เกษตรอินทรีย์
วันนี้ทีมข่าว เดินทางแวะเยี่ยมยามถามข่าว เกษตรกรผู้มีความสำเร็จ คุณประคอง คงมูล อายุ 65 ปี คุณคำพันธ์ คงมูล อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 7 บ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร. (085) 448-2360 พื้นที่ 1 ไร่ แปลงต้นแบบ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกาฬสินธุ์ (โครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี ปี 2557) ประจำตำบลโพนทอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พื้นที่ 1 ไร่ แบ่งออกเป็นสัดส่วนโรงเรือนสุกร จำนวน 19 ตัว ได้โรงงานปุ๋ยชั้นดี น้ำล้างคอกหมู ปล่อยลงแปลงนา ข้าวสวยงามมาก ปล่อยลงบ่อเก็บน้ำทิ้ง ตักมาผสมน้ำ 1:1 รดพืชผัก ผลไม้ เขียวขึ้นภายใน 1-2 วัน เป็นรายได้รายปี ไก่พื้นเมือง 100 ตัว จับขายรายสัปดาห์ ไก่ไข่ 10 ตัว ได้ไข่รับประทานในครัวเรือน ทุกวัน เหลือขาย บ่อปลา 1 บ่อ มะนาว 7 ต้น กล้วย 10 กอ มะพร้าว 6 ต้น ตะไคร้ 5 กอ ข่า 10 กอ มะกรูด 2 ต้น พริก มะเขือ สระแหน่ ยี่หร่า พืชสวนครัวครบ เป็นพืชผักเกษตรอินทรีย์ล้วน เราอยู่อย่าง “ได้แสนสุข” คิดเป็นมูลค่าไม่ได้ แต่คุณค่าสูงยิ่ง ตลอดทั้งปี มีเงินแสน คุณประคอง กล่าวว่า ตนเองปฏิบัติจากการศึกษา ค้นคว้า มี คุณพงษ์ศักด
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด “ตามรอยพระบาท…สัมผัสวิถีเกษตรพอเพียง” กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้มีคุณค่าและความหมายอย่างยิ่ง โดยมีพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นสะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ที่จะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย “ขอเป็นกำลังใจให้ เดินหน้าพัฒนาต่อไปเพื่อร่วมกันสานต่อพระราชปณิธานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯให้คงอยู่เพื่อประโยชน์และความสุขที่ยั่งยืนของประชาชนคนไทยในอนาคต โดยขอบคุณ ททท. และทุกภาคส่วนที่ร่วมกันจัดงานครั้งนี้ขึ้น และขอแสดงความชื่นชมมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่ขับเคลื่อนโครงการสามพรานโมเดล มาถึงจุดของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครปฐม พัฒนาทั้งโซ่อุปทาน ต้นน้ำ- กลางน้ำ-ปลายน้ำ เพื่อขับเคลื่อนแบบบูรณาการซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เช
ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งการทำเกษตรกรรม ทาง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด อยากปลูกฝังให้เด็กรุ่นหลังรักในอาชีพการทำเกษตร จึงเล็งเห็นความสำคัญนำทัพสื่อมวลชนแบ่งปันความรู้และส่งเสริมเด็กไทยรักการทำเกษตร ภายใต้ชื่อโครงการ “ผักโรงเรียน” ปูความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่แบบยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริ ที่โรงเรียนบ้านท่าตะคร้อมิตรภาพที่ 192 จังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งยังพาดูงานเกษตรของพ่อที่โครงการชั่งหัวมัน มุ่งมั่นเสริมอาชีพเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักเขตร้อนคุณภาพอันดับหนึ่งของไทย และในภาคพื้นเอเชีย ในนามตราสินค้า “ศรแดง” นำโดย คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำเกษตรกรรมซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก และเป็นการสร้างอาหารที่ยั่งยืนของประเทศ จึงอยากปลูกจิตสำนักของเยาวชนไทยให้รักในอาชีพเกษตรกรรม และเพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ที่ผ่านมามีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมมาแล้วกว่า 80 โรงเรียนทั่วประเทศ
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น คุณณรงค์ชัย ปาระโกน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติดอกคำ อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง “ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายใน
กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเดินหน้ายุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 เต็มรูปแบบ มั่นใจ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ดันสู่เป้าหมาย การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 760 กลุ่มทั่วประเทศ พร้อมเตรียมเสนอยุทธศาสตร์ เข้า ครม.ให้ความเห็นชอบต่อไป นางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนภาคเอกชน โดยฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย รองปลัดกระท
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ยโสธรออร์แกนิคแฟร์ 2016 ที่จังหวัดยโสธร ว่ากระทรวงมีนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรยกระดับรายได้ และสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของประเทศให้ก้าวพ้นจากการติดกับดัก การขายสินค้าเกษตรโภคภัณฑ์ราคาต่ำและแข่งขันสูง โดยได้ส่งเสริมรูปแบบการผลิตทางการเกษตรที่ผสมผสานแนวคิดยุคใหม่ และเจาะตลาดเฉพาะที่ใส่ใจการรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับจังหวัดยโสธร ถือเป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีศักยภาพ และครบวงจร มีการบูรณาการตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การผลิต แปรรูป และได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ภายใต้วิสัยทัศน์ “ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” จึงยกย่องเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศ (ยโสธรโมเดล) “กระทรวงได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปี 2560-2564 ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านการผลิตการค้าและการบริโภคสินค้าอินทรีย์ในอาเซียน ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. สร้างการรับรู้ของผู้
