เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ
นายสุนทร มีจำนงค์ เกษตรกรวัย 70 ปี จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวคิดริเริ่ม “ฝากเงินไว้กับต้นไม้” ภายใต้แนวคิดว่า “ต้นไม้” คือ “สินทรัพย์” ประเภทหนึ่ง การปลูกต้นไม้ ช่วยสร้างรายได้และเงินออมระยะยาว ทั้งเป็นบำเหน็จบำนาญยามสูงวัย และเป็นมรดกแก่ลูกหลานได้ ลงทุนทำสวนป่าไม้โตเร็ว ภายใต้แนวคิด “ขายแล้วซื้อใหม่” นายสุนทรใช้เงิน 640,000 บาท ลงทุนปลูกยูคาลิปตัสบนเนื้อที่ 300 ไร่ ในพื้นที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อต้นไม้โตจึงขายที่ดินพร้อมต้นยูคาลิปตัส ในราคา 9 ล้านบาท จากนั้นย้ายถิ่นฐานไปซื้อที่ดินแห่งใหม่ในพื้นที่อำเภอเดชอุดม เพื่อปลูกสวนป่าแบบวนเกษตร ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยปลูกผสมผสานทั้งไม้ป่า พืชเกษตรและทำปศุสัตว์ นายสุนทรแบ่งพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วคือ ไม้ยูคาลิปตัส พร้อมปลูกไม้โตช้า เช่น สัก ประดู่ พะยูง ยางนา ฯลฯ เพื่อเป็นการออมเงินกับต้นไม้ เมื่อไม้เติบโตได้ขนาดที่เหมาะสมสามารถขายสร้างรายได้แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเกษตรที่ราคาไม่แน่นอนอีกด้วย หลักการดูแลจัดการสวนป่า นายสุนทรแบ่งพื้นที่ สร้างสวนป่าเพื่อการอนุรักษ์ และสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ โดยลงทุนปลูกยูคาลิปตัส
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตรโดยในปี 2568 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2568 ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ประกอบด้วย ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ ดังต่อไปนี้ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2568 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ร้อยตรี สุรชัย บุญคง จังหวัดปราจีนบุรี 2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสวง คุ้มวิเชียร จังหวัดนครปฐม และ 3) สาขาปราชญ์เกษตรผู
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นประจำทุกปี เพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณะ โดยปีนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคือ นายพินิจ แก้วพิมาย ซึ่งจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง สืบสานอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากบรรพบุรุษชาวไทคอนสาร นายพินิจสนใจอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพราะต้องการสืบทอดภูมิปัญญาคนไทคอนสาร และสืบทอดอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจากบรรพบุรุษ และมีแนวคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทำให้ครอบครัวไม่ต้องไปทำงานที่อื่น และเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นายพินิจช่วยมารดาเลี้ยงไหมตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนกระทั่งอายุ 20 ปี หลังแต่งงานก็หันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าเองมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเป็นคนชอบงานลักษณะนี้ จึงหาวิธีการสาวไหมให้ได้เส้นไหมสวยที่มีขนาดสม่ำเสมอ เรียบ สะอาด มีสีสดใส เพื่อพัฒนาต่อยอดในการผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ ผลิตผ้าไหมด้วยไหมพันธุ์ไทยพื้น
ในแต่ละปีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดให้มีการประกวดผลงานของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่น และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับชาติ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรรายอื่นได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและการปฏิบัติงาน โดยปีนี้ เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 9พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ซึ่งในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศยกย่อง “ คุณสวง คุ้มวิเชียร ” ในฐานะปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นประจำปี 2568 เนื่องจากคุณสวง เป็นเกษตรกรต้นแบบที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อันยาวนานในด้านการเพาะพันธุ์กล้วยไม้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ คุณสวง คุ้มวิเชียร ผู้ก่อตั้ง “ แอร์ออร์คิดส์&แลบ ” คุณสวง คุ้มวิเชียร มีจุดเริ่มต้นจากการทำฟาร์มกล้วยไม้ตัดดอกส่งขายในประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2538 มีการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง “ แอ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคล เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีด้วย เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้รับรางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2568 เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ได้ลงนามประกาศรับรองมติคณะกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อแต่งตั้งบุคคลเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2568 จำนวน 3 สาขา ดังนี้ 1.ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาข
หลังหมดฤดูการเก็บเกี่ยว ก็ถึงช่วงเวลาตัดแต่งกิ่งลำไย เป็นการจัดการต้น ตัดกิ่งเสีย กิ่งทำมุมไม่ดี เพื่อให้ภายในทรงพุ่มโปร่ง ไม่เป็นที่อาศัยของแมลง สะดวกในการดูแลรักษา ให้ทุกยอดได้รับแสงอย่างเต็มที่ และสงเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเตรียมต้นลำไยให้คืนสู่สภาพสมบูรณ์ พร้อมออกดอกในปีต่อไป ขั้นตอนนี้ เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ต้นลำไยมีผลโต รสชาติดี ตามที่ตลาดต้องการ คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของสวนแสนไชย ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน เป็นผู้คร่ำหวอดกับวงการปลูกลำไยมานานมาก จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2563 และได้รับการประกาศเกียรติคุณปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ระดับจังหวัด ประจำปี 2558 คุณนิโรจน์เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ชอบคิดอะไรใหม่ๆ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การดูแลจัดการสวนลำไยได้สะดวกสบายมากขึ้น เช่น ช่วงที่ต้นลำไยออกดอกในฤดูเยอะมาก ก็ต้องตัดกิ่งทิ้งบ้าง คุณนิโรจน์ใช้เครื่องตัดหญ้าสายสะพายแบบข้ออ่อน โดยเปลี่ยนจากใบมีดเป็นใบเลื่อย สามารถตัดแต่งกิ่งได้รวดเร็วทันใจ และแผลสวยอีกต่างหาก ผู้สนใจสามารถชมการทำงานของสิ่งประดิษฐ์นี้ได้ทางเพจ : Suan Sanchai
