มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
De-BUGs เป็นนวัตกรรมสารกำจัดแมลงอินทรีย์แปรรูปจากเปลือกไข่ โดยเปลี่ยนโปรตีนเยื่อเปลือกไข่ให้เป็นสารออกฤทธิ์กำจัดแมลงศัตรูพืชประสิทธิภาพสูงด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่สร้างของเสีย (Zero-waste Process) เป็นสารอินทรีย์ 100% นอกจากจะทำหน้าที่กำจัดศัตรูพืชแล้ว De-BUGs สลายตัวตามธรรมชาติกลายเป็นแคลเซียม (Calcium) ธาตุอาหารรองสำหรับพืชทุกชนิด De-BUGs เป็นนวัตกรรมเพื่อเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ภายใต้แนวคิด BCG โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย De-BUGs มีประสิทธิภาพป้องกันและกำจัดเพลี้ย ไล่มดและหอยทาก ใช้ได้กับผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้ และพืชไร่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตกค้างและอันตรายจากสารเคมีสำหรับเด็กและสัตว์เลี้ยง การพัฒนานวัตกรรม De-BUGs เกิดจากความร่วมมือจากนักวิจัย 3 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.ดวงทิพย์ กันฐา, ผศ.วรพจน์ ศตเดชากุล และ น.ส.ณภาส์ณัฐ อู๋สูงเนิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ดร.นิตยา แก้วแพรก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีมนักวิจัยได้รับทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจาก วช. เพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค
มะม่วงเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันมากในทุกภาคของประเทศไทย และคนไทยส่วนใหญ่รู้จักการแปรรูป มะม่วงสดด้วยการดอง เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน ทั้งนี้ ต้องผ่านการดองที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จากนั้นจึงนำมาทำการแปรรูปปอกเปลือกออกแล้วนำไปแช่อิ่มหรือปรุงแต่งรสแล้วบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนการปอกเปลือกนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการแปรรูปผลไม้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และใช้แรงงานมาก นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องจักรกลที่ใช้ปอกอีกด้วย ประกอบกับ ผลมะม่วงของไทยมีรูปทรงรีมากกว่าสายพันธุ์ต่างประเทศที่มีรูปทรงผลค่อนข้างกลม จึงเป็นปัญหาอุปสรรคทางธุรกิจและปัญหาเชิงเทคนิคที่ต้องพัฒนาเครื่องปอกและทดลองหาเงื่อนไขการทำงานของเครื่องปอกให้สามารถปอกเปลือกได้สมบูรณ์มากที่สุด ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีการประยุกต์ใช้เครื่องปอกเปลือกผลผลิตทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ นำมาใช้งาน เช่น การปอกเปลือกฟักทองโดยการขัดผิว เครื่องปอกเปลือกมันฝรั่ง การปอกมันฝรั่งจะหมุนแยกเปลือกออกจากกัน โดยการขัดถูพ่นน้ำให้เปลือกออกจากถังพร้อมกับการไหลของน้ำ ประสิทธิภาพการปอกเปลือกและการสูญเสียเปลือกที่ 7 เปอร์เซ็นต์ 8
มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่มีปริมาณแป้งสูง (Carbohydrate-rich crops) เป็นวัตถุดิบสำคัญใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเอทานอล อุตสาหกรรมอาหาร และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตแอลกอฮอล์ กรดมะนาว เครื่องนุ่งห่ม ยา กระดาษ และเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ทำให้แนวโน้มความต้องการมันสำปะหลังในตลาดโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยผลิตได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 23-24 ล้านตัน เกษตรกรไทยจะเริ่มปลูกมันสำปะหลังตั้งแต่เมษายนเป็นต้นไป และเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลัง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากสุดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปีซึ่งการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในปัจจุบันยังคงใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวเป็นหลัก โดยการตัดส่วนลำต้นออกแล้วขุดด้วยจอบหรือใช้คานงัด หรือใช้ผาลขุดติดท้ายแทรกเตอร์เพื่อช่วยทุ่นแรง