เกษตรอินทรีย์
กว่าจะมาเป็น “สวนผักหลังบ้าน” ก่อนหน้านี้ทำมาแล้วหลายอย่าง แต่ที่ทำมาตลอดคือการปลูกผัก เริ่มต้นจากปลูกผักสวนครัวเก็บขายตลาดนัดแถวบ้าน จากความสงสัยผักสลัดที่อยู่บนจานสเต๊กทำไมราคาถึงแพง ลองหาข้อมูล ลองผิดลองถูกจากประสบการณ์จนประสบความสำเร็จ คุณปรเมนทร์ ประมะโข หรือ คุณต้น อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 6 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จากพ่อค้าขายผักเริ่มจากความชอบปลูกผัก เดิมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ก็ได้ปรับเปลี่ยนเนื่องจากต้นทุนสูง จนปัจจุบันปลูกผักสลัดอินทรีย์เต็มตัว บนพื้นที่ 2 งาน ปลูกผักสลัดหลากหลายสายพันธุ์ เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ผักสลัดแก้ว คอส บัตเตอร์เฮดก็มี และผักกาดหอมอิตาลี ทำรายได้หลักหมื่นต่อเดือน ผลตอบรับดีเกินคาด ออร์เดอร์เยอะไม่พอขาย คุณต้น บอกว่า เริ่มต้นที่จริงหลักร้อยก็สามารถเริ่มปลูกผักอินทรีย์ได้ ทำไม่ยาก ใครๆ ก็สามารถทำได้ ปัจจัยหลักของการปลูกผักอินทรีย์ เน้นการดูแลแบบธรรมชาติล้วนๆ ไม่ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เน้นใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการเพาะปลูกอย่างการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อให้พืชแข็งแรงต้านโรคต้านศัตรูพืชได้ พัฒนาต่อยอดจากผักสด และขายเมล
เกษตรอินทรีย์นอกจากจะเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังนับเป็นนวัตกรรมการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการผลิตใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความยั่งยืน และในบางแง่มุมสามารถเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยีได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การฟื้นฟูธรรมชาติ ใช้กระบวนการที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี หรือการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรักษาคุณภาพดิน การปรับกระบวนการผลิต ใช้เทคนิคการจัดการศัตรูพืชโดยไม่พึ่งพาสารเคมี เช่น การใช้ชีวภัณฑ์หรือศัตรูธรรมชาติ การมุ่งเน้นความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างระบบเกษตรที่ยั่งยืน แม้เกษตรอินทรีย์จะไม่ได้พึ่งพาเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเหมือนเกษตรสมัยใหม่ แต่สามารถรวมกับเทคโนโลยีบางอย่างได้ เช่น การตรวจสอบคุณภาพดิน ใช้อุปกรณ์วัดค่าความเป็นกรด-ด่างในดินเพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับพืช การจัดการข้อมูล ใช้แอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มดิจิทัลในการวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิต และ การตลาดออนไลน์ เชื่อมโยงเกษตรอินทรีย์กับผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล คุณแอม พรมศักดิ์ หรือ
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเฉพาะพื้นที่บ้านหนองเขียวและกลุ่มบ้านบริวาร ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน กำลังก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวทางของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) โครงการนี้มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม สู่ระบบเกษตรอินทรีย์และพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สร้างรายได้ที่มั่นคง พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเฉพาะพื้นที่บ้านหนองเขียวและกลุ่มบ้านบริวาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับการดำเนินงานโดย สวพส. ซึ่งเริ่มต้นจากการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน พบว่าประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตร รวมถึงขาดองค์ความรู้ด้านเกษตรที่ยั่งยืน ทำให้รายได้ไม่มั่นคงและต้องพึ่งพาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มีต้นทุนสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ สวพส. จึงร่วมมือกับกรมทรัพยากรน้ำและกรมชลประ
