ปุ๋ยหมัก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการบริโภคและส่งออกทุเรียนในปริมาณสูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลผลผลิต ระยะเวลาดังกล่าวจะมีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งในปริมาณมาก ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นขยะไร้ค่า แต่ในความเป็นจริง “เปลือกทุเรียน” สามารถนำมาแปรรูปเป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดขยะอินทรีย์ เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีนัยสำคัญ เป็นปุ๋ยหมักที่ผลิตจากเปลือกทุเรียน ร่วมกับมูลไก่ไข่เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช วิธีการหมักปุ๋ยจากเปลือกทุเรียน (สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก 1,000 กิโลกรัม) วัสดุที่ใช้ในการผลิต กระบวนการหมัก คุณภาพของปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียน ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจนเฉลี่ย 2.17 % ฟอสฟอรัสเฉลี่ย 5.05 % และโพแทสเซียมเฉลี่ย 3.04 % ปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย 34.65 % การนำปุ๋ยหมักไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ประโยชน์ที่ได้จากปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน 1. ปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่ม
มะม่วง เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สําหรับภาคกลางนิยมปลูกในจังหวัดราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และสุพรรณบุรี ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก สวนมะม่วงของผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวจะมีใบ GAP รับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย มันเดือนเก้า และโชคอนันต์ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเป็นอย่างดี สร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท คุณสุนทร สมาธิมงคล ได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกัน กําจัดศัตรูพืช สําหรับสวนมะม่วง ดังนี้ การปลูกมะม่วง คุณสุนทร เล่าว่า ตนเองนั้นได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านทําปุ๋ย หมักโดยผสมกับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ เพื่อทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมีในสวนมะม่วง ซึ่งจะใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูก ประมาณ 200 กรัม เมื่อนํากิ่งพันธุ์ปลูกแล้วรดน้ำทันที จากนั้นให้รดน้ำประมาณ 4-5 วันต่อครั้ง โดยการทําปุ๋ยหมักจะใช้น้ำหมักจากผลไม้มาผสมด้วยเพื่อเร่งการย่อย สลาย
“ใบไม้ในชุมชนนั้นเยอะมาก ก็คิดว่าจะทำใบไม้พวกนี้ให้เป็นปุ๋ยหมักอย่างไร เพราะการใช้ปุ๋ยหมักนั้นใช้เวลานาน ผมก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้การทำปุ๋ยหมักนั้นใช้เวลาน้อยที่สุด” คุณสุรเดช ภูมิชัย เกษตรกรและผู้คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูก” ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน โดยนวัตกรรมตัวดังกล่าวคิดค้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการลดการเผาใบลำไยและใบมะม่วงของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม โดยให้เกษตรกรเอาใบไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งมาแลกปุ๋ยหมักที่มีการบดใบลำไย ใบมะม่วงผสมกับมูลสัตว์ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในปุ๋ยหมัก