ถั่วลิสง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตระหนักดีถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นโจทย์ท้าทายในการวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วลิสงให้ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเน้นคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก ต้านทานต่อโรคแมลงศัตรู และให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นพืชทางเลือกในการพลิกฟื้นภาคการเกษตรของไทย ให้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน โดยผลงานปรับปรุงพันธุ์พืชดังกล่าว ประกอบด้วย ถั่วลิงสงสายพันธุ์ “เคยู อาร์ด้า 20 (KU ARDA 20) ที่ให้ผลผลิตสูง 393 กก./ไร่ อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 100-110 วัน มีจำนวนเมล็ด 2-4 เมล็ด/ฝัก หนัก 100 เมล็ด 53 กรัม ต้านทานโรคดี สามารถนำไปแปรรูปเป็นขนมอบกรอบ ถั่วฝักสด และถั่วต้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 5720 (sw 5720) เมล็ดเป็นสีส้มเหลือง และกึ่งหัวแข็ง ผลผลิตเฉลี่ยที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1,346 กก./ไร่ (ในดินนาฤดูแล้ง) และประมาณ 1,785 กก./ไร่ (ในดินไร่) อายุเก็บเกี่ยว 110–120 วัน เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง ปร
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ถั่วลิสงนับเป็นพืชทางเลือกที่มีศักยภาพ มีโอกาสทางการตลาด พบมีการปลูกอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกสำคัญอยู่ที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปี 2567 สศท.4 ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ กรณี ถั่วลิสง ทดแทนการผลิตข้าวนาปรัง ในพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) ตามแผนที่ Agri-Map ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นแนวทาง ปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าอื่นที่มีศักยภาพ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวรวม 1,447,553.41 ไร่ ปลูกในพื้นที่ระดับความเหมาะสมน้อย (S3) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) รวม 853,821.6 ไร่ หรือร้อยละ 59 ของพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัด ซึ่งจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนมาปลูกถั่วลิสงทดแทนข้าวนาปรังในพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) เนื่องจากตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ประกอบกับเกษตรกรในพื้นที่มีความเชี
นางสาวรัชนี นาคบุตร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การผลิตถั่วลิสง รุ่น 1 และรุ่น 2 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในภาคตะวันตก โดยปีเพาะปลูก 2566/67 (ข้อมูล ณ 22 สิงหาคม 2567) มีพื้นที่ปลูกรวม 530 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 14 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ฝนทิ้งช่วงทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรจึงลดพื้นที่ปลูกถั่วลิสงลง ผลผลิตรวมถั่วลิสงทั้งเปลือก 218 ตันต่อปี ผลผลิตเฉลี่ย 411 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นถั่วลิสงไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง สำหรับการปลูกถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีพบว่า พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเขาย้อยและอำเภอบ้านลาดซึ่งเกษตรกรใช้น้ำจากสระน้ำของตนเองและน้ำฝนเป็นหลัก มีแหล่งรับซื้ออยู่ในพื้นที่ และเกษตรกรมีความชำนาญในการปลูก โดยในแต่ละปีเกษตรกรจะทำการเพาะปลูกถั่วลิสง 2 รุ่น คือ ถั่วลิสง รุ่น 1 (ฤดูฝน) ปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของปีเดียวกัน
“สวก.” หนุน “มก.” พัฒนาถั่วลิสง-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ใหม่ ส่งเสริมเกษตรกรมีรายได้มั่นคงยั่งยืน สวก. – มก. เปิดงาน “ร่วมมือ ร่วมพัฒนา ร่วมวิจัย มก. – สวก.” ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ใหม่ และ ถั่วลิสง KU ARDA 20 สร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรไทยในการเพิ่มผลผลิต มีรายได้มั่นคงยั่งยืน พร้อมส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ใหม่ สุวรรณ 5720 และสุวรรณ 5821 จำนวน 400 กิโลกรัม ให้สภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาและเกษตรกรเข้าร่วมงาน นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สูงถึง 8 ล้านตันต่อปี ขณะที่ปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมถึงถั่วลิสงภายในประเทศกลับผลิตได้แค่ 5 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ แถมบางช่วงเวลาราคาการนำเข้าก็สูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ในภาพรวมสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายให้เกษตรกรลดกา