คนเมืองที่อยากปลูกผักข้างบ้าน เพื่อสร้างผลผลิตที่ปลอดภัยและสร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง สามารถแวะไปเรียนรู้วิธีปลูกผักในพื้นที่จำกัดรูปแบบต่างๆ ได้ที่ สวนผักบ้านคุณตา (คุณตาสุทธิ โอมุเณ) ฟาร์มออร์แกนิกและศูนย์การเรียนรู้เนื้อที่ 100 ตารางวา ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท 62 กรุงเทพฯ อาจารย์คมสัน หุตะแพทย์ ตั้งใจบริหารสวนผักบ้านคุณตาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการผลิตอาหารปลอดสารเคมีเพื่อการพึ่งตนเอง การจัดการพลังงานและการจัดการน้ำ การทำผลิตภัณฑ์ภายในครัวเรือนใช้เอง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนของคนเมือง อาจารย์คมสันได้นำหลักการของ urban metabolism changing linear metabolism to be circular metabolism โดยการใช้แหล่งต่างๆ เช่น การกักเก็บน้ำฝน และ พลังงานโซลาร์เซลล์ Cascading และ การรีไซเคิล สำหรับ closing resources and waste loop within the area ยกตัวอย่างเช่น การนำน้ำเสียจากครัวเรือนมาทำให้สะอาดและใช้ซ้ำในการเกษตร การทำปุ๋ยจากเศษอาหาร และเศษผักในสวนครัว 7 ไอเดีย ทำเกษตรในพื้นที่จำกัด โรงเรือนแบบเปิด ปลูกผักได้ทุกฤดู สวนผักบ้านคุณตา สร้างซุ้มผักเลื้อยสำหรับปลูกแตงกวา บวบ ฟักทอง และถั่วพู ใกล้ๆ กันสร้างโร
งานทางด้านการเกษตรเป็นอีกหนึ่งความสุขที่ทำให้ผู้ดำเนินงานทางด้านนี้ ได้ต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ เพราะยิ่งเป็นยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ในเรื่องของการทำตลาดค่อนข้างมีการแข่งขันสูง จึงทำให้เกษตรกรต้องมีการปรับตัวและพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ช่วยให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มและเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถมีอำนาจต่อรองการทำตลาดได้หลายทิศทาง ไม่ต้องถูกกดในเรื่องของราคาหรือไม่มีทางเลือกในการค้าขาย คุณก่อศิม มายุดิน อยู่บ้านเลขที่ 96/1 ถนนท่าเสร็จ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้ผันตัวจากนักธุรกิจมาทำอาชีพทางการเกษตร โดยเน้นปลูกผักสลัดบนโต๊ะด้วยระบบอินทรีย์ ทำให้ผักสลัดเป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมทั้งปรับตัวอยู่เสมอด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า นำมาทำเป็นสินค้าแปรรูปและอยู่ในรูปแบบของอาหาร จึงทำให้เพิ่มมูลค่ามีกำไรจากการขายผักสลัดที่ปลูกได้เป็นเท่าตัว จากทำธุรกิจส่วนตัว ผันตัวทำเกษตรอินทรีย์ คุณก่อศิม เล่าให้ฟังว่า เมื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายจักรยานมาได้สักระยะ การค้าขายค่อนข้างมีปัญหาไม่เป็นผลดีมากนัก ด้วยความที่เขาเองเป็นครูและไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเท่าที่ควร จึงทำให้ร
ปัจจุบันเกษตรกรหลายๆ ท่านให้ความสนใจกับการปลูกผักแบบ “ออแกนิก” หรือ “เกษตรอินทรีย์” คือการให้ความสำคัญกับการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือสารปรับปรุงดิน และไม่ใช้พืชที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และการผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเน้นผักปลอดสารเพิ่มมากขึ้น เจาะกลุ่มผู้ที่ดูแลสุขภาพ แต่หลายๆ ท่านยังไม่มีมาตราฐานที่ถูกต้อง วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านรวบรวมข้อมูลการขึ้นทะเบียนมาตราฐาน organic thailand ที่เกษตรกรควรต้องรู้ ทำไมต้องมีมาตรฐาน Organic Thailand? หากเป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ การมีตรารับรอง Organic Thailand จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณปลอดภัย ไม่มีสารเคมี และเป็นไปตามมาตรฐานอินทรีย์ที่รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการผักผลไม้ปลอดสารเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรที่ปลูกแบบออแกนิกจึงม
ปัจจุบัน กระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมและการบริโภคเพื่อสุขภาพมีการตื่นตัวกันเพิ่มมากขึ้น ผู้คนทั่วโลกต่างเสาะแสวงหาสิ่งดำรงชีพที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีและสารพิษต่างๆ ทั้งๆ ที่มนุษย์รู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย จึงเป็นสาเหตุให้บรรดาเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ และหาวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทนสารเคมี พืชสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด ซึ่งปัจจุบันภาคธุรกิจได้หันมาผลิตสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อใช้สำหรับกำจัดศัตรูพืชออกมาจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสมุนไพรเพื่อให้มีการนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวว่า “สำหรับผู้ที่กำลังใช้หรือต้องการใช้พืชสมุนไพร ต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่