ในขณะที่สภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำ “ชาวนา” เดือดร้อนกันทั่วหน้า จนรัฐต้องเร่งหามาตรการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยา อีกทั้งองค์กร ภาคเอกชน ร้านค้า ต่างระดมพลังช่วยกันแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ เปิดพื้นที่ให้ชาวนาขายข้าวฟรีเพื่อบรรเทาความร้อนเดือนเฉพาะหน้า แต่ทว่า ปัญหาเหล่านี้ไม่มีกระทบกับครอบครัวของธวัชร กิตติปัญโยชัย ชายหนุ่มในวัย 45 ปี ชาวนาในพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม สมาชิกกลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ เครือข่ายสามพรานโมเดล เพราะเขาเลือกที่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน และเลือกที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำเกษตรเคมี มาสู่ระบบอินทรีย์ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงนำทางในการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ มีตลาดเป็นของตัวเอง สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ยืนได้ด้วยตัวเอง และสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับครอบครัว หากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ธวัชร เองก็เคยตกอยู่ในสภาพเดียวกับชาวนาทั่วไปที่ต้องนำผลผลิต เข้าระบบการจำนำ การประกันราคาข้าว ตามมาตรการของรัฐในยุคต่างๆ แม้จะขายข้าวได้ราคา ในบางช่วงก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า มีเงินให้เหลือเก็บ เพราะเมื่อคำนวณต้นทุนที่ต้องซื้อสารเคมีมันแทบจะไม่เหลือ เขาจึงเปลี่ยนวิถีชีวิตต
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณพรรณพิมล ปันคำ อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 7 บ้านท่าศาลา ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 57130 เดิมทำเกษตรเชิงเดี่ยว คือการปลูกข้าว แต่ประสบปัญหาความไม่คุ้มทุน ด้วยราคาค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาผลผลิตตกต่ำจึงไม่สามารถชำระเงินกู้คืนได้ เมื่อมองเห็นปัญหาแล้ว คุณพรรณพิมล จึงเริ่มต้นแก้ปัญหาให้ตัวเองด้วยการทำบัญชีครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เริ่มต้นเรียนรู้และลงมือทำการเกษตรแบบลดต้นทุน ไม่พึ่งพาสารเคมี ทำเกษตรอินทรีย์ จนกระทั่งปลดภาระหนี้สินได้สำเร็จ เนื่องจากคุณพรรณพิมลมองเห็นว่าเพื่อนชาวเกษตรกรไทยอีกมากมายยังคงอยู่ในวังวนของความทุกข์จากการมีหนี้สินครัวเรือนสูงขึ้นจากการกู้หนี้นอกระบบ ขาดทักษะการทำมาหากิน ครอบครัวแตกแยก และมีสุขภาพที่ทรุดโทรมจากการทำเกษตรกรรมจากการใช้สารเคมีที่เข้มข้นเพื่อเพิ่มผลผลิต และยังส่งผลร้ายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อปี พ.ศ. 2545 จึงตัดสินใจเปิดบ้านของตนเองเป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้ ชื่อ ศูนย์เกษตรกรรมยั่งยืนตำบลศรีเมืองชุม โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ 14 ไร่ 1 งาน เป็นแปลง
นายอดุลย์ ผิวผัน รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ มีโครงการความร่วมมือประชารัฐ เพื่อการเกษตรปลอดภัย โดยใช้ “จุลินทรีย์” ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์ และบริษัท สินเกษตร กรุ๊ป ด้วยการผลิตเกษตรอินทรีย์ เป็นนโยบายของรัฐให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตและการตลาด โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำนโยบาย 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2564 และแผนพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ปี พ.ศ. 2560 ประเด็นยุทธศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และผู้นำด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจัดให้มีงานเสวนาวิชาการ “จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรปลอดภัยบุรีรัมย์” ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โดม 80 ปี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ สำหรับผู้สนใจ ขอทราบราย
คุณไพบูลย์ สวัสดิ์จุ้ย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เบอร์โทร. (087) 009-2860 เล่าว่า เหตุที่จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยงขึ้น เนื่องจากสมาชิกเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ มีใจรักชื่นชอบสนใจเกี่ยวกับการผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์เหมือนกัน ที่สำคัญคือ มีอุดมการณ์ร่วมกัน นั่นก็คือ “ไม่เอาเงินเป็นที่ตั้ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพในการผลิตพืชผักหลากหลายชนิด แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชผักเน้นเพื่อการค้า มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลทำให้สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พืชผักมีสารพิษตกค้าง และเกษตรกรผู้ผลิตได้รับสารพิษโดยตรงจากการใช้เคมีดังกล่าว สมาชิกอายุก็เริ่มเยอะขึ้นทุกวัน ถึงเวลาแล้วที่จะหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพดี นั่นก็คือ อาหาร หรือสิ่งที่เราบริโภคเข้าไป นอกจากนี้ การที่ผลิตพืชผักอินทรีย์ให้ผู้อื่นได้บริโภคนั้นได้บุญ ประกอบกับพืชผักอินทรีย์กำลังได้รับความนิย