มะยงชิด
หลายคนยังแยกไม่ออกระหว่างมะยงชิดกับมะปรางหวาน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะหากมองด้วยตาเปล่าแล้วผลไม้ทั้ง 2 อย่างนี้ มีความเหมือนกันอย่างกับแกะ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนจะเข้าใจผิดว่ามะปราง คือมะยงชิด หรือมะยงชิด คือมะปราง ดังนั้น ก่อนที่จะทราบถึงเทคนิคการปลูก ผู้เขียนมีวิธีสังเกตง่ายๆ มาฝาก คือหนึ่งส่วนใหญ่หากเป็นมะปรางจะมีลูกเล็กกว่ามะยงชิด สองสังเกตได้จากสีของผลเมื่อสุกเต็มที่ หากเป็นมะปรางหวานจะสีออกเหลืองนวล มากกว่ามะยงชิดที่ออกสีเหลืองส้ม และสามแตกต่างที่รสชาติ มะปรางจะให้รสชาติหวาน ส่วนมะยงชิดจะให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว คุณกฤษฎา ขุนนามวงษ์ หรือ คุณเดียร์ เจ้าของสวนบุญสพวรรณ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หนุ่มพิมายรักในอาชีพเกษตร สานต่องานสวนของที่บ้านบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ เน้นปลูกพืชผสมผสาน มีมะยงชิด-มะปรางหวาน เป็นพืชดาวเด่น พร้อมเปิดสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแบ่งปัน ไม่ต้องวิ่งออกไปหาลูกค้า ลูกค้าเข้ามาหา นำเงินมาให้เองถึงสวน คุณเดียร์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรมาโดยตลอด ซึ่งเป็นอาชีพที่สานต่อมาจากครอบครัวที่จะเน้
หากพูดถึงผลไม้รสเปรี้ยวอมหวานที่มีหน้าตาคล้ายกันจนหลายคนสับสน ก็คงหนีไม่พ้น มะยงชิด และ มะปราง แฝดคนละฝาที่ดูเผินๆ อาจแยกไม่ออก แต่จริงๆ แล้วทั้งสองมีความแตกต่างที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของรสชาติ ลักษณะภายนอก และสายพันธุ์ มะปรางและมะยงชิดแท้จริงแล้วเป็นพืชในตระกูลเดียวกัน นั่นก็คือ “ตระกูลมะปราง” ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, มะยงชิด, มะยงห่าง และ กาวาง ทั้งหมดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่สามารถแยกความแตกต่างได้จาก รสชาติและขนาดของผล แต่ละชนิด ใครที่เป็นสายมะปรางลองชิมดู อาจจะแยกออกได้โดยไม่ต้องดูชื่อเลย ทำไม “มะยงชิด” ถึงนิยมปลูกมากที่นครนายก มะยงชิด ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก ที่ใครได้ลิ้มลองเป็นต้องติดใจ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง ผลขนาดใหญ่ เปลือกสีสวย และรสชาติหวานอมเปรี้ยวกำลังดี ทำให้มะยงชิดจากที่นี่โดดเด่นไม่เหมือนใคร จนกลายเป็นของดีประจำจังหวัด และเป็น ซิกเนเจอร์ ที่ใครมาเยือนก็ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปเสมอ มะยงชิดและมะปราง เหมือนหรือต่างกันยังไง ตามมาดูกัน 1. ลักษณะผล มะยงชิด ผลค่อนข้างกลมรี ผิวตึงเนียน สีส้มอ
