เทคโนโลยีชาวบ้าน
มะพูด เป็นผลไม้โบราณที่ค่อนข้างหาทานยากในปัจจุบัน ทำให้คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักผลไม้ชนิดนี้ มะพูด มีชื่อท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น ไข่จระเข้ ตะพูด ส้มปอง ส้มม่วง (จันทบุรี), พะวาใบใหญ่ (จันทบุรี, ชลบุรี), ปะหูด (ภาคเหนือ), ปะหูด มะหูด (ภาคอีสาน), จำพูด มะพูด (ภาคกลาง), ตะพูด พะวา ประหูด ประโหด ประโฮด มะนู (เขมร) เป็นต้น ต้นมะพูด เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 7-10 เมตร (บ้างว่ามีความสูงประมาณ 15 เมตร) เป็นไม้ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตั้งตรง และอาจมีร่องรอยของแผลเป็น มีลักษณะเป็นปุ่มปมตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งเกิดจากการหลุดร่วงของกิ่งก้านทั่วไป โดยจะแตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่มโปร่ง ก้านจะแตกออกจากลำต้นค่อนข้างถี่ และเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม เรียบ และแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาวของลำต้น เมื่อเปลือกต้นเกิดบาดแผล จะมียางสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลซึมออกมา มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น และตามชายห้วยหรือพื้นที่ริมน้ำในป่าเบญจพรรณ โดยจะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ และในพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนในต่างประเทศสามารถพ
งานเสวนาภายใต้ความร่วมมือระหว่าง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์ (มจช.) เรื่อง “ทางเลือก โอกาสและการปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย ในโลกยุคหลังโควิด ที่ระบบการผลิตอาหารเปลี่ยนไป” วิทยากร ประกอบด้วย อนุชิต เขียวสะอาด เกษตรกรรุ่นใหม่, ไตรภูมิ แสงเพ็ชรศิริพันธ์ กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด นิวโอเอซิส, ประสูติ คุ้มตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีน เอ็นเนอร์จี โซล่า พาวเวอร์ เฮง จำกัด, ธาวิต ฉายแสงมงคล ผู้ริเริ่มฟาร์มฝัน ปันสุข, นพดล มั่นศักดิ์ ผู้จัดการมูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนาจังหวัดนครสวรรค์, วิไลวรรณ ทวิชศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร และอดีตผู้ช่วยเลขาธิการ ชมรมมะพร้าวแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The Asian and Pacific Coconut Community : APCC) ผู้ดำเนินรายการ : อ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร และ อ.ธนากร เที่ยงน้อย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น.ณ ห้องประชุมนิภา ธรรมวงศ์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เอ
สมุนไพรกระวาน และจันทน์เทศ ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าไปสนับสนุนให้ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป และกำจัดโรคต่างๆ จนมีผลผลิตคุณภาพออกสู่ท้องตลาด สร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่สมาชิก นางอมรรัตน์ สว่างลาภ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงการนำนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ไปส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นเกษตรแปลงใหญ่ว่า ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรแปลงใหญ่ทั้งหมด 199 แปลง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1.7 แสนไร่ มีแปลงใหญ่ด้านพืชสมุนไพร จำนวน 2 แปลง คือ แปลงใหญ่กระวาน และแปลงใหญ่จันทน์เทศ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอร่อนพิบูลย์ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 สำหรับกระวาน เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นเครื่องเทศสำหรับเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้อาหารและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำพริก ยาหม่อง ยาดม สเปรย์ไล่ยุง เจลล้างมือ และสบู่สมุนไพร พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาภายในชุมชนป่าอนุรักษ์พื้นที่ตำบลหินตก โดยกระวาน
ในยุคปัจจุบันต้องยอมรับเลยว่าผู้บริโภคหันมาใส่ใจ “สุขภาพ” กันมากขึ้น คำนึงถึงต้นทางของแหล่งวัตถุดิบ ว่าแท้จริงแล้ววัตถุดิบแต่ละอย่างนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากที่ใด และการดูแลนั้นผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง เพราะเหตุนี้ทำให้กระแสสุขภาพที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดออร์แกนิก เติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าในอดีตที่ผ่านๆ มา ออร์แกนิก คือผลผลิตจากการเกษตร ที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตทางเกษตรที่ปลอดสารเคมีทุกชนิดที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยง การปลูก ต้องมีการดูแลอย่างพิถีพิถัน คุณอังคนา ก้อนเพรช หรือ คุณแก้ม ชาวตำบลตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรปลูกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และทำการเกษตรผสมผสาน คุณอังคนาเป็นหนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เมื่อเรียนจบการศึกษาปริญญาตรีแล้ว ก็ได้มีแนวคิดกลับมาพัฒนาการเกษตรบ้านเกิด และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรของทางครอบครัว คุณอังคนา เล่าว่า จุดเริ่มต้นของสวนมะม่วงหิมพานต์แห่งนี้ เกิดขึ้นบนที่ดินจำนวน 4 ไร่ ของคุณตา คุณตา เล่าว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่รกร้าง แต่ได้มีหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาให้ความรู้แก่เกษตรกร มีการแนะน
