ผักพื้นบ้าน
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี เตรียมจัดงาน “จากพันธุกรรมสู่ความยั่งยืน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการอนุรักษ์ทรัพยากร และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการพระดำริที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากร รวมทั้งเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2567 ภายในงานจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และนิทรรศการของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “จากพันธุกรรมพื้นบ้าน สู่ความยั่งยืน” เรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้ในห้องอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชม ชิม ช้อป สินค้าผลผลิตเกษตรตามฤดูกาลจากร้านค้าเครือข่ายและภาคีความร่วมมือจากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5-7 เมษายน 2567 เวลา 08.00-17.00 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท
ชะอมเป็นพืชพื้นบ้านที่ปลูกง่าย ปลูกตรงไหนก็ขึ้น ยิ่งได้น้ำ ยิ่งงาม ใครที่มี “ชะอม” ที่สวนแล้วแตกยอดไม่เยอะ ไม่งาม วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีเทคนิคจะมาบอกที่สามารถทำตามกันได้ง่ายๆ และได้ผลชัวร์ ปลูกไว้กินเองหรือไว้ขายก็ขายง่าย ทำได้หลากหลายเมนูกินกับน้ำพริกก็แซ่บหลาย ชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลําต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมทีปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และเจ้าของมักตัดแต่งกิ่งเพือให้ออกยอดไม่สูงเกินไป จะได้เก็บยอดได้สะดวก ตามลําต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย วิธีการขยายพันธุ์ชะอม สามารถทำได้โดย การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง หรือการโน้มกิ่งชะอมฝังดินทำให้แตกรากใหม่เกิดเป็นต้นใหม่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถทำการขยายพันธุ์เองได้ หรือหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้ตามร้านขายกิ่งพันธุ์ไม้ทั่วไป วิธีการปลูกชะอม ถ้าใช้กิ่งตอนจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง ทั้งนี้ เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าตายได้ โดยทั่วไปจะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นแถ
ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ริมห้วย หนอง คลอง บึง และป่าเขา กรมอนามัยได้ศึกษาผักพื้นบ้านในปี 2554 โดยเก็บตัวอย่างผักพื้นบ้านรวม 45 ชนิด จาก 4 ภาค ผลการศึกษาพบว่า ผักพื้นบ้านของไทยทุกชนิดให้พลังงาน โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่า ผักพื้นบ้านกินแล้วไม่ทำให้อ้วน “ผักพื้นบ้าน” เป็นส่วนผสมในตำรับอาหาร ที่นิยมบริโภคในภูมิภาคต่างๆ เช่น ผักคราดหัวแหวน ใช้ทำแกง แก้อาการปวดฟัน ผักเสี้ยว นิยมแกงใส่ปลาย่าง มีรสเปรี้ยว งานวิจัยจากญี่ปุ่นระบุว่า มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน ผักชีใบยาว ชื่อเรียกทางเหนือว่า “หอมป้อมเป้อ” ทุกส่วนของต้นผักชีใบยาวกินได้อร่อย มีประโยชน์ สรรพคุณทางยาหมดทุกส่วน รากก็ใช่เหมือนรากผักชีทั่วไป ใบก็ใช่เหมือนกัน ดอก ผล หรือเมล็ด ก็ล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นยาสมุนไพร นิยมปลูกใส่กะละมังรั่วไว้ข้างครัว สะดวกแก่การเก็บกิน ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านที่คนไทยในภาคเหนือตอนบน แถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน นิยมกิน เพราะมีสรรพคุณทางยา เช่น ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยละลายลิ่มเลื
นับย้อนไป 16 ปีแห่งความหลัง คงพอจำกันได้ว่า เกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก พายุฝน ดินถล่มแลนด์สไลซ์ ในพื้นที่ภาคเหนือ ชีวิต ทรัพย์สิน บ้านเรือน ไร่นาสวนเกษตร เสียหายเหลือที่จะประเมินมูลค่าเป็นเงินได้ ชาวบ้านผู้ประสบภัยต่างขัดสนปัจจัยการดำรงชีพต่างๆ แม้แต่อาหารการกิน พืชผลผักไม้ที่เคยเก็บกินก็หายไปไม่น้อย สิ่งที่ฟื้นกลับมาให้เป็นประโยชน์เห็นจะมีก็แต่พืชผักพื้นบ้านที่ยังอยู่รอดบ้าง เจริญเติบโตขึ้นมาใหม่บ้าง นั่นแหละคือคุณสมบัติที่โดดเด่นของ “ผักพื้นบ้าน” และส่งต่อคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งเป็นยาให้ชาวชน “ผักคันทรง” เป็นผักที่ชาวบ้านรู้จักกันดี ทนแล้ง ทนแดด ทนฝน ทนน้ำท่วม ไม่มีโรคแมลงรบกวน รสชาติหวาน กรอบ อร่อย ยอดอ่อนใบอ่อนมีเสน่ห์ชวนลิ้มชิมรส “ผักคันทรง” ชื่ออาจแปลกสำหรับใครบางคน แต่คนทุกภาครู้จัก เพียงแต่เรียกต่างกันไปบ้าง ซึ่งพอได้เห็นยอดที่อวบอิ่ม หรือได้เห็นต้นที่เป็นพุ่ม ก็จะถึงบางอ้อกันทันที ผักชนิดนี้ มีความคล้ายเหมือนกับผักพื้นบ้านหลายอย่าง กิ่งก้าน ผลและใบแก่คล้ายกับพุทรา ยอดใบอ่อนคล้ายผักหวานป่า ออกผลคล้ายผักหวานบ้าน โดยเฉพาะผลที่ติดใต้ใบ มีพูเล็กน้อย สีเขียว รูปทรงค่อนข้างกลม และมีขั้
สภาพภูมิอากาศบ้านเราเดี๋ยวชื้น เดี๋ยวหนาวเย็น เดี๋ยวร้อน ยามร้อนก็ร้อนร้าว จนชาวบ้านต่างพากันบ่นพึมพำ แช่งด่าดวงตะวันที่อยู่ไกลเราไปตั้ง 150 ล้านกิโลเมตร ร้อนจริงร้อนจัง ร้อนอย่างแท้จริง ร้อนจนจำต้องหมดเงินค่าน้ำค่าไฟเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อช่วยคลายร้อนที่ดวงตะวันแบ่งปันส่งมาให้ หมดเงินเพิ่มอีกเยอะเลย เอะหรือว่ารัฐบาลเขาขึ้นราคาค่าน้ำค่าไฟที่เราใช้ของเขาไป ซ้ำเติมให้เร่าร้อนเข้าไปอีก แต่ช่องทางผ่อนคลายร้อนแบบบ้านๆ ก็มีอยู่ คืออาศัยความเป็นธรรมชาติ ต้นไม้ หาดทราย สายน้ำลำธารมากมาย รวมทั้งอาหารการกินที่ชาวบ้านเขารู้จัก และธรรมชาติเสกสรร ให้มีในหน้าร้อนนี้ พืชผักหลายอย่างช่วยคลายร้อนได้ เราเรียกกันว่า “ผักพื้นบ้าน” ผักพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผักได้จากป่า เอามาทำกินกันกับคนที่บ้าน หรือพืชผักริมรั้วที่มีในท้องถิ่นก็ใช่ มีมากกันทุกภาคของไทยที่ป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านหาเก็บมาวางขายตามตลาดท้องถิ่น เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักบริโภคอาหารป่า ซึ่งปลอดภัยจากสารพิษ เช่นผักชนิดนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก ชื่อเขาแปลกๆ เรียกกันว่า “สะแล” ส่วนที่นำมาเป็นอาหารคือ ดอกอ่อน ลักษณะดอกคล้ายกับผล ดอกอ่อนสะแลม
