เทคโนโลยีชาวบ้าน
หลายปีก่อน เรามองเห็นความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคผักผลไม้ พวกเขากำลังพยายามหาวิธีกำจัดสารเคมีอันตรายบนพืชผัก มินานนักกระบวนการปลูกผักผลไม้ก็ปรับเปลี่ยนสู่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ มีหน่วยงานรับรอง เช่น สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์เกิดขึ้น เป็นการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ Sustainable Development Goals Partipatory Guarantee System (SDGs PGS) เป็นกระบวนการรับรองผู้ผลิตอินทรีย์ตามหลักการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วม วิสัยทัศน์ร่วม ความโปร่งใส กระบวนเรียนรู้และความสัมพันธ์แนวราบ โดยมีสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดพะเยาร่วมขับเคลื่อน ในการทำความเข้าใจกับเกษตรกรและการตรวจรับรอง พร้อมออกใบรับรองเพื่อให้เกษตรกรนำไปเผยแพร่และรับประกันสินค้า ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในความปลอดภัย สินค้าประเภทผักผลไม้อินทรีย์ระดับพรีเมี่ยมที่ปลูกในพื้นที่ท้องถิ่นจังหวัดพะเยามีจำนวนมากขึ้นและเริ่มวางจำหน่ายบนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ นั่นคือความเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรที่กำลังปลูกผักผลไม้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเมื่อไม่นานมานี้ มีการจัดเสวนาแนวท
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงยิ่ง เป็นอย่างไรกันบ้างหนอในช่วงนี้ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ บางวันหนาว ร้อน ฝนรวมอยู่ครบสามฤดู บางพื้นที่ยังหนาว บางพื้นที่ก็ร้อนตับแล่บ แต่ยังมีบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้ที่ยังมีฝนตกต้องตามฤดูกาลตามภาค เรียกว่าเป็นบ้านเมืองที่มีหลากฤดูดีจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พอถึงช่วงมกราคม-มีนาคม สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากเจอเลยก็คือฝุ่น PM 2.5 ที่แวะเวียนมาเสมอ เดือดร้อนกันถ้วนหน้าแม้จะสวมหน้ากากอนามัยก็ตาม ผมเองเป็นภูมิแพ้ จะแสบจมูกลามไปถึงคอเลยทีเดียว ดีที่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีฝนหลวงตกลงมาช่วยครับ เกษตรกรบ้านเรามีความเก่งไม่แพ้ที่ใดในโลก เราอยู่ในพื้นที่ๆ มีความพร้อมทั้งแสงแดด พื้นดิน น้ำ สภาพอากาศ ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็เหมาะไปเสียทุกอย่าง พืชผักก็งาม ผลไม้ก็หลากหลาย สมุนไพรก็ถึงขนาดรับจ้างปลูกให้ต่างชาติเอาไปทำยากันมากมาย ไม่ต้องพูดถึงพืชหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกกันทั่วประเทศได้อย่างต้องการ แต่เรายังไปไม่สุด เรายังเป็นเกษตรกรที่ผลิตเพียงวัตถุดิบ เรายังไม่ได้ก้าวไปถึงการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูป ลองคิดดู ชาวนาทำนาปลูกข
น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบคาดการณ์อุทกภัยที่เชื่อถือได้ แม่นยำ สามารถเตือนล่วงหน้าได้อย่างทันการณ์ ที่ผ่านมามีการพัฒนาและใช้งานแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์อุทกภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้เวลาและทรัพยากรมาก ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ จึงได้พัฒนาระบบคาดการณ์อุทกภัยแบบเรียลไทม์ด้วย Machine Learning เพื่อทดสอบหา Algorithm ที่เหมาะสมในการคาดการณ์ระดับน้ำ เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช รับรู้และเฝ้าระวังระดับน้ำ เพื่อเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที ระบบแจ้งเตือนอุทกภัยแบบเรียลไทม์ ML Flood “จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมของเรา เริ่มจากพื้นที่ศึกษาของเราคืออำเภอทุ่งสง เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นประจำ เพราะว่าเป็นพื้นที่ที่รับน้ำมาจากหลายเส้นทางน้ำ ทีนี้ปกติการเตือนภัยของพื้นที่อำเภอทุ่งสง จะเตือนภัยจากสถานีที่เหนืออำเภอทุ่งสงขึ้นไป 1 สถานี ระยะทางจากสถานีดังกล่าวลงมาถึงทุ่งสงอยู่ประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งการเตือนภัย
