สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
นายชัฐพล สายะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพรอบที่ 1 ปี 2565 โดยล่าสุดคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้ติดตามข้อมูลการพยากรณ์ไม้ผลตะวันออก ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (จันทบุรี ระยอง ตราด) คาดว่าจะมีประมาณ 1,139,393 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 900,126 ตัน (เพิ่มขึ้น 239,267 ตัน หรือร้อยละ 27) เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวย ช่วงปลายปี 2564 เริ่มหนาวเย็นเร็ว ส่งผลต่อการออกดอกติดผลของไม้ผล ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนกันยายน 2565 ซึ่งผลผลิตจะออกชุกช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 สำหรับเนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 779,391 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 743,593 ไร่ (เพิ่มขึ้น 35,798 ไร่ หรือร้อยละ 5) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 ส่วนลองกอง ลดลงร้อยละ 5 เงาะ ลดลงร้อยละ 3 และมังคุด ลดลงร้อยละ 1 เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนมากขึ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทย่อยเกษตรแปรรูป ปีงบประมาณ พ.ศ. วัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนมีการสนับสนุนต่อยอดไปสู่สินค้าเกษตรขั้นสูงที่มีคุณค่าเฉพาะ และผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง กำหนดจำนวนเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ 2564 เป้าหมาย 2,030 ราย ให้มีการส่งเสริมสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ภายในระยะเวลา 5 ปีแรก (ตั้งแต่ปี 2561 – 2565) โดยมีกรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมการข้าว เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก จากการติดตามของ สศก. พบว่า การดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทย่อยเกษตรแปรรูป สามารถดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ 2,058 ราย (ร้อยละ 101 ของเป้าหมาย) โดยจากการสำรวจตัวอย่าง เกษตรกร 64 ราย และผู้ประกอบการ 44 ราย ในพื้นที่ 20 จังหวัด เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ ส่งผลให้มูลค่าสินค้าแปรรูปเพิ่มขึ้นในภาพรวม มากกว่า 80 บาท/กิโล
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการให้บริการสินค้าเกษตร ผ่านเส้นทางรถไฟลาว – จีน ซึ่งจะมีการเปิดตัวเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ ในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความพร้อมและสามารถรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในการส่งออก – นำเข้าสินค้าเกษตรได้ทันที หากรัฐบาลจีน และสปป.ลาว เปิดให้ใช้เส้นทางรถไฟลาว – จีน อย่างเป็นทางการ สำหรับขบวนปฐมฤกษ์ ซึ่งจะเปิดใช้เส้นทางรถไฟลาว – จีน ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 นั้น ในส่วนของการขนส่งสินค้า ระยะแรก จะให้บริการเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น เน้นเฉพาะรูปแบบสินค้าเทกองของบริษัทจากจีนที่เข้าไปลงทุน ใน สปป.ลาว เช่น ยางพารา มันสำปะหลังแห้ง เกลืออุตสาหกรรม และสินแร่ เป็นต้น โดยขณะนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าเกษตรที่ยังไม่สามารถนำเข้าไปยังจีนผ่านด่านรถไฟโม่ฮาน 8 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น ธัญพืช ผลไม้ สัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ต้นกล้า ไม้ซุง และสินค้าสัตว์และพืชที่มีความเสี่ยงสูง
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ซึ่งเป็นโครงการสำคัญภายใต้แผน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 31 ธ.ค. 64 วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสม และยกระดับการผลิตสินค้าคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยกลุ่มแปลงใหญ่ เสนอโครงการและแผนการใช้งบประมาณเพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร อุปกรณ์การเกษตร ปัจจัยการผลิต ตามความต้องการของกลุ่ม จำนวน 3,379 แปลง ดำเนินการใน 70 จังหวัด งบประมาณ 9,355.73 ล้านบาท ในการนี้ สศก. โดยศูนย์ประเมินผล และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ร่วมกันติดตามประเมินผลโครงการ พบว่า ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มแปลงใหญ่ทั้ง 3,379 แปลง ได้รับงบประมาณเพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร และปัจจัยการผลิตครบทั้ง 3,379 แปลง โดยมีกลุ่มแปลงใ
นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ห้อม” เป็นสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดแพร่ โดยจังหวัดได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “ห้อมแพร่สู่ห้อมโลก” จึงมีแนวทางในการดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านส่งเสริมการปลูก ด้านการผลิตและแปรรูป ด้านการตลาด และด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ห้อมแพร่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศภายในปี 2567 ปัจจุบันจังหวัดแพร่เป็นแหล่งผลิตห้อมที่สำคัญอันดับ 1 ของภาคเหนือ เนื่องจากห้อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ปลูกที่มีอากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง แสงรำไร และใกล้แหล่งน้ำ สำหรับห้อมเป็นพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้าหม้อห้อม โดยย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งไม่ทำให้เกิดผู้สวมใส่เกิดอาการแพ้โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ และเมื่อนำห้อมเปียกมาย้อมเป็นผ้าจะมีกลิ่นหอม สีเป็นสีธรรมชาติ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้ ห้อมยังเป็นสมุนไพร ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบรรเทาไข้ได้ด้วย ด้านสถานการณ์ผลิตห้อมของจังหวัดแพร่ ปี 2564 พบว่า
