เกษตรกรดีเด่น
“ปลานิล” ปลาเศรษฐกิจเลี้ยงง่าย โตเร็ว ได้รับความนิยมในทุกระดับ ปลานิลสามารถนำมาแปรรูปได้หลายประเภท ปัจจุบันมีการส่งออกปลานิลไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นิยมบริโภคปลานิลกันอย่างแพร่หลาย จุดเด่นของปลานิลอยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณปลานิลมีมากพอที่จะส่งขายตลาดพื้นบ้านและตลาดต่างประเทศ ในราคาที่ไม่สูงมากนัก ปลานิลจึงเป็นขวัญใจของคนทุกระดับ ที่จังหวัดกาญจนบุรี จากหน้าศาลากลางจังหวัดเลี้ยวซ้ายผ่านศาลจังหวัด ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองแล้วเลี้ยวซ้ายอีกทีเลาะไปตามแม่น้ำขึ้นไปทางตะวันออกประมาณ 3 กม. จะถึงกระชังปลานิลลอยอยู่ในแม่น้ำแม่กลองเป็นจำนวนมาก จัดว่าเป็นฟาร์มปลานิลใหญ่ที่สุดของเมืองกาญจน์ และของประเทศก็ว่าได้ ฟาร์มปลานิลในกระชังเหล่านี้เป็นของ คุณเทียมศักดิ์ สง่ากชกร อดีตกำนันตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จากการเลี้ยงโคนม “กำนันเทียมศักดิ์” ผันชีวิตมาทำฟาร์มปลานิลเลี้ยงปลาในกระชังที่แม่น้ำแม่กลอง เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก “กำนันเทียมศักดิ์” เล่าถึงที่มาแต่หนหลังก่อนจะมาเลี้ยงปลานิลในกระชังว่า เมื่อก่อนทำฟาร์มเลี้ยงโคนม
“แรกๆ ใครก็หาว่าบ้า มีที่ดินดีๆ เอามาปลูกสวนป่า ปลูกไปเมื่อไรจะโต เชื่อสิยังไงก็ไปไม่รอด” คำพูดเหล่านี้ “คุณธวัลรัตน์ คำกลาง” หญิงแกร่งคนนี้ ไม่เคยลืม แต่ ณ ปัจจุบัน คำพูดสบประมาทเหล่านี้ ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง หากคนเรามุ่งมั่นและมีแบบแผน อย่างไรแล้วความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล คุณธวัลรัตน์ คำกลาง เกษตรกรดีเด่น ปี 2561 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เล่าถึงจุดเริ่มต้นของกิจการสวนป่าแห่งนี้ว่า เดิมที พ่อกับแม่ของเธออพยพมาจากอำเภอสูงเนิน แล้วมาได้งานเฝ้าสวนที่ตำบลวังกะทะ ต่อมาเจ้าของที่ต้องการย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจึงเอ่ยปากขายที่ให้กับพ่อแม่ของเธอ พ่อแม่ของคุณธวัลรัตน์ตัดสินใจซื้อที่ดินเนื้อที่ 100 ไร่แบบผ่อน โดยนำมาแบ่งสันปันส่วนที่ดินให้คุณธวัลรัตน์และพี่น้องอีก 6 คน ทุกคนช่วยกันผ่อน คุณธวัลรัตน์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมา 24 ไร่ เพื่อนำมาปลูกป่าที่ตนเองรัก คุณธวัลรัตน์เริ่มปลูกสวนป่าเพราะความชอบ ไม่ได้คิดอะไร เพราะเธอเป็นคนชอบป่า ชอบสีเขียว ชอบความสงบของป่าตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อมีพื้นที่เป็นของตัวเองจึงไม่ลังเลที่จะปลูกพืชอะไรก็ได้ที่เป็น
เกษตรแปลงใหญ่-วิสาหกิจชุมชน-ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร-ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนดีเด่นระดับประเทศปี 2566 พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้และขยายผลความสำเร็จสู่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป หลังเข้ารับรางวัลชนะเลิศจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จัดพิธีมอบโล่และเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัลให้เกษตรกรต้นแบบ ที่มีผลงานดีเด่นระดับประเทศ ในประเภทต่าง ๆ ประจำปี 2566 ประกอบด้วย 1.แปลงใหญ่ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 รางวัลชนะเลิศได้แก่แปลงใหญ่โคนม สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด ตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม มีนายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช เป็นประธาน 2.วิสาหกิจชุมชน ดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2566 รางวัลชนะเลิศได้แก่ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ มีนายวันนา บุญกลม เป็นประธานเครือข่ายฯ 3.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 รางวัลชนะเลิศได้แก่ ศพก.อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีนายอรุณ ขันโคกสูง เป็นประธาน 4.ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 รางว
