เกษตรอินทรีย์
เมื่อ 5 ปีก่อน เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภายใต้โครงการสามพรานโมเดล หยุดใช้สารเคมีและหันมาทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เมื่อ 5 ปีก่อน ก็ได้รับกระแสการตอบรับจากผู้บริโภคในวงกว้าง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงหันมาทำเกษตรอินทรีย์ตามกันอย่างกว้างขวาง เพื่อความยั่งยืนของโครงการและสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับเกษตรกรในเครือข่าย ล่าสุด คุณอรุษ นวราช ผู้บริหารสวนสามพราน และเลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ได้พาแกนนำสำคัญกว่า 160 คน ประกอบด้วย ผู้จัดการโครงการ หัวหน้ากลุ่มเกษตร ทายาทคนรุ่นใหม่ของเกษตรกร รวมถึงผู้บริหาร พนักงานของโรงแรม ลงพื้นที่ ศูนย์พันพรรณ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไปร่วมกิจกรรม “เปิดโลก เรียน-รู้ วิถีพึ่งตนเอง กับ โจน จันใด” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา ในวิถีอินทรีย์ และตระหนักในการพึ่งตนเอง ด้วยตัวของเขาเอง คุณอรุษ บอกว่า คุณโจน จันใด เป็นเกษตรกรต้นแบบที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กว่า 14 ปี ที่เขาละทิ้งกรุงเทพฯ กลับไปพิสูจน์ความเชื่อตัวเอง ด้วยการหันมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เริ่มจากลงมือทำนา ปลูกผัก ผลไม้อินทรีย์ พร้อมเก็บเมล็ดพันธุ์ และสร้า
ผลจากสภาวะทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการประกอบเกษตรกรรมในยุคก่อนที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ พอเกิดปัญหาความแปรปรวนทางธรรมชาติจึงสร้างความเสียหายโดยตรงกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทันที ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกับรายได้ในการทำมาหากิน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเคมี สู่อินทรีย์ “สมัย แก้วภูศรี” เกษตรกรต้นแบบ สภาเกษตรกรแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ที่ลำพูน ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมผสานบนเงื่อนไขของความพอเพียง พึ่งพาตนเอง และลดรายจ่าย เมื่อชาวบ้านได้น้อมนำไปปฏิบัติต่างประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้า อีกทั้งบางรายสามารถผลักดันไปสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์แล้วจับมือกับกลุ่มธุรกิจเปิดตลาดเป็นสินค้าออร์แกนิก คุณสมัย แก้วภูศรี หรือ ลุงสมัย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนสองพิมพ์ เลขที่ 45/1 หมู่ที่
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการขยายผลการพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนำ “ยโสธรโมเดล” ซึ่งเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ (Model) ไปพัฒนาต่อยอดการผลิตเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ พร้อมขยายผลไปสู่จังหวัดอื่นที่มีศักยภาพด้านการผลิตเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 10 จังหวัด อาทิ จังหวัดพัทลุง หนองคาย อุบลราชธานี ลำพูน ลำปาง เพชรบูรณ์ สงขลา กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่และชนิดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศมากขึ้น ภายใน ปี 2561 ตั้งเป้าพื้นที่จังหวัดยโสธรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 60,000 ไร่ จากเดิมที่มี ประมาณ 40,000 ไร่ รวมเป็น 100,000 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์กว่า 35,000 ตัน รวมทั้งผลิตผลอินทรีย์อื่นๆ อาทิ แตงโม ผักต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำและไข่ไก่ ป้อนเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังมุ่งขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นปีละไ
สองผัวเมียเกษตรกรสงขลา ยึดเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ 1 ไร่รายได้เดือนละ 5-6 หมื่นบาท ใช้เวลาถึง 14 ปี คุ้มค่ากับการรอคอย ผลผลิตมีราคาสูงกว่าที่จำหน่ายตามท้องตลาดกว่า 1 เท่าตัว รายงานข่าวว่า นายคำนึง สร้อยสีมาก อายุ 48 ปี และนางยุพิน สร้อยสีมาก อายุ 48 ปี สามีภรรยาชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านดีหลวง ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา หันมาประกอบอาชีพทำเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นเกษตรอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดย “ใช้เนื้อที่เพียงแค่ 1 ไร่แต่สามารถมีรายได้ถึงเดือนละ 5-6 หมื่นบาท” โดยภายในแปลงเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ถูกเนรมิตให้เป็นสวนผักที่มีพืชผักเกือบครบทุกชนิดที่นิยมบริโภคและตลาดต้องการ ทั้งผักกินใบและผักสวนครัว พืชสมุนไพร เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักขมแดง ผักขมเขียว โหระพา แมงลัก กระเพา ขิงข่า พริก มะนาว ดอกชมจันทร์ เรียกว่ามีครบจบภายในสวนเดียวและทุกอย่างเป็นผักปลอดสารพิษ ผ่านการรับรองจากกระทรวงเกษตรฯที่ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาตรวจสอบทั้งดิน น้ำ และผล
จากการเปิดเผยข้อมูลของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงผลการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้อินทรีย์ หลายรายการพบสารเคมีตกค้างที่สูงเกินค่ามาตรฐานกำหนด ข้อมูลนี้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก และเมื่อค่ามาตรฐานความปลอดภัย ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ พฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย ก่อนหยิบจับสินค้าใส่ตะกร้าต้องสืบค้นหาข้อมูลให้รู้ชัด มาจากแหล่งไหน รูปแบบการปลูกเป็นอย่างไร มีวิธีการตรวจสอบไหม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทางมูลนิธิสังคมสุขใจ หนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนวิถีเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ สามพรานโมเดล จึงจัดทริปพิเศษ พาลูกค้าตลาดสุขใจสัญจร ที่สนใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ทั้งพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สื่อมวลชน และภาคเอกชน อย่าง บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี และนครปฐม ไปพบคนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของเกษตรอินทรีย์ ภายใต้กิจกรรม “Shop สุขใจพาเที่ยวสวน” ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต แนวคิด และการเอาใจใส่ดูแลผลผลิตของเ