เนเธอร์แลนด์หรือฮอลแลนด์ ขึ้นชื่อลือชาแบบไม่มีใครกล้าท้าทายในเรื่องความสวยงามของอาคารบ้านเรือนที่ก่อร่างกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือ 400 กว่าปีมาแล้ว แต่ยังอยู่ในสภาพสวยงามได้รับการบำรุงรักษาดีเยี่ยม คลองอายุเท่ากับเมืองที่ขุดต่อเนื่องครอบคลุม ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติล้ำค่าของ UNESCO เดินดูบ้านเมือง พิพิธภัณฑ์ ล่องเรือในคลอง เดินเล่นใน Vondelpark สวนสาธารณะกว้างเกือบ 300 ไร่ใจกลางเมือง คลองในอัมสเตอร์ดัมไม่ได้มีไว้แค่ล่องเรือ มันถูกขุดขึ้นเพื่อขนส่งอาหารและสินค้าจากชนบทเข้ามายังใจกลางเมืองให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ก็ควบคุมน้ำระดับหนุนจากทะเล และยังใช้เป็นปราการป้องกันการรุกรานที่อาจเกิดขึ้น ทำให้คลองที่นี่มีลักษณะเฉพาะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหลวงของประเทศ จึงถูกรักษาอย่างดี บ้านริมคลองของเขาก็สวยสุด คลองบางคลองมีสะพานข้ามมากถึง 15 สะพาน แต่สะพาน De Magere Brug ข้ามแม่น้ำ Amstel น่าจะเป็นสะพานที่มีชื่อเสียงที่สุดในอัมสเตอร์ดัม สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 เชื่อมระหว่างสองฝั่งแม่น้ำใกล้กับเคิร์กสตราต แต่วันเวลาที่สวยที่สุดของเนเธอร์แลนด์คือฤดูร้อน ไล่จากปลายเดือนมีนาคมถึ
คุณจงกรม ขันเงิน เจ้าของฟาร์ม “ดรีม แรบบิท ฟาร์ม” ในพื้นที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สามีคุณจินตนา เวียงชัย อดีตพนักงานสาวออฟฟิศที่ลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำหน้าที่แม่บ้านและเลี้ยงลูกสาว ลูกชายสุดที่รัก ก่อนจะมองเห็นช่องทางการเพาะเลี้ยง “กระต่ายดำภูพาน” เริ่มทำเป็นธุรกิจเล็กๆ ขายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ มาเกือบ 2 ปี สามารถสร้างรายได้ได้อย่างสบายๆ และมีความสุข
คุณสรชัช ตันศิริ เจ้าของสวน “บ้านผักไฮโดรโปนิกส์ ผักสลัดชลบุรี-บ้านฟาร์มผักในเมือง” ในพื้นที่ตำบลบ้านปีก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ที่หันมาทำเกษตรแบบเต็มตัว ด้วยการพลิกผืนดินและเนรมิตที่ดินเพียง 1 แปลงให้มีมูลค่า ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักสลัด จากเพียงต้องการมองหาอาชีพเสริม ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพและเป็นรายได้หลักในการเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายๆ
นักวิจัยทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง เอ็มเทค สวทช. ได้ทำการทดลองทำถุงห่อผลไม้โดยการใช้วัสดุนอนวูฟเวน มีสมบัติให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้โดยง่าย ช่วยให้ทุเรียนที่ถูกห่อสามารถสร้างสารสำคัญในผลไม้ ทั้งแป้ง น้ำตาล สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะฤดูกาลนี้ที่ทุเรียนออกลูกและเริ่มนำไปห่อได้ และที่สำคัญถุงห่อนี้สามารถใช้ซ้ำได้ถึง 2 ฤดูกาลผลิต ช่วยประหยัดทั้งต้นทุน นอกจากนี้ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชอีกด้วย ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบภาคสนามเมื่อปี 2564 ทุเรียนที่ห่อด้วยถุง Magik Growth มีความหนาของเปลือกบางลง 30% ทำให้ได้น้ำหนักรวมผลทุเรียน เพิ่มขึ้น 10% มีความแน่นเนื้อมากขึ้น สีเนื้อเหลืองขึ้นนั้นเอง! ปัจจุบันตัวถุงห่อ Magik Growth ถูกพัฒนาและต่อยอดจนสามารถตอบโจทย์ชาวสวนผลไม้ได้อย่างมากยิ่งขึ้น หลังเห็นผลทดลองก็ยิ่งทำให้มีคนสนใจอยากเข้ามาซื้อเพื่อนำไปใช้ ตอนนี้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บริษัทผู้จัดจำหน่าย และผลิตออกมาขายในราคาห่อถุงทุเรียนอยู่ที่ 35-40 บาท . ซึ่งความพิเศษของถุงคือสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำใหม่ได้ 3-4 ครั้ง มีอ
วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้ไปเยือนหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยตลิ่งชันครบุรี ที่จังหวัดนครราชสีมา และได้พูดคุยกับ “แม่แพรว” เกษตรกรผู้เลี้ยงควายไทยและผู้คิดค้นการผสมระหว่างแม่ควายไทยกับพ่อควายนิโก ซึ่งผลที่ได้ออกมาทำให้ควายมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น ความพิเศษของเจ้าควายน้อยของแม่พราวคือ การเลี้ยงเขาอย่างธรรมชาติโดยไม่ใช้อาหารเสริมเร่ง ปล่อยให้หากินตามแหล่งธรรมชาติ และหญ้าที่ปลูกในไร่ก็ปราศจากสารเคมี งานนี้ใครที่กำลังสนใจอยากเลี้ยงควายเป็นอาชีพหลังเกษียณ แม่แพรวได้เผยเคล็ดลับการเลี้ยงควายต้องเริ่มจากอะไร และใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ แถมยังบอกถึงกำไรที่จะได้รับจากเจ้าควายอีกด้วย เพราะฉะนั้นห้ามพลาดอย่างเด็ดขาดค่ะ
“ประเทศไทยถูกยกให้เป็นประเทศที่มีไอโซพอดสวยที่สุดในโลก ไอโซพอดเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับกุ้ง (ครัสเตเชียน) เป็นสัตว์เปลือกแข็ง ขาปล้อง เวลาเจริญเติบโตจะต้องลอกคราบ น้องเป็นผู้ย่อยสลายตามธรรมชาติ โดยปกติแล้วสามารถพบได้ทั่วโลก ในป่าทึบที่มีแสงส่องถึงได้น้อย หรือบางสายพันธุ์อยู่ในถ้ำ หน้าผาสูง ชอบหลบอยู่ใต้ไม้ ชอบอากาศเย็น ชื้น ไม่ชอบความร้อน” คุณโชติรวิน เอื้องฟ้าฮาม หรือ คุณบอส วัย 31 ปี หนุ่มหล่อเจ้าของเพจ “ลิตเติ้ลไอโซพอดไทยแลนด์ Little isopod Thailand” ในพื้นที่เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่พลิกวิกฤตช่วง โควิด-19 ระบาด ให้เป็นโอกาส ด้วยการเริ่มเลี้ยงไอโซพอด (Isopod) สัตว์เลี้ยงดึกดำบรรพ์แบบจริงจัง จากประสบการณ์สั่งสมให้เรียนรู้ จนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ตีตลาดออฟไลน์และออนไลน์ จนสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้มาจนถึงปัจจุบัน
ในวันที่การเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่ตอบโจทย์ของคนยุคใหม่อีกต่อไป อาจจะด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น รายได้น้อย ไม่มีความก้าวหน้า หรือว่าสถานที่ทำงานไกลบ้านเกินไป นี่จึงทำให้หลายคนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ๆ หนึ่งในนั้นก็คือการ ‘มีธุรกิจเป็นของตัวเอง’ ฉะนั้น ใครที่กำลังมองหาไอเดีย แนวคิด หรือต้นแบบของการทำธุรกิจ ในงาน ‘SMEs Hero Fest’ มหกรรมสุดยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี ที่จัดโดย เส้นทางเศรษฐีออนไลน์-เทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชน ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2565 ที่สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จึงเชิญ ‘ตัน ภาสกรนที’ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มาบอกเล่าเรื่องราว พร้อมแนวคิดการสร้างธุรกิจของตัวเองแบบหมดเปลือก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันแรกของงาน เพื่อให้เอสเอ็มอีทั้งมือใหม่มือเก่า ได้มีพลังและกำลังใจสร้างธุรกิจของตัวเองต่อไป ในวิกฤต มีโอกาสอยู่เสมอ ตันเล่าว่า ในช่วง 2 -3 ปี โควิด-19 กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทุกธุรกิจต้องพบเจอ จนทำให้คนทำธุรกิจหลายคนเกิดคำถามว่าจะอยู่ต่อได้ไหม หรือว่าถ้าโควิด-19 หายไป จะเริ่มต้นหรือลงทุนใหม่อย่างไร ในฐานะที่ตนเติบโตมา