กลับไปใช้ในไร่สวนของตนเอง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยหมักตามปกติ นับว่าเป็นนวัตกรรมเครื่องเล็กๆ ที่สามารถสร้างผลกระทบได้ดีและขยายในวงกว้างได้ แนวคิดในการพัฒนา เกษตรกรชาวสวนลำไยและสวนมะม่วงต้องตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกวัน จึงรวบรวมใบลำไยและใบมะม่วงเพื่อมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักและดินพร้อมปลูก โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน ทำให้ทางกลุ่มสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ดินพร้อมปลูกจากปุ๋ยหมักใบลำไยและใบมะม่วง ที่ขายดีจนต้อ
หมดปัญหาขยะเปียกส่งกลิ่นเหม็นเน่าอีกต่อไป ทุกๆ ครั้งที่รับประทานอาหารมักจะมีเศษอาหารที่กินไม่หมด แล้วต้องถูกนำมาเททิ้ง ยิ่งถ้ามีปริมาณมากทิ้งไว้นานก็ส่งกลิ่นเหม็นเน่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีเทคนิคในการช่วยลดปริมาณขยะเปียกด้วยการทำ “ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร” ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แถมไม่ต้องลงทุนเลยสักบาท การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร อาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ เริ่มต้นต้องมีถังเก็บขยะเพื่อใช้ในการหมัก โดยระยะเวลาการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ภาชนะที่ควรใช้หมัก แนะนำว่าควรใช้ถังหมักที่มีลักษณะดินเผาเพราะระบายอากาศได้ดีกว่าถังพลาสติกและไม่แฉะจนเกินไปด้วย วิธีการจัดการกับเศษขยะเพื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก ขั้นตอนที่ 1 นำเศษอาหารที่เราสามารถใช้ในการหมักได้คือ เศษผัก เศษผลไม้ เปลือกไข่ กากกาแฟ เปลือกผลไม้ ข้าวบูด และอาหารเหลือ เป็นต้น ซึ่งวิธีการจัดการกับขยะเหล่านี้คือ หากเป็นอาหารเหลือกินให้กรองน้ำออกก่อนจะใส่ลงถังหมัก ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทับด้วยปุ๋ยคอก เศษใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง หรือดินถุงก็ได้ เอาปุ๋ยคอกกับเศษใบไม้แห้งผสมกัน แล้วเทลงไปสลับกับชั้นเศษอาหาร ลงไปประมาณ 2-3 รอบ ขั้นตอนที่ 3 ร
กากกาแฟสด ที่ผ่านขั้นตอนการคั่ว บด กลั่น นอกจากจะให้ความอร่อยในยามเช้า และยังเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ชอบปลูกต้นไม้ได้อีกด้วย กลุ่มคนรักไม้ดอกไม้ประดับ เลี้ยงแค็กตัส ซัคคิวแลนด์ หรือไม้ขนาดเล็ก รวมทั้งยังเสริมการทำงานของปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเหมาะกับพันธุ์ไม้อีกหลายชนิด รวมทั้งพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะในกลุ่มไม้หัวอย่างแคร์รอต และยังช่วยป้องกันโรครากเน่า บำรุงต้นไม้ให้แข็งแรงสดชื่นอยู่ตลอดเวลา และยังเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพง แถมยังหาวัตถุดิบอย่าง “กากกาแฟ” ได้ง่ายตามร้านขายกาแฟสด การนำกากกาแฟใช้ทางการเกษตร ควรมีการหมักกากกาแฟก่อนนำไปใช้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่นักวิจัยแนะนำให้ใช้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเป็นพิษต่อพืชและจุลินทรีย์รีย์ในดินแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหารของพืชอีกด้วย วิธีทำปุ๋ยกากกาแฟ– ผสมกากกาแฟกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ก็ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับดูแลต้นไม้ได้เช่นกัน สำหรับความถี่ในการใส่ปุ๋ยก็ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง – หมักกากกาแฟกับน้ำหมักชีวภาพ ทิ้งไว้ประมาณ 1
