ผักพื้นบ้าน
การแพทย์แผนไทย ถือเป็นศาสตร์แบบองค์รวม อันเกิดจากความรู้ ภูมิปัญญาของคนโบราณที่ถูกเรียกว่า “หมอบ้าน” สามารถรักษาและบำบัดครอบคลุมได้ทุกโรคอย่างครบถ้วน โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ “สกลนคร” เป็นจังหวัดทางภาคอีสาน ที่นับว่ามีแหล่งสมุนไพรสำคัญจำนวนมากแห่งหนึ่งของประเทศ แล้วยังเป็นแหล่งชุมนุมของหมอพื้นบ้านเก่าแก่ชื่อดังอีกด้วย ฉะนั้น หลายหน่วยงานของจังหวัดจึงผนึกกำลังร่วมมือกันเพื่อสร้างกรอบความชัดเจนของสมุนไพรแต่ละชนิด ตลอดจนรวบรวมหมอพื้นบ้าน ตำรับตำรายาโบราณ เข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อเป็นฐานข้อมูลการศึกษาสำหรับอนุชนรุ่นต่อไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร เป็นอีกหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสมุนไพร และผักพื้นบ้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูศาสตร์เก่าแก่นี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงมีการจัดสร้าง “สวนผักพื้นบ้านและสมุนไพร เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา” ขึ้น ภายในพื้นที่ จำนวน
ผักในวัยเยาว์ ใครก็คงจะเคยมีผักที่กินตั้งแต่เล็กแต่น้อย กินเพราะชอบ และต้องกินถึงแม้ว่าไม่ชอบก็ตาม ตอนเด็กๆ ฉันต้องกินผักบุ้งเป็นหลักเพราะพ่อปลูกผักบุ้ง โชคดีที่รู้สึกชอบ พ่อบอกว่ากินแล้วตาสวย นั่นเป็นความรู้สึกที่ดีๆ มากสำหรับเด็ก กินแล้วตาสวย กินแล้วผมสวย กินแล้วแก้มแดง ผู้ใหญ่จะใช้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กกินผัก เพราะบอกสุขภาพดีนั้นเด็กอาจจะคิดไม่ออก เมื่อโตขึ้นมาไปโรงเรียนก็มีวิชาการเกษตร ครูก็ให้ปลูกผักซึ่งก็ปลูกผักบุ้งอีก ดังนั้น ผักบุ้งจึงเป็นผักในหัวใจ คุณล่ะมีผักอะไรในหัวใจที่เล่าถึงได้บ้าง เมื่อมีผักบุ้งฉันจะคิดออกว่าจะทำอะไรกินได้บ้าง ผักบุ้งจีนถอนทั้งราก ผักบุ้งไทยเด็ดยอดเรื่อยๆ ถ้าอยู่ในน้ำผักบุ้งมันจะอ้วน ใหญ่ กรอบ อย่างนี้ แกงเทโพอร่อยนักแล แกงส้มกับมะนาวใส่ปลา ใส่กุ้งยิ่งอร่อย ถ้าเป็นผักบุ้งไทยผอมๆ อยู่เลื้อยยอดบนดินเอามาทำผักแกล้ม กรอบ อร่อย แต่ถ้าเป็นผักบุ้งจีนผัดดีกว่า ผัดน้ำมัน ผัดกะทิ…นี่เป็นผักที่อยู่ในหัวใจตั้งแต่เด็ก อีกผักหนึ่งเป็นผักที่สนุกสนานวัยเยาว์ นั่นคือผักกูด ขึ้นอยู่ตามสวนยางพาราที่ชื้นๆ และต้องเดินทางไปเก็บและอยู่ไกลออกไป แถวชายน้ำที่พื้นแฉะๆ บางที
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ติ้ว หรือ แต้ว เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก พบมากในป่าเบญจพรรณแถบภาคอีสาน ชื่อสามัญ :ติ้วแต้วติ้วขนติ้วเกลี้ยงร้าเง็ง (สุรินทร์; บุรีรัมย์) ; กุยฉ่องเฉ้า (กะเหรี่ยง) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum วงศ์ : CLUSIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ติ้วหรือ แต้ว เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก พบมากในป่าเบญจพรรณแถบภาคอีสานมี 2 พันธุ์ คือ ดอกสีขาว กับ ดอกสีชมพูซึ่งพันธุ์ดอกสีชมพูนั้นมักจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆใบจะมีขนนุ่มๆ ขมกว่าชนิดดอกสีขาวเล็กน้อยเรือนยอดมักเป็นพุ่มกลมเปลือกต้นสีน้ำตาล อมเทา เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดร่องๆถ้ามีแผลจะมียางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาใบรูปไข่กลับรีๆ ยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร ลักษณะการแตกของใบจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน หรือที่ภาษาพฤกษศาสตร์เรียกว่า Simple Opposite ผลทรงรีขนาดเล็กๆ มีนวลบางๆ เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ข้างในมีเมล็ดสีน้ำตาลปนดำอยู่มากออกดอกได้เป็นระยะตลอดปี แต่จะดกเป็นพิเศษในหน้าแล้งราวๆ เดือนมีนาคม-พฤษภาคมยอดและใบอ่อนสีชมพูอมแดงสวยสดงดงาม เห็นแต่ไกลมีรสเปรี้ยว อมฝาด คุณสมบัติช่วยระบายท้องช่วยส่งเสริมเน้นรสชาติอาหาร ทางภาคอีสานชาวบ้านทั่วไปนิยมนำมาใส่ต้มยำแทนม