดังเช่น โรงเรียนวัดบ้านมุง ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก แห่งนี้ มีนักเรียน จำนวน 262 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และที่ไม่เหมือนใคร คือ มีสระว่ายน้ำ สอนว่ายน้ำให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการช่วยเหลือตนเองหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของโรงเรียน และเป็นความโชคดีที่มีหน่วยงานเห็นความสำคัญ ว่าที่ร้อยตรีสมศักดิ์ ลาไม้ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านมุง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนว่า โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งสิ้น 22 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรแบ่งไว้ ราว 5 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 3 ไร่ ของพื้นที่เกษตรปรับเป็นสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับอนุรักษ์ไม้ไทยต่างๆ เช่น ประดู่ มะค่า ตะเคียน เป็นต้น แต่ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กมีใจรักป่า ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยหลัก ทั้งยังเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาพื้นที่ป
ย้อนกลับไปหลายปีก่อน โรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ยังคงสภาพเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่แม้จะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ แต่จำนวนนักเรียนและบุคลากรครูผู้สอนก็ไม่ได้มากอย่างที่คิด อย่างไรก็ตาม โรงเรียนก็ยังคงเป็นโรงเรียนที่เพียบพร้อมไปด้วยกิจกรรมและการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในมุมของภาควิชาการ เพื่อให้ศักยภาพนักเรียนเทียบเท่ากับโรงเรียนในระดับจังหวัดและภูมิภาคอื่นได้ ปัจจุบัน ศักยภาพด้านวิชาการยังคงดำเนินไปอยู่ แต่สิ่งที่เพิ่มมาให้เห็นและเป็นกิจกรรมที่จัดได้ว่าเป็นกิจกรรมที่โดดเด่นมากกิจกรรมหนึ่งของโรงเรียน คือ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ให้กับชุมชน ตำบล อำเภอ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องการ โดยศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2540 โดย อาจารย์ไพศาล มั่นอก ครูชำนาญการพิเศษ ดูแลด้านการเกษตรของโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม ซึ่งการดำเนินการค่อยเป็นค่อยไป กระทั่งเป็นที่รู้จักและเป็นต้นแบบให้กับชุมชนหลายแห่ง สนใจพาเกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ อาจารย์ไพศาล บอกว่า เดิมกิจกรรมการเกษตรของโรงเรียน เริ่มต้นภายในพื้นที่