หลังจากนั้นก็จะสับหัวมันออกจากเหง้าซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ได้มีการออกแบบเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบถอนเหง้ามันสำปะหลังขึ้นจากพ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตระหนักดีถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นโจทย์ท้าทายในการวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วลิสงให้ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเน้นคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก ต้านทานต่อโรคแมลงศัตรู และให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นพืชทางเลือกในการพลิกฟื้นภาคการเกษตรของไทย ให้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน โดยผลงานปรับปรุงพันธุ์พืชดังกล่าว ประกอบด้วย ถั่วลิงสงสายพันธุ์ “เคยู อาร์ด้า 20 (KU ARDA 20) ที่ให้ผลผลิตสูง 393 กก./ไร่ อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 100-110 วัน มีจำนวนเมล็ด 2-4 เมล็ด/ฝัก หนัก 100 เมล็ด 53 กรัม ต้านทานโรคดี สามารถนำไปแปรรูปเป็นขนมอบกรอบ ถั่วฝักสด และถั่วต้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 5720 (sw 5720) เมล็ดเป็นสีส้มเหลือง และกึ่งหัวแข็ง ผลผลิตเฉลี่ยที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1,346 กก./ไร่ (ในดินนาฤดูแล้ง) และประมาณ 1,785 กก./ไร่ (ในดินไร่) อายุเก็บเกี่ยว 110–120 วัน เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง ปร
หลังจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. เริ่มคลี่คลายลง พบว่าอาคารจำนวนมากได้รับความเสียหาย และต้องมีการประเมินด้านความปลอดภัยก่อนการเข้าใช้อาคาร ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ขณะนี้เจ้าของอาคารเริ่มตรวจสอบความเสียหายในอาคารของตนและเริ่มมีการซ่อมแซมแล้ว จึงจำเป็นต้องมีแนวทางตรวจสอบตามหลักวิศวกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาคารสูง โดยขอให้เน้นตรวจสอบรอยร้าวและการกะเทาะหลุดของคอนกรีตที่บริเวณเสาและผนังปล่องลิฟต์ของอาคาร เนื่องจากเป็นโครงสร้างหลักที่รับน้ำหนัก และมีจุดสังเกตว่ารอยร้าวและการกะเทาะหลุดของคอนกรีต จะเกิดขึ้นที่บริเวณโคนเสาด้านล่างและปลายเสาด้านบน โดยเฉพาะอาคารสูงให้ระวังรอยร้าวที่เสาชั้นล่างๆ และเสาที่บริเวณกึ่งกลางความสูง ความเสียหายของรอยร้าวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 – ไม่พบรอยร้าว ระดับที่ 2 – ตรวจพบรอยร้าวในเสาหรือผนังรับน้ำหนัก เห็นเป็นเส้น มีความหนาไม่มาก ไม่ถึง 0.4 มม. (บัตรเครดิตหรือบัตรประชาชนสอดไม่เข้า) รอยร้าวดังกล่าวยังไม่เป็นอันตราย สามารถเข้าใช้สอยอาคาร แต่ก็ควรซ่อ
โรคไวรัสทิลาเปียเลค (Tilapia Lake Virus : TiLV ) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคตายเดือน เป็นหนึ่งในสาเหตุการตายที่สำคัญของลูกปลานิลและปลาทับทิมในช่วงอายุ 1 เดือนแรก ซึ่งหากติดเชื้อ TiLV จะทำให้มีอัตราการตายสูงสุดถึง 80% ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวพบได้ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม ขณะเดียวกันก็ยังไม่มี “วัคซีนเฉพาะ” สำหรับควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ทีมวิจัยนำโดย “รศ.ดร.ศศิมนัส อุณจักร์” ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงพัฒนา “วัคซีน TiLV” ขึ้น เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลาทับทิม โดยวัคซีน TiLV ที่พัฒนาขึ้นเป็นวัคซีนชนิดรีคอมบิแนนท์ ที่ผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนของไวรัส TiLV ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยใช้เทคนิคทางด้านรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ รศ.ดร.ศศิมนัส อธิบายว่า โรคตายเดือนที่มาจากติดเชื้อไวรัส TiLV จะเกิดกับปลาเล็กในช่วงแรกหลังจากออกจากโรงเพาะเลี้ยง ซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทำให้เกิดความเครียดและตายในช่วง 1 เดือนแรกเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุการต
มะขามเปรี้ยว 3 พันธุ์ใหม่ คือ พันธุ์ KU 80-1, KU 80-2 และ KU 80-3 เป็นผลงานวิจัยของ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด นักวิชาการสถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมะขามเปรี้ยวดังกล่าวมีจุดเด่นสำคัญคือ ติดฝักดก ฝักใหญ่ เนื้อมาก สีสวย ผลผลิตต่อไร่สูง ขายผลผลิตได้ราคาเพิ่มมากขึ้น มะขามต้นเดียวเก็บเกี่ยวฝักได้ 3 ช่วงอายุ คือ ฝักอ่อน โดยฝักสั้นและบิดเบี้ยวไม่สมบูรณ์ก็สามารถเก็บขายแบบมะขามฝักอ่อนได้ ส่วนฝักแก่สามารถแปรรูปเป็นมะขามดองหรือแช่อิ่มออกขายได้ ส่วนฝักสุก เนื้อสุกฉ่ำน้ำไม่แห้ง เหมาะสำหรับเก็บเป็นเนื้อมะขามเปียก ใช้ประกอบอาหารหรือใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง โทร. 081-470-2382