“ชะคราม” หรือ “ชักคราม” พืชล้มลุกขนาดเล็ก เติบโตจากดินเค็ม พบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนชายฝั่งทะเลที่มีน้ำท่วมถึง โดยเฉพาะจังหวัดชายทะเลตะวันออก อย่างกับสมุทรสาคร สมุทรสงคราม บางส่วนของทะเลกรุงเทพฯ ย่านบางขุนเทียน ทะเลบ้านแหลม เพชรบุรี โดยเฉพาะบริเวณนาเกลือและป่าชายเลน ชะครามจัดเป็นวัชพืชที่มีประโยชน์ ด้วยการนำมาประกอบอาหารได้หลายรายการ ทั้งแกงคั่วปูใบชะคราม แกงส้มชะครามชุบไข่ทอด ไข่เจียวใบชะคราม แม้กระทั่งยำใบชะคราม “ชะคราม” ชื่อภาษาอังกฤษ Seablite ชื่อวิทยาศาสตร์ Suae da maritime เป็นพืชล้มลุกพบได้ในดินเค็มตามป่าชายเลนทั่วไป แพร่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลตะวันออก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ถึง 120 เซนติเมตร โคนต้นแตกกิ่งระดับล่าง ลำต้นมีสีเขียวอ่อนเมื่อต้นแก่จะเป็นสีแดงอมน้ำตาล ต้นอ่อนจะฉ่ำน้ำ ใบชะคราม เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวแทงออกตามความยาวของกิ่งใบมีลักษณะทรงกระบอก อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล คนไทยนำใบอ่อนมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร โดยเฉพาะแกงส้ม แกงปูใบชะคราม ลวกราดกะทิเป็นผักจิ้มน้ำพริก ย
ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ริมห้วย หนอง คลอง บึง และป่าเขา กรมอนามัยได้ศึกษาผักพื้นบ้านในปี 2554 โดยเก็บตัวอย่างผักพื้นบ้านรวม 45 ชนิด จาก 4 ภาค ผลการศึกษาพบว่า ผักพื้นบ้านของไทยทุกชนิดให้พลังงาน โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่า ผักพื้นบ้านกินแล้วไม่ทำให้อ้วน “ผักพื้นบ้าน” เป็นส่วนผสมในตำรับอาหาร ที่นิยมบริโภคในภูมิภาคต่างๆ อาทิ ภาคเหนือ ผักคราดหัวแหวน ใช้ทำแกง แก้อาการปวดฟัน ผักเสี้ยว นิยมแกงใส่ปลาย่าง มีรสเปรี้ยว งานวิจัยจากญี่ปุ่นระบุว่า มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านที่คนไทยในภาคเหนือตอนบน แถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน นิยมรับประทาน เพราะมีสรรพคุณทางยาเช่น ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยละลายลิ่มเลือด ลดความอ้วน บรรเทาอาการหวัด ฯลฯ ทำให้ผักเชียงดาเป็นที่สนใจของผู้คนมากขึ้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผักยอดนิยมได้แก่ ผักแพว หรือ ผักไผ่ มีกลิ่นหอมระรวย นิยมใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อวัว เป็นผักแกล้มกินกับลาบ ก้อย ใส่ในแจ่วฮ้อน ผักแขยงหรือ ผักกะออม หรือผ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC. ชื่อวงศ์ CAPPARACEAE, CAPPARIDACEAE ชื่อสามัญ Sacred barnar, Capertree, Temple plant. ชื่ออื่นๆ ก่าม กะงัน สะเบาถะงัน (อีสาน) เดิมถะงัน ทะงัน (เขมร) หนูร้องเรียนให้ตัวเองเรื่อง ชื่อวิทย์ ชื่อวงศ์ ชื่อสามัญ และชื่อท้องถิ่น เพราะมีหลากหลายจนหนูสับสนไม่ทราบว่าจะตอบใครว่าอยู่ “กลุ่ม” ไหนดี หนูชื่อ “กุ่ม” แต่หนูรู้สึก “กลุ้ม” เมื่อถูกนักวิชาการจัดหนูอยู่ในกลุ่มโน้นกลุ่มนี้ แม้แต่ท้องถิ่นชาวบ้านยังแบ่งแยกหนูให้อยู่ใน “กุ่มน้ำ-กุ่มบก” อีก คิดดูไม่เห็นใจบ้าง สุดท้ายทุกคนที่ชอบหนูกันมากๆ คือ “กุ่มดอง” อยู่ริมน้ำหรือบนบกหนูก็ต้องอยู่กับ “ไหดองเกลือ” แม้จะชื่นชมว่ายอดอ่อนสวยช่อดอกน่ารัก แต่อ้างว่ามีสารพิษ คือ กรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid) ต้องทำให้สุกเพื่อกำจัดสารพิษ ในอดีตเรียกกันว่าต้องนำมาผ่าน “การประสะ” เสียก่อน แล้วจึงนำยอดอ่อนและดอกมาทำผักกุ่มดอง เรื่องหลายชื่อวิทย์ ก็คือบ้างว่า กุ่มน้ำ คือ Crateva religiosa G. Forst. บ้างก็ว่า กุ่มน้ำใช้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crateva nuvrvala Ham. แล้วยังมีกุ่มน้ำบางชนิดบางท้
เขาว่ากันว่า คนแก่ชอบกินของขม…ชมเด็กสาว ก็คงจะจริงอย่างว่าแหละนะ เพราะเริ่มสูงวัย อะไรที่ขมๆ ฝาดเฝื่อนกลืนไม่ค่อยลงสมัยที่ยังเป็นหนุ่มสาวนั้น ดูเหมือนจะกระเดือกง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อะไรที่ใครว่าดี ไม่ว่าจะขมหรือเหม็น หรือสิ่งไหนที่หมอสั่งให้กิน ไม่มีการบิดพลิ้วเกี่ยงงอนเด็ดขาด ไม่รู้เป็นเพราะปุ่มรับรสที่ลิ้นไม่ทำงาน หรือเพราะว่าสันดานเปลี่ยนตามอายุกันแน่ มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเรากินกันเป็นผักเป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว น่าจะรู้จักกันมาก่อน มะระจีน ด้วยซ้ำไป เด็กเมืองสมัยใหม่ที่ไม่มีโอกาสเห็นผักพื้นบ้านขึ้นตามริมรั้วหรือเลื้อยอยู่ในป่า ส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยกับ มะระจีน ที่มีขายกันตามตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตมากมายกว่า มะระขี้นก จะว่าไปแล้ว เป็น “มะระ” เหมือนกันแท้ๆ เชียว แต่เจ้ามะระขี้นกก็ช่างเล็กจิ๋วเสียเหลือเกิน ขณะที่ มะระจีน เวลาวางเทียบกัน ก็เป็นมะระยักษ์นั่นเลยทีเดียว ส่วนเรื่อง “ขม” ต่างมีรสขมเหมือนกัน แต่ มะระขี้นก มีรสขมจัดกว่า มะระจีน มากมาย ฉะนั้น อย่าไปหวังว่าเด็กเล็กหรือแม้แต่คนหนุ่มสาวจะยอมกินกันง่ายๆ มะระขี้นก
“มะรุม” เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป การปลูกมะรุมไว้ที่บ้านเมื่อก่อนโบราณเขาถือ เชื่อว่าถ้าปลูกจะเกิดปัญหาวุ่นวาย ความยุ่งยากมารุมมาตุ้ม จึงนำไปปลูกไว้ริมรั้ว สมัยนี้เห็นมีปลูกกันในบ้านเยอะแยะ เป็นไม้ที่มีเสน่ห์มาก เพราะคนทั่วไปรู้คุณค่า คุณประโยชน์ที่มีมากมายในมะรุม บ้านเราตอนนี้ มีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่ชาวบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชผักต่างๆ มาอย่างแท้จริง มีการใช้ประโยชน์จากผักมากมายหลายมิติทั้งทางนิเวศและวัฒนธรรม ด้านอาหาร ด้านยารักษาโรค ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านประเพณีพิธีกรรมความเชื่อ และด้านเศรษฐกิจ สิ่งแรกที่มนุษย์ให้ความสำคัญคงหนีไม่พ้นเรื่อง อาหารการกิน เรื่องกินเรื่องใหญ่ มนุษย์อยู่รอดทุกวันนี้เจริญเติบใหญ่ก็เพราะกินอาหาร พืชผักถูกใช้ปรุงเป็นอาหารหรือกินสดๆ เมื่อกินเข้าไปในร่างกายก็จะเกิดประโยชน์ทางโภชนาการเป็นยาสมุนไพร ให้ใยอาหาร เป็นต้น ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นผัก ตามวัฒนธรรมการบริโภคของท้องถิ่นมีอยู่ในแหล่งธรรมชาติป่าเขา ริมน้ำ ริมห้วย หนอง คลอง บึง ในสวนนาไร่ หรือนำมาปลูกไว้ใกล้บ้านแล