ถ้าหากจะกล่าวถึงผลไม้ที่จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างที่มีราคาแพงชนิดหนึ่ง คนซื้อส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้กิน และคนกินส่วนใหญ่มักไม่ค่อยที่จะได้ซื้อ จัดอยู่ในประเภทของฝากให้กับผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ นั่นก็คือ “มะยงชิด” พื้นที่การปลูกมะปราง หรือ มะยงชิด เป็นการค้านั้น ควรเป็นแหล่งที่มีฤดูฝนสลับฤดูแล้ง (หนาวและร้อน) ที่เด่นชัด เพราะช่วงแล้งดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการออกดอกของมะปราง ซึ่งช่วงดังกล่าวจะช่วยทำให้ต้นมะปรางมีการพักตัวชั่วคราว ชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่ง และช่วงดังกล่าว ถ้ามีอุณหภูมิต่ำหรืออากาศเย็นจะช่วยให้มะปรางออกดอกติดผลได้ดียิ่งขึ้น แหล่งปลูกมะปรางที่อาศัยน้ำฝนนั้น ควรเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายตัวตกต้องตามฤดูกาล ส่วนแหล่งที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรเลือกพื้นที่ปลูกมะปรางเป็นการค้าที่ใกล้แหล่งน้ำ หรือมีน้ำชลประทานเพียงพอ เพราะในระยะที่มะปรางแทงช่อ ดอก และติดผลนั้น (พฤศจิกายน – มีนาคม) จะเป็นช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อยมาก ซึ่งช่วงดังกล่าวมะปรางต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของผล และถ้ามะปรางขาดน้ำจะมีผลทำให้ผลมะปรางมีขนาดเล็ก ผลร่วง และให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติได้ อุณหภูมิเป็นปัจ
มหาวิทยาลัยนเรศวร เชิญเข้ารับการอบรมพร้อมส่งมะยงชิด และมะปรางหวานเข้าประกวด 🍋🍋🍋🍋🍋🍋🍋🍋🍋🍋🍋 โครงการอบรมเรื่อง “การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับไม้ผลเขตภาคเหนือตอนล่าง : การผลิตมะปรางเชิงการค้า” ครั้งที่ 19 ในวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 เวลา 08.00-16.30 น. 📍ณ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 📍มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥 📌อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ☎️ ติดต่อสอบถาม โทร. 055-963-014
มะยง คนสมัยสุโขทัยเรียกว่า ลำยง ซึ่งกลายพันธุ์มาจากมะปรางพื้นบ้าน และผลจะใหญ่กว่ามะปรางพื้นบ้าน ส่วนรสชาติจะแตกต่างกัน ถ้าหวานมาก เปรี้ยวน้อย จะเรียกว่า มะยงชิด ถ้าหวานน้อยเปรี้ยวมาก จะเรียกว่า มะยงห่าง ถ้าเปรี้ยวอย่างเดียว เรียกว่า กาวาง โดยคุณวิจิตรผู้คร่ำหวอดในด้านการปลูกมะยงชิด บอกว่า จาก 60 สายพันธุ์ ที่สวนได้ปลูกรวบรวมไว้ คัดกรองลักษณะดีด้อย จนเป็นที่แน่ชัดตรงตามพันธุ์แท้ที่ตัวเองต้องการแล้ว จึงไปขอความร่วมมือจากเพื่อนฝูงที่เป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์สถาบันใหญ่ๆ ระดับประเทศ ที่เคยเรียนมาด้วยกันมีเครื่องมือที่ทันสมัย ให้ช่วยตรวจพิสูจน์ DNA มะปราง เพื่อขึ้นทะเบียนพิสูจน์หลักฐาน DNA มะยงชิด โดยจำแนกเป็นมะยงชิด 3 สายพันธุ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ มะยงชิดสายพันธุ์เพชรกลางดง จุดเด่นคือ เป็นพันธุ์เบา ออกผลง่าย ต้านทานโรคและแมลงได้ดีมาก เมื่อนำไปตรวจ ดีเอ็นเอ พบว่า มีเอกลักษณ์จำเพาะพันธุ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากพันธุ์อื่น เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงดีที่สุดตลอดกาล แหล่งกำเนิดอยู่ที่บ้านกลางดง จังหวัดกำแพงเพชร มะยงชิดสายพันธุ์ทูลเกล้า ไปสร้างชื่อเสียงโด่งดังในนามจังหวัดนครนายก เป็นมะยงชิดที่มีชื่อเสียง