คีย์โฮล คือ เทคนิคการปลูกผักปลอดสารพิษวิธีหนึ่ง โดยการทำแปลงผักแบบผสมผสานที่ปลูกผักกับทำที่หมักปุ๋ยไว้ด้วยกัน และด้วยหน้าตาของแปลงที่เหมือนกับรูกุญแจเลยทำให้ถูกเรียกว่า Keyhole garden ซึ่งการปลูกผักในรูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากในทวีปแอฟริกาที่มีภูมิประเทศแห้งแล้งและขาดแคลนอาหาร เนื่องจากการทำ Keyhole garden ช่วยทำให้มีผักปลอดสารพิษไว้ปรุงอาหารได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว การทำงานของคีย์โฮลคือการทำปุ๋ยหมักในแปลงผักโดยที่ไม่ต้องให้ปุ๋ยผักทีหลัง โดยท่อปุ๋ยหมักที่เกิดจากเศษอาหารในครัวเรือนทับถมกันจะค่อยๆ ซึมไปกับน้ำที่รดไปสู่รากผักที่อยู่ในดิน ทั้งนี้ เราสามารถเติมเศษอาหารได้เรื่อยๆ แต่ทั่วไปแล้วปุ๋ยหมักจากเศษอาหารจะใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 1 เดือน จึงควรกะระยะเวลาในการปลูกผักให้สัมพันธ์กัน หรือจะใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยก็ร่นระยะเวลาได้เช่นกัน เศษอาหารที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าว ใบไม้ ไม่ควรใส่เนื้อสัตว์ น้ำแกง ลงไปเนื่องจากจะทำให้เกิดกลิ่นแรงและมีแมลงรบกวนได้ หากมีเศษเปลือกไข่ เปลือกหอย จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานให้ทุบให้ละเอียดก่อน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วปิดปากท่อด้วยผ้าบางกันแมลงเข้า #เทคโน
การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันล้ำสมัยจนคาดไม่ถึง เมื่อ 40 ปีก่อนถ้าใครพูดว่าอีกหน่อยเราจะมีโทรศัพท์มือถือติดตัวกันทุกคน และเมื่อโทร.แล้วสามารถเห็นหน้ากันทั้งสองฝ่าย เหมือนคุยกันต่อหน้า คงจะมีคนหัวเราะเยาะ ในสมัยนั้นโทรศัพท์บ้านก็ไม่ใช่จะมีกันทุกบ้าน การได้โทรศัพท์บ้านเครื่องแรกของผมต้องซื้อเบอร์ราคาแพงจากคนอื่น ไม่ใช่จากองค์การโทรศัพท์ด้วยซ้ำ ในช่วงที่เริ่มมีโทรศัพท์กันก็ไม่มีใครนึกว่าจะมีสมาร์ทโฟนที่สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง และมีแอปพลิเคชั่น สามารถดูข่าวสารได้อย่างฉับไว ไม่ต้องง้อสำนักงาน พูดได้ว่าทุกคนที่มีมือถือมีสัญญาณโทรศัพท์ก็สามารถเสนอข่าวได้อย่างรวดเร็ว นั่นคือความสิ้นหวังของสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์หลายหัวเริ่มเลิกกิจการ ชีวิตตอนเช้าคนไม่ต้องนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ การเรียนรู้ทางการเกษตรก็เช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องไปเรียนวิชาเกษตรในมหาวิทยาลัยอีกแล้ว เราสามารถดูได้ทางสื่อออนไลน์หลายรูปแบบ เพียงแต่ขอให้คิดวิเคราะห์ต่อเท่านั้น เพราะในสื่อออนไลน์มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง คุณต่าย หรือ คุณรัตติกาล สุวรรณธาดา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก
อาชีพเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักอย่างน้อยก็ได้ผลผลิตมาเพื่อบริโภคประจำวัน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการผลิตเพื่อการค้า สร้างอาชีพ อาจต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เพิ่มขึ้นนอกจากเงินทุน ที่ดิน แรงงาน โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตที่จะเป็นเครื่องหมายการันตีให้แก่ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในกระบวนการผลิตว่าพืชผักนั้นมีความปลอดภัย ป้าแสงเงิน ปัญญาดี คนเมืองลอง จังหวัดแพร่ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ยึดอาชีพเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่ ปี 2521 กว่าจะเดินทางก้าวย่างมาถึงวันนี้ ผ่านอุปสรรคมามากมายในการผลิตผักพื้นบ้าน จนมาได้ข้อสรุปว่า ปลูกผักบุ้งจีนดีที่สุด ตลาดมีความต้องการสูงและต่อเนื่อง ทั้งยังได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP และ MOA เรามาทำความรู้จัก ป้าแสงเงิน ปัญญาดี กันครับ ป้าแสงเงิน บอกว่า ป้าได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีดีเด่นมาหลายครั้งหลายปี ปี พ.