ปัจจุบันกระแสการรักษาสุขภาพและความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกำลังขยายตัวไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แนวโน้มดังกล่าวได้ส่งผลให้ เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) กลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการเกษตรที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปี 2025 เพราะสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงแต่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยและมีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างโอกาสใหม่ในตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การเพาะปลูกพืช เช่น ข้าว ผัก หรือผลไม้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เช่น ไก่ไข่อินทรีย์ นมออร์แกนิก กุ้งอินทรีย์ และปลากะพงอินทรีย์ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในระบบการจัดการทั้งหมด รศ.ดร.เกษม สร้อยทอง อาจารย์ประจำ สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ยุคคใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายกสมาคมเทคโนโลยีการเกษตรแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Agricultural Technology in Southeast Asia, AATSEA) เป็นอีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญทางเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งได้สร้างนวัตกรร
ดร.คณิต สุขรัตน์ อาศัยอยู่ที่ ซอยรามอินทรา 8 แยก 24 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัว และไม้ผลต่างๆ ในพื้นที่รอบบ้านมาก่อนที่โรคระบาดโควิดจะเกิดขึ้น เมื่อในเขตกรุงเทพมหานครให้มีการอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงทำให้การเกษตรที่ทำไว้อยู่ก่อนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถมีผลผลิตไว้ทานเองและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ตลอดไปจนถึงผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นที่มีมากเกินไป ก็สามารถจำหน่ายสร้างรายได้อีกด้วย ดร.คณิต เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อปี 2556 ได้ซื้อที่ดินในย่านนี้ไว้ เป็นที่ดินประมาณ 148.9 ตารางวา ซึ่งพื้นนี้เมื่ออยู่ในกรุงเทพมหานครแล้ว ก็ถือว่าสามารถนำมาทำการเกษตรได้หลายอย่าง โดยจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญด้านหลังพื้นที่มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ จึงสามารถนำน้ำมาทำการเกษตรในพื้นที่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำประปาเพื่อมารดให้กับพืชที่ปลูก อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง 7 พืชควรปลูกรอบบ้าน ได้ทั้งไว้กินเอง และสร้างรายได้ หนุ่มลพบุรี ปลูกผักสลัดหลังบ้าน เผยเทคนิคเพาะกล้าในตู้เย็น ผักโตดี๊ดี เก็บขาย กก.ละ 150 บาท ปลูกมะนาวในกระถาง ใช้พื้นที่น้อย เก็บได้นาน 5 ปี “ช่วงแรกที่เร
การปลูกพืชผักอินทรีย์ เมื่อไม่ใช้สารเคมีแต่ใช้ปุ๋ยหรือสารกำจัดศัตรูพืชที่ผลิตด้วยวัสดุธรรมชาติ ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ได้พืชผักสะอาดปลอดภัยบริโภค จ่าเหน่งเป็นเกษตรกรนักสู้ที่ได้เปลี่ยนวิถีเกษตรเคมีมาปลูกพืชผักอินทรีย์กระทั่งประสบความสำเร็จ สามารถเพิ่มผลผลิตผักอินทรีย์ได้มากขึ้น ผักอินทรีย์ส่วนหนึ่งเป็นอาหารในครัวเรือน อีกส่วนหนึ่งนำออกขาย ทำให้มีรายได้และมีวิถีที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กัน จ่าเหน่ง หรือ เรืออากาศตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ ผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์ เล่าให้ฟังว่า ปี 2553 เริ่มทำการเกษตรเคมี ได้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ผลผลิตที่ได้นำมาเป็นอาหารในครัวเรือนและขาย ปี 2557 ได้ใช้สารเคมีน้อยลงเพื่อสุขภาพดีของทุกคน และปี 2560 เปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์หรือปลูกพืชผักอินทรีย์หลายชนิด พื้นที่ 1 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี นักวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานอื่น ทำให้ทุกวันนี้การทำเกษตรหรือปลูกพืชผักอินทรีย์ประสบความสำเร็จ ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต/ผู้บริโภค และสิ่งแ