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ในภาคการเกษตร พร้อมกล่าวในพิธีการลงนาม ถึงความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กับทางกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) ลงนามโดย นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามโดย นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ลงนามโดย นางสาวธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หรือ สวข. ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 4 หน่วยงาน ได้ร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตร ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการพัฒนาแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านข้อมูลเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลภาคเกษตรให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติ สามารถนำไปวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูลสำหรับบริการแก่เกษตรกร หน่วยงา
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการทำเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดำเนินการถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดการน้ำ จัดการฟาร์ม การทำบัญชีครัวเรือน และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืช ปศุสัตว์ และประมง จากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานมีการประเมินศักยภาพเกษตรกรและจัดกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณาจากข้อมูลแหล่งน้ำ ที่ดิน แรงงาน และพฤติกรรมของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A คือ เกษตรกรที่สามารถพัฒนาตนเองสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และสามารถเป็นต้นแบบได้ กลุ่ม B คือ เกษตรกรที่มีแนวโน้มจะประสบผลสำเร็จในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และเป็นเกษตรกรที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถเป็นเก
วันนี้ ( 29 ก.ย.64) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นร่วมกัน ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) และหน่วยงานภาคีภาครัฐและเอกชน รวม 9 หน่วยงาน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภาคการเกษตรบางภาคของไทย เกษตรกรยังเผชิญกับปัญหาหลายประการ ทั้งการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงปัญหาการค้าระหว่างประเทศ จากการเจรจาการเปิดการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทวิภาคี พหุภาคี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกษตรกรประสบอยู่ จึงได้ดำเนินการแก้ปัญหาภาคเกษตรในหลายมิติ อาทิ สนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกการใช้เทคโนโล
“ไผ่เลี้ยงทะวาย” หรือ “ไผ่สะดิ้ง” ซึ่งเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลย โดยไผ่เลี้ยงที่นิยมปลูกเพื่อบริโภคและจำหน่ายในปัจจุบันมี 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปกติ และพันธุ์ทะวาย โดยพันธุ์ปกติ จะออกหน่อในฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่วนพันธุ์ทะวายหรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไผ่สะดิ้ง จะสามารถออกหน่อได้ตลอดทั้งปี สำหรับไผ่พันธุ์ทะวาย เป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย ตลาดมีความต้องการมาก สามารถขายได้ทั้งในรูปหน่อสดและนำมาแปรรูป เช่น หน่อไม้ดองทั้งหน่อ หรือดองในรูปหน่อไม้สับ นอกจากนี้ การปลูกไผ่เลี้ยงทะวายจะไม่มีการใช้สารเคมี เพราะจะทำให้หน่อไม้ตาย ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี “ภูกระดึง” ปลูกไผ่สะดิ้งจำนวนมาก จังหวัดเลย มีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม น้ำไม่ท่วมขังเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนที่สูงและสามารถเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ จึงเหมาะสมกับการปลูกไผ่ โดยเกษตรกรนิยมปลูก มากที่อำเภอภูกระดึง มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,267 ไร่ คุณช่วย บุตรดาเวียง เกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้ต้นแบบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไผ่ ของสำนักงานเกษตร
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงระบาดในไทยและหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับไทย ยังมีอัตราผู้ติดเชื้อในประเทศสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายต่างเกิดความกังวลนั้น ในส่วนของสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ทาง ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเข้มงวดในมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อของสินค้าเกษตรในทุกกระบวนการให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการกำชับและคุมเข้ม ครอบคลุมในทุกมาตรการ ตั้งแต่มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันสำหรับเกษตรกรในการดูแลตนเอง การทำความสะอาดพื้นที่และสวนเกษตร มาตรการสำหรับผู้ประกอบการสถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) และมาตรการสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร มีการเฝ้าระวัง ตั้งแต่การพ่นยาฆ่าเชื้อตั้งแต่ต้นทางจากสวน จนถึงระบบขนส่ง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร ติดตามกำกับดูแลที่โรงคัด