ศ. 2527, 2539, 2559 แต่ก็ไม่ได้เลิกอาชีพเป็นเกษตรกร เพราะใจรักในอาชีพปลูกผักกินเอง กินทุกอย่างที่ปลูก ทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เริ่มจากการปลูกผักพื้นบ้าน และผักอื่นๆ เช่น ผักกาด ผักกวางตุ้ง คะน้า ผักชี ต้นหอม เป็นต้น แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้ข้อสรุปว่า ปลูกผัก
ในเมื่อเศษอาหารประจำวันที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กลายเป็นปัญหาปวดหัวของสังคม ทิ้งอย่างไร กำจัดอย่างไรก็ไม่รู้จักหมดสิ้น คงต้องใช้วิธีแบบเกลือจิ้มเกลือด้วยการนำเศษอาหารที่เป็นขยะประจำวันมาแปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยใช้ปลูกพืชซะเลย งานนี้ประหยัดค่าปุ๋ย แถมได้พืชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในบ้านอีกด้วย… การเปลี่ยนเศษอาหารมาเป็นปุ๋ยให้พืชเป็นหนึ่งในอีกหลายแนวคิดของ คุณสุทน แสนตันเจริญ หนุ่มราชบุรีดีกรีช่างไฟฟ้าจากเทคนิคราชบุรี ที่หันมาเอาดีทางงานพัฒนาชุมชนและสังคม สังกัด SCG งานที่คุณสุทนทำคือลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมด้านต่างๆ ในขณะทำงานหากพบว่าชาวบ้านมีปัญหาอะไรที่แก้ไขไม่ได้ในทางเทคนิค คุณสุทนจะนำปัญหานั้นมาคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ/อุปกรณ์ เพื่อช่วยเหลือหาทางออกเพื่อตอบโจทย์ปัญหาให้เกษตรกรแต่ละแห่ง แล้วอุปกรณ์เหล่านั้นจะออกแบบง่ายๆ สามารถนำสิ่งของใกล้ตัวในชุมชนมาประดิษฐ์ ตามแบบอย่างจากต้นแบบของคุณสุทน เน้นความประหยัด ใช้งานได้จริง คุณสุทน แสนตันเจริญ “ตัวอย่างเช่น ถ้าขยะเป็นปัญหาของชุมชน ก็จะออกแบบถังขยะที่สามารถแปรรูปเป็นปุ๋ยโดยไม่มีกลิ่นเพื่อนำไปใช้บำรุงต้นไม้ หรือบางชุมชน หมู่บ้านที่มีพื
คุณประสิทธิ์ รัตนพรหม เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน อดีตวิศวกร ผันตัวมาเป็นชาวสวนลำไยโดยการใช้น้ำหมักอินทรีย์บำรุงลำไย จากวัตถุดิบใกล้บ้าน หาง่าย ราคาถูก ต้นทุนถูกลงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้ต่อเนื่องสภาพใบและต้นลำไยดีขึ้นเห็นผลอย่างชัดเจน ที่สำคัญยังหารายได้จากการขายน้ำหมักอินทรีย์ได้อีกด้วย คุณประสิทธิ์ เล่าว่า ก่อนจะมายึดอาชีพเป็นชาวสวนลำไยอย่างเต็มตัวนั้น ตนเป็นวิศวกรในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ประสพกับช่วง 13 ปีที่แล้ว ภรรยาท้องลูกแฝด 3 คน ตนจึงต้องเสียสละลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก อีกทั้งครอบครัวพ่อแม่ของตนก็มีอาชีพเป็นชาวสวนลำไยอยู่แล้ว ประกอบกับราคาลำไยช่วงนั้นค่อนข้างดี จึงหันมาเป็นชาวสวนลำไยอย่างเต็มตัว ปัจจุบันมีสวนลำไยอยู่ที่ 120 ไร่ มีต้นลำไย 1,400 ต้น สาเหตุที่หันมาใช้น้ำหมักอินทรีย์บำรุงต้นลำไย คุณประสิทธิ์บอกว่า เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน การทำลำไยให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นจำเป็นต้องใช้สารเคมีสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลำไยนั้นสูงขึ้นตาม และพบว่าดินของลำไยมีปริมาณธาตุอาหารหลายๆ ตัวเกินสมดุล จึงมองหาความรู้ศึกษาแนวทางการปรับปรุงสภาพดิน นั่นคือก