สุขภาพดีมาจากอาหาร ดั่งคำกล่าวที่ว่า “You Are What You Eat” กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น อาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพตัวเองที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ “ข้าว” นับเป็นอาหารหลักของคนไทย ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก รู้หรือไม่ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ทุกวันนี้ คนไทยกินข้าวน้อยลง เฉลี่ยแค่ปีละ 90-100 กิโลกรัมต่อคน กำลังซื้อที่ลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่ออาชีพและรายได้ของชาวนา ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้ การแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น เพิ่มกำลังซื้อข้าวในประเทศ และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้อีกทางหนึ่ง สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แจกสูตรวิธีการทำเมนูอาหารทางเลือก (IFRPD) คือ เค้กข้าวปลอดกลูเตน ที่ทำได้ง่าย แม้ไม่มีเตาอบอยู่ในบ้าน เค้กข้าวปลอดกลูเตน ทำง่าย รสชาติอร่อย อิ่มได้ทั้งครอบครัว เริ่มจากจัดเตรียมวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม ผงฟู 4 กรัม เกลือ 0.5 กรัม น้ำมันรำข้าว 20 กรัม น้ำตาลทราย 60 กรัม ไข่ไก่สด (เบอร์ 2) 3 ฟอง โยเกิร์ต 4
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 63 ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 โดยมีแนวคิดหลักคือ “ปัญญาประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมและความยั่งยืนในการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติจริง ในโอกาสนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “นวัตกรรมและความยั่งยืน : ยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่ากระบือไทย” โดยมี รศ.ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ จากหน่วยวิจัยเฉพาะทางพันธุศาสตร์สัตว์เขตร้อนชื้น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายสุพชัย ปัญญาเอก ผู้จัดการโครงการฟาร์มกระบือทันสมัย มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ นางจิราภัค ขำเอนก ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกระบือจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าของรวินันท์ฟาร์ม สพ.ญ.ธาราทิพย์ พุ่มระชัฎร์ จากโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย นายนิรุจน์ พันธ์ศรี จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ รวมทั้ง นายสานน กันรัมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ บีฟ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบนเวทีเสวนา ซึ่งดำเนินรายการโดย นางธัญวรรณ ศรีวาจนะ จากส
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 63 ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 โดยมีแนวคิดหลักคือ “ปัญญาประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมและความยั่งยืนในการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติจริง ในโอกาสนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “นวัตกรรมและความยั่งยืน : ยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่ากระบือไทย” โดยมี รศ.ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ จากหน่วยวิจัยเฉพาะทางพันธุศาสตร์สัตว์เขตร้อนชื้น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายสุพชัย ปัญญาเอก ผู้จัดการโครงการฟาร์มกระบือทันสมัย มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ นางจิราภัค ขำเอนก ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกระบือจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าของรวินันท์ฟาร์ม สพ.ญ.ธาราทิพย์ พุ่มระชัฎร์ จากโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย นายนิรุจน์ พันธ์ศรี จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ รวมทั้ง นายสานน กันรัมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ บีฟ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบนเวทีเสวนา ซึ่งดำเนินรายการโด