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในแต่ละปีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดให้มีการประกวดผลงานของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่น และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับชาติ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น ควรแก่การเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์รายอื่นได้พัฒนาอาชีพและการทำงานตาม โดยเกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกร ผู้แทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทุกปี สำหรับปี พ.ศ. 2566 จะตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแสดงความยินดีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 ทุกท่าน ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคัดเลือก จำนวน 8 สาขา ซึ่งมีผลงานดีเด่น ดังนี้ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม เกษตรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวน ประจำปี พ.ศ. 2566 จังหวัดอุดรธานี เปลี่ยนจากอาชีพรับจ้างในกรุงเทพ มาทำสวนกล้วยหอมทอง โดยใช้เทคโนโลยี จนได้ผลผลิ
คุณโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือก “เกษตรกรดีเด่นสาขาบัญชีฟาร์มระดับประเทศ” เป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาเกษตรกรที่มีผลงานทางการเกษตรดีเด่นและได้นำ “บัญชี” มาปรับเปลี่ยนชีวิตตนเองและชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจยกย่องเชิดชูประกาศเกียรติคุณของเกษตรกรดีเด่น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้พิจารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์มระดับประเทศ ประจำปี 2564 ได้แก่ คุณสำรวย บางสร้อย เกษตรกรจากจังหวัดร้อยเอ็ด อายุ 53 ปี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 12 บ้านสวนปอ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพทำไร่นาสวนผสม โดยประสบความสำเร็จจากการจดบันทึกบัญชีอย่างต่อเนื่องและนำข้อมูลทางบัญชี มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิตทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ จนสามารถสร้างรายได้และลดต้นทุน รวมถึงสามารถชดใช้หนี้สินให้น้อยลงและมีฐานะที่มั่นคงมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายคนทำบัญชีและการเกษตรในชุมชน เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการจดบันทึกบัญชีและด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรในชุมชนนำไปปฏิบัต
คุณวีนัด สำราญวงศ์ จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่มีผลงานโดดเด่นในเรื่องการปลูกดูแลอ้อยตอ ที่ขยายผลผลิตนับสิบปี แนวคิดในการทำอ้อยอย่างยั่งยืนคือ ตัดอ้อยสดส่งขายโรงงานน้ำตาลโดยไม่มีการเผาใบอ้อย เพื่อลดโลกร้อน รักษาระบบนิเวศในไร่อ้อย อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ให้อยู่ในสภาพธรรมชาติ นอกจากนี้ มุ่งรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยตัดอ้อยสด ตัดใบอ้อยทิ้งในแปลง และการฉีดน้ำหมักปุ๋ยยูเรีย ช่วยเร่งการย่อยสลายของใบอ้อยทุกปี ทำให้ดินมีความชื้น มีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ตออ้อยที่ 4 ไม่ต้องปลูกอ้อยใหม่ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถลดต้นทุนการผลิตในการเตรียมดิน ค่าปลูก ค่าพันธุ์อ้อย ค่ากำจัดวัชพืช และค่าปุ๋ยที่เกินความจำเป็น การตัดอ้อยสด นอกจากได้ค่าขายต้นอ้อย และค่าความหวานเพิ่ม ซีซีเอส (CCS.) ทางโรงงานน้ำตาลยังให้เงินเพิ่มจากการตัดอ้อยสด ตันละ 30-50 บาท ทำให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้น คุณวีนัด ตั้งใจเลี้ยงอ้อยไว้ตอนานอย่างยั่งยืน โดยไม่นำรถตัดอ้อยซึ่งเป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่เข้าในแปลงอ้อย เพื่อไม่ให้ตออ้อยถูกทำลายและดินแน่นจนเกิดดินดาน สามารถไว้ตอได้นานหลายสิบปี โดยให้ผลผ
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นประจำทุกปี โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่าง ปี 2564 คุณวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง เห็นถึงความสำคัญของโครงการและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ แก่เกษตรกร จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ประจำปี 2564 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจให้เกษตรกรทุกคน ร.ต.ท. ธีรวุฒิ คุ้มพานิช อดีตข้าราชการตำรวจ ที่หันเหชีวิตมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ตามความใฝ่ฝันในวัยเด็ก “ผมเป็นลูกชาวนา เติบโตมาในครอบครัวชาวนา หาปลา ปลูกผัก ปลูกหญ้า พอได้กิน เหลือก็แบ่งปัน อยู่กับธรรมชาติ” ทำตามความฝัน