นครนายก อีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่น่าสนใจ เหมาะกับการพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง โดยใช้เวลาขับรถจากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 2 ชั่วโมง ก็จะได้เห็นสองข้างทางที่แปลกตาไป จากท้องถนนที่แออัด เปลี่ยนเป็นสองข้างทางที่มองเห็นแต่สีเขียวสบายตา มีน้ำตกมากมาย อาทิ น้ำตกวังตะไคร้ น้ำตกสาริกา น้ำตกนางรอง รวมไปถึงเขื่อนขุนด่านปราการชลที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมวิวเหนือสันเขื่อน สามารถมองเห็นตัวเมืองนครนายก และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ที่สันเขื่อน และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกแล้ว นครนายกยังอุดมไปด้วยสวนไม้ผลนานาชนิด ด้วยพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินทรายและดินเหนียวที่เหมาะกับการทำนา ทำสวนผลไม้ และการอยู่อาศัยเป็นอย่างยิ่ง จังหวัดนครนายกจึงจัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวกรุงไม่ควรพลาด คุณจตุพงษ์ บุญประกอบ หรือ คุณแม็ค ทายาทเจ้าของสวนแม่รวย ผลไม้นครนายก ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ห่างจากเขื่อนขุนด่านปราการชลเพียง 9 กิโลเมตร ที่จัดเป็นอีกหนึ่งสวนที่มากคุณค่า ใครได้มาท่องเที่ยวที่จังหวัดนครน
แม็ค-จตุพงษ์ บุญประกอบ หนุ่มนักเรียนนอก ทายาทเจ้าของสวนแม่รวย ผลไม้นครนายก ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และการบริหาร กลับมาพัฒนาระบบจัดการสวนผสมผสานของครอบครัวให้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการนำระบบ IOT มาประยุกต์ใช้ภายในสวน รวมถึงด้านการตลาดและการแปรรูป และในวันนี้คุณแม็คจะพาทุกท่านมาเยี่ยมชมสวนผสมผสาน เต็มไปด้วยไม้ผลหลากหลาย บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น พร้อมกับแนะเทคนิคการปลูกมะยงชิดยังไง ให้ลูกใหญ่ ผิวสวย ลูกดก #มะยงชิด #เกษตรผสมผสาน #ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ปกติมะยงชิดและมะปรางหวานจะออกดอกตามธรรมชาติในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หรือในช่วงหน้าหนาวและผลสุกพร้อมเก็บขายหรือรับประทานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่ามะยงชิด-มะปรางหวานที่อร่อย ผลใหญ่ รสหวาน ต้องนครนายก ซึ่งเป็นไม้ผลเอกลักษณ์ที่ได้รับขึ้นทะเบียน GI เรียบร้อย สวนมะยงชิดหลายแห่งล้วนมีศักยภาพในการผลิตมะยงชิด-มะปรางหวานได้อย่างคุณภาพ แต่มีอยู่แห่งหนึ่งที่มีความพิเศษตรงได้ค้นพบเทคนิคส่องไฟที่ต้นมะยงชิดทำให้ออกดอกออกช่อติดผลดกได้จำนวนมากขึ้น ทั้งยังมีคุณภาพเหมือนเดิม สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้สวนมะยงชิดหลายแห่งทั่วประเทศนำเทคนิคนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ร.ต.ต. อำนวย หงษ์ทอง หรือที่รู้จักกันว่า “ดาบนวย” ท่านเป็นนายกสมาคมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก แล้วยังเป็นเจ้าของ “สวนนพรัตน์” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก และเป็นเจ้าของเทคนิคส่องไฟต้นมะยงชิดจนมีผลดก แต่ก่อนจะไปรู้ว่าเทคนิคนี้ทำอย่างไร ขอย้อนกลับไปเล่าประวัติการทำสวนมะยงชิด-มะปรางหวานของดาบนวยพอสังเขปก่อน อยากปลูกมาก แต่ทุนน้อย ค่อยเรียนรู้จนสำเร็จ ดาบนวยเร