นายธวัชชัย เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ (สศท.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ถั่วลิสงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง มีศักยภาพและมีโอกาสทางการตลาด เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกสำคัญอยู่ที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ถั่วลิสงอย่างหลากหลาย ทั้งในรูปการบริโภคโดยไม่ผ่านการแปรรูป (ถั่วต้มสุก) และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่า ถั่วลิสงจึงเป็นพืชหนึ่งทางเลือกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรสามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (เอลนีโญ) เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าว สศท.1 ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และพะเยา พบว่า ในปี 2566 มีพื้นที่ปลูกรวม 6,939 ไร่ (เชียงใหม่ 1,612 ไร่, ลำปาง 1,818 ไร่, แม่ฮ่องสอน 1,893 ไร่ และพะเยา 1,616 ไร่) ผลผลิตรวม 5,604 ตัน/ปี (เชียงใหม่ 1,628 ตัน, ลำปาง 1,084 ตัน, แม่ฮ่องสอน 1,321 ตัน และพะเยา 1,571 ตัน) ผลผลิตถั่วลิส
เชื่อว่าหลายๆ คน ต้องตามติดเทรนด์กระแสต่างๆ ที่กำลังมาแรงต้อนรับต้นปี เทรนด์สุขภาพ เทรนด์อาหาร เทรนด์ความงาม และที่พลาดไม่ได้เลยเทรนด์เกษตร ที่ผู้คนหันมาสนใจกันมากขึ้น ทั้งหันมาปลูกผักไว้รับประทานเอง ปลอดสารเคมี รวมไปถึงที่ทำให้หลายๆ คน ผันตัวเป็นเกษตรกรที่ทำรายได้เสริมมากกว่ารายได้หลัก เป็นอาชีพที่น่าภูมิใจไม่น้อย เชื่อว่าแต่จะประสบความสำเร็จมาได้ต้องผ่านอุปสรรคมาไม่น้อย ก่อนจะหมดเดือนแรกของปี เทรนด์เกษตรอย่างเทคโนโลยีชาวบ้าน ก็ต้องไม่พลาด รวบรวม “พืชสายพันธุ์ใหม่” ที่น่าจับตาต้อนรับปี 2024 พืชบางตัวทำเอาหลายๆ คนสนใจ จนอยากลองไปปลูกบ้าง แต่ก่อนที่จะนำไปปลูกต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน ว่าแต่จะมีชนิดไหนกันบ้างตามไปส่องกันเลย 1. ถั่วลิสงพันธุ์ดี ทนโรค ให้ผลผลิตสูง ใช้น้ำน้อย ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์ สวก.1 จุดเด่น ให้ผลผลิตสูง 375 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ปรับตัวได้ดีเมื่อปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณภาพเมล็ดเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมแปรรูป ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์โก๋แก่ 40 จุดเด่น ให้ผลผลิตสูง 370 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย เปลือ
“งานเกษตรแฟร์ 2567” จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมนนทรี แก้วิถีโลกรวน” ระหว่างวันที่ 2-10 กุมภาพันธ์ 2567 มุ่งนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมเด่นของภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำมาจัดแสดงในงานเกษตรแฟร์ปีนี้ คือ “ถั่วลิสงพันธุ์ดี” ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและตลาดได้อย่างดีเยี่ยม “ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์ สวก.1” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 375 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ปรับตัวได้ดีเมื่อปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณภาพเมล็ดเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมแปรรูป “ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์โก๋แก่ 40” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 370 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย เปลือกฝักมีลาย เปอร์เซ็นต์กะเทาะสูง ต้านทานโรคยอดไหม้ ผลผลิตเหมาะกับการแปรรูปเป็นขนมอบกรอบตามมาตรฐานโรงงาน “ถั่วลิสงพันธุ์เคยู อาร์ด้า 20” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 393 กิโลกรัมต่อไร่ มีอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมและมีการปรับตัวได้ดีในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงอบกรอบ
เชื่อว่าท่านนักบริโภคถั่วทุกท่าน คงรู้จักถั่วของไทยชนิดนี้ “ถั่วลิสง” น่าจะเป็นถั่วที่มีมานานนับเป็นร้อยๆ ปี ถามคนเฒ่าคนแก่ขณะนี้ก็บอกว่ามีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดแล้ว เรียกกันว่า “ถั่วดิน” คนสมัยก่อนเอามาต้ม คั่วกินเล่น หนุ่มสาวไปเที่ยวหากันก็ได้ถั่วดินคั่วนั้นแหละเป็นของว่างแก้เขินอาย กินเล่นกันมากๆ คอแห้งดื่มน้ำตาม คงเกิดลมแก๊สในกระเพาะส่งเสียงปี๊ดปู้ดกันเพลินดีนะ ไม่อยากบอกว่าอายนะ “ถั่วลิสง” เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แถวบราซิล แถบเทือกเขาแอนดีส และประเทศโบลิเวีย แถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน แพร่พันธุ์เข้ามาประเทศไทยเมื่อไรไม่ทราบ แต่ก็คงนานนับร้อยๆ ปีอย่างที่ว่า ในขณะนี้ยังมีปลูกกันอยู่แถวขอนแก่น นครสวรรค์ นครนายก ลพบุรี สระบุรี ลำปาง และอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์มีปลูกกันเป็นแหล่งประจำที่ตำบลน้ำริด ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง มีพื้นที่ปลูกตำบลละ 2,500 ไร่ ให้ผลผลิตดีในช่วงปลูกเป็นถั่วแล้ง อาศัยความชื้นจากดิน และน้ำห้วย ช่วงหลังฤดูทำนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหยอดถั่วพันธุ์ไทนาน 9 เหมาะสำหรับกะเทาะเมล็ดขาย กับถั่วเมล็ดฝักลายพันธุ์พระราชทานจัมโบ้ลาย พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 นิยมบริโภคในรูปถั่วต้ม
‘บ้านถั่วลิสง’ ผู้ผลิตสินค้าแปรรูปถั่วลิสงครบวงจร ใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ลงแปลงปลูก โดยเครือข่ายเกษตรในท้องถิ่น จากแนวคิดการเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องถั่วตัวจริง ที่สามารถต่อยอดธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบของตัวเองได้ สร้างความโดดเด่น ฉีกตัวเองจากคู่แข่งด้วยการสร้างจุดยืนให้กับธุรกิจ ตอกย้ำด้วยสโลแกนที่ว่า ‘เรื่องถั่ว…เราถนัด’ คุณอารีย์ เพ็ชรรัตน์ ผู้บริหารบริษัท บ้านถั่วลิสง พร้อมสร้างแลนด์มาร์กให้เป็นสินค้าชื่อดังของจังหวัดน่าน ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาอุดหนุนกันมากขึ้น และยังมีแนวทางในการทำธุรกิจที่น่าสนใจคือ พัฒนาวงการเกษตรกรรมของไทยได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจจากการเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ สู่ปลายน้ำได้สำเร็จ ส่งต่อตำนานความอร่อย…จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก คุณอารีย์ เริ่มต้นเล่าที่มาของธุรกิจให้ฟังว่า โรงงานถั่วลิสงซินกวงน่านเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยก่อตั้งจากคุณพ่อสามีและญาติๆ จากการเป็นผู้รับซื้อและเป็นโรงงานผลิตถั่วลิสงต้มแห้ง เพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าในพื้นที่ภาคกลาง ต่อมาเมื่อเริ่มรู้สึกว่าได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดความคิ
ช่วงฤดูหนาว อากาศชื้นหรือมีฝนตก อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกถั่วลิสง กรมวิชาการเกษตร แนะนำเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงให้หมั่นสังเกตอาการของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii) ที่สามารถพบได้ในระยะการออกดอกจนถึงระยะติดฝักของถั่วลิสง เริ่มแรกจะพบ ยอด กิ่ง และลำต้นของถั่วลิสงเหี่ยวและยุบเป็นหย่อมๆ ส่วนบริเวณโคนต้นเหนือดินจะพบแผลสีน้ำตาลและเส้นใยสีขาวหยาบของเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นเส้นใยของเชื้อจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็กสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำคล้ายเมล็ดผักกาด ต่อมาต้นจะแห้งและตายในที่สุด หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วลิสงแล้ว เกษตรกรควรทำลายซากต้นถั่วลิสงด้วยการไถกลบให้ลึกพลิกหน้าดินตากแดด เพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค และฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน จากนั้น ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ก่อนปลูกเพื่อปรับสภาพดิน และควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้โคนต้นโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้มีความชื้นสูง เพื่อเป็นการลดการระบาดของโรค อีกทั้งแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี กรณีในแปลงที่พบการระบาดของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า ให้เกษตรกรควรป