เกษตรกรไทยจำนวนมากเคยชินกับปลูกพืชเชิงเดี่ยว บางรายมีที่นาในเขตชลประทานก็ปลูกข้าวนาปี ทำนาปรังหมุนเวียนติดต่อกันในพื้นที่เดียวกันตลอดปี หากปีไหน ฝนดี ราคาข้าวดี ก็มีรายได้ก้อนโต แต่ปีไหน เจอฝนแล้ง น้ำท่วม ข้าวล้นตลาด ก็มีรายได้ติดลบ บางรายขาดทุนแทบหมดกระเป๋า คุณสุรชัย สุขพร้อม หนุ่มชาวนา อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 8 ตําบลบางแม่นาง อําเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เจอทางรอดจากวิกฤตพืชเชิงเดี่ยวเพราะได้รับโอกาสจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางใหญ่เข้าอบรมความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงที่ดินทำกิน ให้กลายเป็นไร่นาสวนผสม เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงทางการตลาด มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี ทำให้เขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น ประเภทไร่นาสวนผสมประจำปี 2563 ของจังหวัดนนทบุรีอีกด้วย พลิกชีวิต ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คุณสุรชัย กล่าวว่า เมื่อก่อนตนเองทำไร่นาแบบเชิงเดี่ยว ได้มีโอกาสเดินทางกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางใหญ่ไปศึกษาดูงาน โครงการส่วนพระองค์ จึงเกิดแนวคิดทำไร่นาสวนผสม โดยยึดหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง จากเดิมใช้พื้นที่ทำไร่นาเพียงอย่างเด
การเลือกประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชาวบ้านที่แม่ฮ่องสอน ไม่ว่าจะปลูกพืชไม้ผลนานาชนิดล้วนแต่ต้องถูกกำหนดให้เป็นไปตามลักษณะภูมิประเทศที่บ้านเรือนตั้งอยู่บนภูเขาน้อย-ใหญ่ มีพืชหลักที่ปลูกกันเป็นประจำ ได้แก่ ข้าว กระเทียม ขิง กาแฟ ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี ถั่วลิสง ตลอดจนผักสวนครัวบางชนิด ส่วนประมงไม่สามารถทำได้เต็มที่ นอกจากจับสัตว์น้ำจากแหล่งธรรมชาติมาบริโภค หรือหาซื้อตามตลาดที่นำมาจากพื้นที่นอกจังหวัด ฉะนั้น รายได้ของชาวบ้านที่เกิดขึ้นจึงต้องรอเก็บผลผลิตในแต่ละช่วงฤดูเท่านั้น ถ้าปีไหนฟ้าฝนดี อากาศดี ราคาก็ดี แต่หากปีไหนเกิดปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ผลผลิตเสียหาย ขายได้ราคาต่ำ รายได้ก็ไม่แน่นอน นั่นย่อมส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามมา แต่สิ่งเหล่านั้นคงไม่เป็นปัญหาต่อ คุณเขื่อง วิลัย อยู่บ้านเลขที่ 17/1 หมู่ที่ 4 บ้านป่าฝาง ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเป็นชาวบ้านที่มีแนวคิดการทำเกษตรกรรมต่างจากคนอื่น ด้วยการนำวิธีทำสวนเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทำเกษตรของตัวเอง เน้นปลูกพืชอายุสั้นเป็นหลัก แล้วยังทำนาพร้อมเลี้ยงปลาในนาข้าว รว
จระเข้ กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับผู้ผลิต และส่งออก ทั้งเนื้อและหนัง เรียกได้ว่าทั้งตัวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมด นอกจากนี้ ยังสามารถเพาะเลี้ยงทำการฝึกจนเชื่องสามารถนำมาจัดแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ ซึ่งฟาร์มลักษณะนี้อยู่หลายแห่งทั่วโลก หากจะกล่าวถึงฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ ในบ้านเรา ปัจจุบัน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งฟาร์มขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า เนื่องจากทุกส่วนของจระเข้สามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับอนุญาติให้ทำการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ทุกชิ้นส่วนของจระเข้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เลี้ยงโดยเฉพาะหนังที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตผลิต อาทิเช่น รองเท้า เข็มขัด กระเป๋า เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั่วโลก ดังนั้น ผู้ที่เพาะเลี้ยงจระเข้จำหน่ายจึงค่อนข้างจะมีรายได้มากกว่าอาชีพเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำอื่นๆ ดังเช่น ร้อยเอกนายแพทย์ปัญญา ยังประภากร ทายาทฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ด้วยประสบการณ์ด้านจระเข้ที่สั่งสมมานาน ประกอบกับความสนใจในการศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์ ในปี 2538 รอ.นพ. ปั