การเพาะเห็ด
“คุณจุ๊บ–นัยนา ยังเกิด” เปลี่ยนชีวิตหลังเกษียณให้ยิ่งใหญ่ ด้วยการเพาะเห็ดแบบครบวงจรขายดีทั้งตลาดสด ห้างหรู และต่อยอดถึงระดับแบรนด์เครื่องสำอาง “Roselon” ด้วยสารสกัดจากเห็ดสีชมพู ที่ค้นพบว่ามี “โพลีฟีนอล” ช่วยผิวใสได้จริง จนกลายเป็นเซรั่มเห็ดแบรนด์ไทยแบรนด์แรกในประเทศ✨ 🍄“กระท่อมเห็ด ฟาร์ม@ไทรน้อย” กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ที่เปิดรับทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้เกษียณ เรียนรู้ตั้งแต่แยกเนื้อเยื่อเห็ดในห้องแล็บ จนถึงต่อยอดสร้างธุรกิจสุขภาพครบวงจร เพราะเธอเชื่อว่าความรู้ที่ดี คือวัคซีนชีวิต และเห็ดคือคำตอบของทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และอนาคตของเกษตรไทย ✨ .
เกษตรสร้างชาติ คำกล่าวนี้มักได้ยินกันอยู่เสมอในสังคมไทย เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในประเทศไทยการเกษตรถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ จะเห็นได้ในทุกภูมิภาคที่มีการทำเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทำเกษตรกรรมถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ชุมชนและขยายวงกว้างไปในระดับประเทศ จึงทำให้เกิดมูลค่าทางการค้าที่สร้างรายได้ให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน คุณบุญนำ มีชาลือ หรือ คุณนำ เจ้าของฟาร์มไร่นาตานำ ตั้งอยู่ที่ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ถือเป็นแหล่งชุมชนต้นแบบที่มีการผลิตเห็ดหูหนูดำทั้งหมู่บ้าน โดยทุกคนในกลุ่มสร้างความเข้มแข็งให้กับการผลิตสินค้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเห็ดหูหนูดำที่ครบวงจรที่น่าจับตา ตั้งแต่การผลิตก้อนเชื้อเห็ดตลอดไปจนถึงเปิดดอกเพื่อส่งขายให้กับตลาดภายในจังหวัด เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับทุกคนในชุมชน โดยที่ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงานในเมืองใหญ่ แต่ทุกคนสามารถมีรายได้ในพื้นที่ทำกินของตัวเอง มองอาชีพทางการเกษตร สามารถเป็นนายตัวเองได้ คุณนำ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต้องเข้างานเป็นกะทุกเมื่อเชื่อวัน รู้สึกว่าชีว
การเพาะเห็ด เป็นหนึ่งในอาชีพที่เกษตรกรไทยนิยมทำกัน เช่น การเพาะเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเข็มทอง ฯลฯ ซึ่งอาชีพนี้มีข้อดีคือ ใช้เงินลงทุนไม่สูง ใช้พื้นที่น้อย ไม่ต้องพึ่งฟ้าฝน ที่สำคัญคือ ขายง่าย ได้เงินแทบทุกวัน สร้างอาชีพและรายได้ที่ดี แถมเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร อายุวัฒนะ เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดหัวลิง เป็นต้น มฟล. มุ่งพัฒนางานวิจัย “เห็ด” มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ควบคู่ไปกับการรับใช้สังคม เล็งเห็นความสำคัญของพืชเศรษฐกิจดังกล่าวจึงได้มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เรื่อง “เห็ด” ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง พร้อมขยายผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างในอนาคต ที่ผ่านมา ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา มฟล. ได้ค้นพบเชื้อราและเห็ดชนิดใหม่มากกว่า 800 ชนิด มีการเก็บรักษาสายพันธุ์เชื้อเห็ดราในคลังสายพันธุ์เห็ดราไว้มากกว่า 14,000 ตัวอย่าง มีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจำนวนกว่า 900 เรื่อง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เล็งเห็นถึงจุดแข็งด้านนี้ จึงสนับสนุนง
ความลับที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับพืชและสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่เฉลิมพระเกียรติ ผลักดันต่อเนื่องโครงการ “การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมต้นแบบการปลูกป่าแบบบูรณาการ เพื่อสร้างแหล่งอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการชุมชนไม้มีค่า จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การดำเนินโครงการได้อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ (ไม้ป่าและไม้ผล) ร่วมกับการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ขยายผลถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ ส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา เพื่อการสร้างแห่งอาหารของชุมชน หนุนชุมชนพื้นที่จังหวัด แพร่ ชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการดังกล่าว บ้านบุญแจ่ม” ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็น 1 ใน 4 ชุมชนต้นแบบการเพาะขยายเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติเพื่อ