มะยงชิด ผลไม้ขึ้นชื่อจังหวัดนครนายก หากใครได้ลิ้มลองรสชาติ เป็นอันต้องติดใจ ด้วยลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนที่อื่น ทั้งขนาดของผลที่ใหญ่ สีของเปลือกและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมะยงชิด ของที่นี่มีชื่อเสียงกลายเป็นซิกเนเจอร์ของจังหวัด ที่ใครมาแล้วต้องซื้อกลับ ซึ่งครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านก็ไม่พลาดที่จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับสวนมะยงชิดลุงนวย นับเป็นอีกสวนที่ขึ้นชื่อเรื่องของคุณภาพ และรสชาติของมะยงชิดที่หวานกำลังดี มีอมเปรี้ยวหน่อยๆ รวมถึงขนาดผลใหญ่ ที่ใหญ่เท่าๆ กับไข่ไก่ จนแม่ค้าต้องมานอนเฝ้าขอซื้อถึงสวน คุณอำนวย อินไชยะ (ลุงนวย) ข้าราชการเกีษยณ (เจ้าของสวนมะยงชิดลุงนวย) อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนมะยงชิด ตนทำงานรับราชการเป็นนายช่างสมุทร อยู่กรมพัฒนาที่ดินมาก่อน งานสวนถือเป็นเรื่องไกลตัว อาศัยความมีใจรัก ระหว่างรับราชการมีโอกาสได้ไปคุมงานตามต่างจังหวัด ก็จะไปเสาะหาพันธุ์ไม้ดีๆ มาปลูกสะสมไว้ ด้วยลักษณะของงานที่ทำค่อนข้างเครียด กลับบ้านก็อยากพักผ่อนได้เห็นสีเขียวๆ เดินดูเพลินๆ ปลูกมาหลายชนิด มาจบสุดท้ายที่มะยงชิด เพร
ร.ต.ต. อำนวย หงษ์ทอง หรือที่รู้จักกันในนาม “ดาบนวย” เจ้าของ “สวนนพรัตน์” จังหวัดนครนายก ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่า การติดหลอดไฟ LED ขนาด 40 วัตต์ (W) เปิดให้แสงสว่างตั้งแต่ 6 โมงเย็น จนถึงเช้า กิ่งที่ถูกแสงไฟถูกกระตุ้นให้เร่งออกช่อดอกเร็วกว่าปกติ (ฤดูฝน) ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ต้นมะปรางจะมีช่อดอกประมาณช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ต่อมา สมาคมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายกจึงแนะนำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกใช้หลอดไฟติดตรงต้นมะปรางเพื่อให้ออกลูกดก เกษตรกรหลายรายทดลองนำไปใช้ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน เพราะต้นมะปรางและมะยงชิดออกช่อติดดีมาก ติดเกือบจะทุกกิ่ง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรทั่วประเทศที่ปลูกมะปราง มะยงชิด แห่ติดแสงไฟกันอย่างแพร่หลาย สวนมะยงชิด GI คุณทองหล่อ แดงอร่าม โทร. 087-042-5041 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ในอดีตผู้ใหญ่ทองหล่อ ทำนาเป็นพืชเชิงเดี่ยว มีรายได้เพียงปีละครั้ง ต่อมาประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำใช้ในภาคเกษตร จึงหันปรับเข้าสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ มีสระน้ำประจำไร่นา พร้อมทำเกษตรแบบพอเพียง ปลูกพืชผสมผสาน เช่น ทำสวนมะยงชิด ปลูกผักกูด เงาะ กระท้อน เลี้ยงปลา ฯลฯ ทำให้มีรายได้หมุนเว