“สุริยา ห่วงถวิล” เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำไร่ ผู้นำกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน GAP ด้วยนวัตกรรมเกษตร เชื่อมโยงเครือข่าย สร้างตลาดรับซื้อที่แน่นอน กรมส่งเสริมการเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นายสุริยา ห่วงถวิล จังหวัดลพบุรี เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำไร่ ประจำปี พ.ศ. 2567 และเกษตรกรทุกท่านที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2567 นายสุชาติ กลิ่นทองหลาง เกษตรจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า นายสุริยา ห่วงถวิล ผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 สาขาอาชีพพืชไร่ เป็นเกษตรกรที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การดัดแปลงเครื่องมือเก็บและวางสายน้ำหยดในแปลงปลูก ดัดแปลงอุปกรณ์ฉีดพ่นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง ติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยติดตั้งเครื่องหว่านเมล็ดคู่กับผานแปร ประดิษฐ์เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น ส่งผลให้ได้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 58.16 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP และมีการบริหารจัดการด้านการผล
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับประเทศ เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่น ให้เกษตรกรได้เกิดความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการสร้างและพัฒนาผลงานให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติต่อไป โดยเกษตรกรและผู้แทนสถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น จะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัล ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 นี้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า…กรมประมง ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศด้านการประมง เป็นประจำในทุกปี โดยผ่านกระบวนการคัดเลือก ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ เพื่อให้ได้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริง สำหรับผลการคัดเลือกเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติด้านการประมง ประจำปี 2
ถ้าย้อนอดีตไปราว 50-60 ปี ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาสวนมะม่วงเช่นปัจจุบัน ชาวสวนมะม่วงบางคล้า คือแหล่งนักชาวสวนมะม่วงมืออาชีพ หรือแหล่งเพาะเชื้อเซียนมะม่วงที่มีการปลูกมะม่วงเอามาขายในตลาดจนถึงกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จนใครก็รู้ว่า มะม่วงมาจากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา คุณภาพยอดเยี่ยม… แม้แต่สวนนงนุช ในสมัยซื้อที่ดินย่านอำเภอบางละมุงนับพันไร่ ยังไม่โด่งดัง การทำอาชีพไม้ดอกไม้ประดับ ที่คุณโต้ง-กัมพล ตันสัจจา ดำเนินการจนเจริญรุ่งเรืองนั้น อดีต คุณนงนุช ตันสัจจา มีวิสัยทัศน์เห็นว่า ที่ดินของตนเองซื้อมาจะมีต้นมะม่วงพื้นเมืองที่ปลูกด้วยเมล็ดมาก่อนมีติดมาด้วย ถ้าหากนับจำนวนต้นคงจะเป็นพันเป็นหมื่นต้น รวมทั้งมะพร้าวด้วย เห็นว่าควรจะบูรณาการให้ได้ผลผลิตออกมา จึงได้ว่าจ้างเกษตรกรชาวสวนบางคล้า ชื่อ คุณพนัส บุญสว่าง ในฐานะผู้มีความรู้ด้านมะม่วง แทนที่จะว่าจ้างนักวิชาการ หรืออาจารย์ที่มีความรู้ด้านพืชสวนมาดูแล และรักษามะม่วง หลังตกลงแล้ว คุณพนัส เล่าให้ฟังว่า เข้าไปดูแลด้านผลผลิต โดยคุณนงนุชตั้งให้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญมะม่วง ให้ความรู้แก่คนงานที่จ้างไว้ในแปลงที่ดินนับพันไร่ โดยคุณพนัสจะชี้ไปที่
นายพัด ไชยวงค์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2565 และประธานศูนย์ข้าวชุมชนนาแปลงใหญ่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้เริ่มต้นอาชีพทำนาในปี 2535 ช่วงแรกยังเน้นการทำนาแบบใช้สารเคมี ต่อมาในปี 2551 ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนมาทำนาธรรมชาติจนถึงปัจจุบัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำงานภายใต้แนวคิด ทำการเกษตรแบบยั่งยืน เพิ่มพูนผลกำไร รักษาระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายพัด กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีพื้นที่รวม 38 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 20 ไร่ ที่เหลืออีก 18 ไร่เป็นที่อยู่อาศัย และไร่นาสวนผสม โดยการทำนาจะเน้นแบบประณีต มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ และมาตรฐานของผลผลิต ขณะนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานข้าว GAP จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอยู่ระหว่างขอการรับรองจากกรมการข้าว ทั้งนี้ จะปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง คือ นาปี และนาปรัง โดยเน้นการปักดำ เพื่อให้ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ และลดการระบาดของศัตรูข้าว ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์สันป่าตอง 1 ได้ผลผลิตเฉลี่ย1,051 กิโลกรัม ต่อไร่ ที่ความชื้น 15% นับเป็นปริมาณที่สูงกว่าผลผลิตข้าวเฉลี่ยของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ที่ 61