สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)“ งานแสดงผลงานวิจัยระดับชาติที่จัดมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ทศวรรษ และปีนี้เป็นปีที่ 20 แห่งความภาคภูมิใจ นำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงสู่การพัฒนาประเทศในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “Research for All : เชื่อมต่ออนาคตไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม” โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “Research for All : พลิกโฉมอนาคตไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม“ พร้อมนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวต้อนรับ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติในปีนี้ วช. มีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนองานวิจัยในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ลดช่องว่างระหว่างนักวิจัยกับประชาชนทั่ว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ แถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)” จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Research for All เชื่อมต่ออนาคตไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปีนี้ครบ 2 ทศวรรษของงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ โดยเป็นปีที่ 20 นับจากการจัดงานครั้งแรกตั้งแต่ปี 2549 งานดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพัฒนารูปแบบ นวัตกรรมและการจัดการต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน คือ ประชาคมวิจัยซึ่งเป็นพันธมิตรที่มาจากทุกหน่วยงานในระบบวิจัย ทั้งนี้ วช. คาดหวังตั้งแต่ในปีแรกของการจัดกิจกรรมที่จะให้งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติเป็น “งานของทุกคนในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ที่จะได้นำผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรมของนักวิจัยไทยที่ได้มีการสะสมองค์ความรู้ ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี ความพร้อมของตัวชุดข้อมูล และระบบต่างๆ ที่เป็นความสำเร็จของการทำงานมานำเสนอผ่านเวทีระดับชาติ “ส
ผลกระทบจากภาวะโลกรวน ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ลมฟ้าอากาศและฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปีนี้ผลไม้หลายชนิด เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ลำไย มะละกอ เงาะ มังคุดฯลฯ ออกมาพร้อมกันทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับประทานผลไม้อื่นๆ ประกอบกับปีนี้ มะม่วงออกลูกดกมากจนล้นตลาด ส่งผลให้ มะม่วงน้ำดอกไม้ ที่เคยขายได้ในราคาสูง ก็ปรับราคาลดลง บางแผงในตลาดไท ตั้งราคาขายถูกมาก เฉลี่ย กก.ละ 1-2 บาทเท่านั้น ทำให้เกษตรกรต่างขาดทุนกันทั่วหน้า เพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม “ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” ท่ามกลางวิกฤตผลไม้ล้นตลาด ราคาตกต่ำ มะม่วงส่วนใหญ่แทบขายไม่ได้ราคา แต่ มะม่วงมหาชนกกลับรอดได้เพราะมีนวัตกรรม“ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” หรือกัมมี่มะม่วง เป็นตัวช่วยยกระดับราคา “ ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5ปีก่อน มะม่วงมหาชนกเป็นมะม่วงที่ไม่มีใครสนใจเลย ราคาต่ำมากแค่กก.ละ5-10 บาท แต่ราคาหน้าโรงงานในปีนี้ อยู่ที่ กก ละ 50 บาท เพราะมีนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มมะม่วงในรูปแบบ “ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” เราถ่ายทอดนวัตกรรมให้บริษัทคันนา จำกัด นำไปผลิตและจำหน่าย ปรากฎว่า สินค้าขายดีทั้งในไทยและต่างประเทศ จนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2568 ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สำหรับเยาวชนระดับโลก REGENERON ISEF 2025 (Regeneron International Science and Engineering Fair 2025) จัดโดย Society for Science ซึ่งเป็นเวทีการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ส่งทีมเยาวชนไทย จำนวน 14 ทีม เข้าร่วมชิงชัยกับทีมเยาวชน 66 ประเทศทั่วโลก ราว 1,700 คน ในระหว่างวันที่ 10 – 16 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการแข่งขันฯ ปรากฏว่า รร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ คว้ารางวัลที่ 1 สาขาเทคโนโลยีส่งเสริมศิลปะ กับ โครงงาน“ไอเบรลล์ : การปฏิรูปการศึกษาเบรลล์อย่างเป็นระบบด้วย AI และเทคโนโลยีสัมผัสต้นทุนต่ำ เพื่อสังคมแห่งความเท่าเทียมที่
นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนายาสีฟันสมุนไพรป้องกันผุ-ลดการเสียวฟัน โดยมีส่วนผสมของเปปไทด์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ล่าสุดคว้า 2 เหรียญรางวัลจากงานแสดงนวัตกรรม ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ พร้อมรางวัลพิเศษจาก French Federation of Inventors นครราชสีมา – ดร.ศิริวรรณ ณะวงษ์ หัวหน้าส่วนวิจัยด้านอาหารและการเกษตร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้มีส่วนร่วมกับ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนายาสีฟันสมุนไพร 2 สูตร ได้แก่ ยาสีฟัน Nature’s Touch ที่เสริมสร้างเคลือบฟันและป้องกันฟันผุด้วยกรดอะมิโนและเปปไทด์จากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ และยาสีฟัน Hi-Herb ที่ป้องกันการเสียวฟันด้วยกรดอะมิโนและเปปไทด์จากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยได้ใช้เทคนิคแสงซินโครตรอนศึกษาประสิทธิภาพของยาสีฟันทั้งสองสูตร” “ในการศึกษาประสิทธิภาพยาสีฟัน Nature’s Touch ที่เสริมสร้างเคลือบฟันและป้องกันฟันผุนั้น ทีมวิจัยได้ใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปีจากแสงซินโครตรอนติดตามการทำงานของกรดอะมิโนและเปปไทด์ในการยึดติ
27 เมษายน 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้แผนงาน “งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ”และแผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเด็น ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับสภาลมหายใจในพื้นที่ภาคเหนือ โดย ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญ ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เป็นประธานฯ พร้อมด้วย ดร.เจน ชาญณรงค์ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และนายประลอง ดำรงค์ไทย กรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญดังกล่าว และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ วช. และ สวก. ซึ่งมีผู้แทนจาก วช. ได้แก่ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยการกลุ่มขั
วช. และเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี นำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่ภาคตะวันออก โดยการอบรมเสริมทักษะและสมรรถนะเยาวชน นำเทคโนโลยีโดรน ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยว สืบสานเทศกาลงานประเพณีกองข้าวศรีราชาและสงกรานต์ศรีมหาราช เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาคตะวันออก” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีนายยุทธนา ใจดี รองปลัดเทศบาลเมืองศรีราชา กล่าวสนับสนุนและต้อนรับ พร้อมผู้บริหารในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และคณาจารย์เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย อาจารย์นิรันดร์ พิทักษ์มงคล รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา, อาจารย์พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และผู้บริหารของจังหวัด ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง วช