กลุ่มพูลผล และกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส จัดงาน “วันสมาชิกชาวไร่ปีที่ 30” ประจำปี 2566/2567 สานต่อการช่วยเหลือและสนับสนุนสมาชิกชาวไร่ของบริษัท พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญ รุกเดินหน้าจัดโครงการมุ่งเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนเพาะปลูก มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “เพื่อนคู่คิด สมาชิกชาวไร่” “วันสมาชิกชาวไร่” ปีที่ 30 ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ภายใต้กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส เปิดเผยว่า “บริษัทได้จัดงาน “วันสมาชิกชาวไร่” ประจำปี 2566/2567 จัดขึ้นเป็นปีที่ 30 ซึ่งดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรให้ยึดอาชีพการปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพที่มั่นคงผ่านรูปแบบ “ระบบสมาชิกชาวไร่” ด้วยการรับซื้อผลิตผลหัวมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปี โดยแต่ละปีบริษัทจะซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมากกว่า 3,700 ครอบครัว พร้อมทั้งดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านการเพิ
“กระท่อมเห็ดฟาร์มไทรน้อย” (Mushroom Cottage) ชื่อนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการผ่านสื่อมวลชนเมื่อช่วงปี 2560 ปัจจุบัน “กระท่อมเห็ดฟาร์มไทรน้อย” ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้ คุณนัยนา ยังเกิด ลาออกจากพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง มาทำกระท่อมเห็ดฟาร์มไทรน้อยอย่างเต็มตัว เพื่อเนรมิตให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เน้นแนวทางให้ความรู้กับคนเมืองที่สนใจการทำเกษตร หรือบางคนที่กำลังมองหางานด้านเกษตรกรรมเป็นอาชีพเสริม เพื่อพัฒนาให้เป็นอาชีพหลักต่อไป ด้วยการเริ่มต้นเกษตรจากจุดเล็กๆ ในการเพาะเห็ด และขยายสู่การทำฟาร์มเห็ดต่อไป สำหรับคุณนัยนามีประสบการณ์ทำงานอยู่ในส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารและบริหารแบรนด์ โดยมีประสบการณ์เป็นพนักงานประจำมา 3 ธนาคาร แต่เมื่อถึงจุดที่ทำให้คุณนัยนาต้องทบทวนการเป็นพนักงานประจำ โดยในปี 2554 เกิดการควบรวมกิจการของธนาคาร เธอจึงมองเห็นความไม่แน่นอนในงานประจำ จึงเริ่มเตรียมตัวและเตรียมอาชีพไว้รองรับ ในจังหวะนั้นเธอผันตัวเองมาเรียนรู้การเพาะเห็ดฟาร์ม และเริ่มทำฟาร์มเห็ดอย่างจริงจัง คุณนัยนา เล่าว่า ตอนแรกมองหาธุรกิจที่เหมาะกับเรา เช่น ร้านเสริมสวย ร้านอาหาร และร้านกาแฟ แต่ก็มองว่ามีคนเปิดเยอ
Young Smart Farmer เป็นคนหนุ่มสาวที่มีความรู้ มีความคิดก้าวไกล ทันสมัย และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี หากสนับสนุนให้คนเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ จะขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียงได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น คุณปรีชา วงค์พิมณ อายุ 42 ปี Young Smart Farmer จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวคำแสน ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โทรศัพท์ 086-090-3818 คุณปรีชา ให้ข้อมูลว่า หลังจากจบการศึกษาระดับ ม.6 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ คือทำงานโรงงานผลิตทองคำ ได้เงินเดือน เดือนละ 6,000 บาท และยังมีค่าโอทีเดือนละประมาณ 4,000 บาท ทำงานอยู่ประมาณ 2 ปี ก็เลยมีแนวความคิดอยากจะกลับมาทำการเกษตรที่บ้านของตนเอง ในระยะแรกได้ทำนาและปลูกดาวเรือง แต่ในการทำการเกษตรนั้นยังมีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง ดังนั้น จึงได้ขุดสระน้ำประจำไร่นา ต่อมามีการเจาะบ่อบาดาลเพื่ออาศัยน้ำมาทำการเกษตร ได้ทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรผสมผสาน ปัจจุบัน ทำการเกษตรหลายอย่าง ได้แก่ ทำนา 8 ไร่ เพื่อบริโภคในครัวเรือน ที่เหลือขายเป็นรายได้ การทำสวนดาวเรือง ตัดดอกขายส่งให้พ่อค้าที่จังหวัดอุดรธานี เลย ตลาดไท มีรายได้ปีละร่วม 250,000 บาท ต่อปี
คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ หรือ คุณเขม อยู่บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 10 ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม “บ้านสวนเห็ดคุณยาย” โดยก่อนหน้าที่จะมาเพาะเห็ด คุณเขม เล่าให้ฟังว่า ตนได้ผ่านมาหลายอาชีพ ตั้งแต่ทำงานเสริมความงามที่กรุงเทพฯ แต่มีเหตุที่ต้องกลับต่างจังหวัด เพราะแม่ไม่สบาย พอกลับมาอยู่กับแม่ก็เริ่มมองหาอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเอง ตอนนั้นมองว่าอาชีพขายหมูปิ้งนมสดน่าจะดี จึงลองทำดู ช่วงแรกๆ ก็ขายดี อยู่ไปสักพักเหมือนคนตกงานใครก็อยากมาขายหมูปิ้ง เราจึงหยุดการขายหมูปิ้ง หลังจากเลิกขายหมูปิ้งก็ยังไม่หยุดความพยายามแค่นี้ คุณเขมมองเห็นว่าคนในตลาดใครเดินผ่านไปผ่านมา ก็มีถุงเห็ดอยู่ในมือ จึงเกิดไอเดียเพาะเห็ดขายเป็นอาชีพเสริม คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ ด้วยความคิดว่ากลุ่มคนต้องการบริโภคเห็ดยังเยอะ ตนจึงไปรับก้อนเห็ดเอามาขายในหมู่บ้าน โดยเห็ดที่เริ่มเพาะอย่างแรกคือ เห็ดขอน รับมารอบแรกได้กำไร รอบที่ 2 เกิดปัญหาเห็ดติดเชื้อ ไรไข่ป่า ไรไข่ป่าก็คือตัวที่กินเชื้อเห็ดมันจะขยายได้เร็วมาก ถ้าโดนอากาศร้อนๆ ก็ขาดทุนหมดเลย จึงตัดสินใจไปเรียนที่โครงการลูกพระดาบส ใช้เวลาเรียนเพียง 7 วัน ได้ทั
ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ครองเมืองไปทั่วทุกพื้นที่ โดยมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อช่วยในการทำงานทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงแรกของการลงทุนอาจจะดูเหมือนเป็นการใช้เงินที่มหาศาล แต่เมื่อมองไปถึงระยะยาวถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพที่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้สังเกตเห็นว่าการทำฟาร์มเห็ดกำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะเห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการและมีความอร่อยเฉพาะตัว จึงทำให้เห็ดหลายชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงเรื่องของโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเห็ด ส่งผลให้เกษตรกรบางรายที่เพาะเห็ดได้ผลผลิตไม่เต็มที่ มีจำนวนไม่มากพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้ส่งจำหน่ายได้ไม่ต่อเนื่อง เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสหลายด้านในการค้าขาย คุณพัชรพล โพธิ์พันธุ์ เจ้าของฟาร์มเห็ด “จาวา” ตั้งอยู่ที่ 60/7 หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นคลื่นลูกใหม่ไฟแรงที่มองว่าอาชีพทางการเกษตรหากนำมาพัฒนาและต่อยอด
ธุรกิจสมุนไพรและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่เคยสร้างรายได้สะพัดวันละแสน หลังเจอปัญหาวิกฤตทางการเมือง ปี 2554 สินค้าขายไม่ออก ขาดทุนสะสมจนกลายเป็นหนี้ก้อนโต แต่ “ศุภธิดา ศรีชารัตน์” ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค เธอปรับตัวสู้ชีวิตใหม่อีกครั้ง โดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จนสามารถปลดหนี้เงินล้านได้สำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี ศุภธิดา เกิดและเติบโตในครอบครัวเกษตรกร ในหมู่บ้านหนองกอง หมู่ที่ 3 อำเภอโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ เธอเห็นพ่อแม่ทำนามาตลอดชีวิตแต่ไม่รวยสักที หลังเรียนจบมัธยมจึงตัดสินใจไปทำธุรกิจค้าขายที่กรุงเทพฯ โดยเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่ห้างเซ็นทรัล สาขาบางนา และที่อิมพีเรียล สำโรง ระยะแรกธุรกิจเติบโตดีมาก สร้างรายได้สูงถึงวัน 100,000- 200,000 บาท แต่การใช้ชีวิตในสังคมเมืองหลวงมีภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งค่ากินอยู่ ค่าเช่าที่ ค่าจ้างคนงาน ฯลฯ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วแทบไม่เหลือผลกำไร ต่อมาเกิดวิกฤตทางการเมือง สินค้าขายไม่ดี เกิดหนี้สินก้อนโตกว่าล้านบาท ช่วงปลายปี