คุณวัชธีระ วงษาหลง หรือ คุณบิล บรบือ ชายหนุ่มวัย 32 ปี เจ้าของฟาร์ม “ควายงามดอนมหา” ในพื้นที่ตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ผู้ที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีอาชีพเกษตรกรรม เลือกเดินเส้นทางตามความฝันของตนเองในวัยเด็กด้วยอาชีพ “คนเลี้ยงควาย” จนประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงและคนรู้จัก พร้อมกับรายได้หลักแสนต่อเดือน จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงควายนั้น มาจากความชอบส่วนตัวในวัยเด็ก จึงนำมาสู่เส้นทางการเลี้ยงควายแบบจริงจังกว่า 10 ปี ด้วยการบ่มเพาะความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงควายจากคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน ด้วยเหตุผลของความผูกพันระหว่างคนและควายจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาสายพันธุ์ควายสวยงามส่งเข้าประกวด คว้ารางวัลมาแล้วหลายเวที จนกลายเป็นที่รู้จักของคนเลี้ยงควายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ฟาร์มควายงามดอนมหาของคุณวัชธีระนั้น เน้นพัฒนาสายพันธุ์ควายเพื่อเข้าประกวดควายงามตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วหลายรางวัล สร้างชื่อเสียงให้กับฟาร์ม เช่น ควายเพศเมียที่ชื่อว่า “นางพญา” พ่อเม็ดเงิน แม่เพชรเชียงคำ รูปร่างที่สูง สวย สง่า ได้รับรางวัลแกรนด์แชมป์ถ้วยพระราชทาน จังหวัดอุทัยธานี ปี 256
ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2566 งานวิเทศสัมพันธ์ นำโดย ดร ลมุล เกยุรินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร ได้แก่ รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการสำนัก จำนวน 32 ราย เดินทางเข้าร่วม การอบรมหลักสูตรด้านการบริหาร Transforming Educational Institution into I4.0 and Smart Nation Ready ณ Nanyang Polytechnic International, Singapore การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงประกอบด้วย Mr Wee Chin Chuan, Executive Director of Oriel Group of Companies and Director of Global Sustainability Nexus, Mr. Graham Ng, SIT Project Engagement, Mr. Edward Ho, Industry 4.0 @ NYP NYP Digital, Lai Poh Hing Transformation Journey รวมถึงศึกษาดูงาน ณ บริษัทที่มีชื่อเสียงในสิงคโปร์ ประกอบด้วย MakerSpace, Marina BarrageURA Gallery, Sanwa Intec, Developing I&E Spirit of Students ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเล็งเห็นถึงความร่วมมือที่สามารถพัฒนาร่วมกันได้ ประกอบด้วย Conduct capacity building and capability development programs; Collabor
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ภารกิจสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร คือส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด และสามารถพึ่งตนเองได้ โดยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม และให้บริการด้านการเกษตรต่าง ๆ ทำให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมจำนวนมาก ประกอบกับที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จัดให้มีการประกวดผลงานเพื่อรับรางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลที่จะมอบให้กับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการเป็นเลิศทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม โดยแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ คือ รางวัลบริการภาครัฐ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งแต่ละหมวดหมู่จะจำแนกประเภทได้รวมทั้งสิ้น 14 ประเภท โดยจะมีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ทำหน้าที่ประกาศรางวัลเลิศรัฐที่มอบให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งขณะนี้มีผลงานของกรมส่งเสริมการเกษตรผ่านเกณฑ์การประเมินรางวัลเลิศรัฐ ปี 2566 ในเบื้อ
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ซึ่งจะมีฝนตกต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิถุนายน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและรักษาพืชผัก เนื่องจากในช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำมากและความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ หากเกษตรกรวางแผนการผลิตและดูแลรักษาไม่ดี ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำ 7 เทคนิคการปลูกพืชผักให้เหมาะกับช่วงฤดูฝน ดังนี้ 1.การเลือกชนิดพืชผักที่เหมาะสม เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ พืชผักที่เหมาะสมสำหรับปลูกในฤดูฝน ได้แก่ ผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นจำพวกผักใบ เช่น กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ผักเถาเลื้อย เช่น ตำลึง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาวแตงร้าน ฟักทอง ฟัก แฟง มะระ ผักยืนต้น เช่น ชะอม พริก มะเขือ เป็นต้น การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมากับเมล็ดผัก การเตรียมดิ
ย่านศาลายาต้องไม่พลาด คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น มีทั้งสวนมะนาว สวนเลม่อน และยังมีคาเฟ่มุมถ่ายรูปสวยๆ อีกเพียบ จากแนวคิดหนุ่มวิศวะ นำสิ่งที่เรียนรู้ความเป็นเหตุและผล นำมาต่อยอดในธุรกิจ Lemon Me Farm ใช้ทุกส่วนของผลผลิตให้คุ้มค่า นำมาแปรรูปสร้างมูลค่า สร้างยอดขายหลักล้านต่อเดือน อยากรู้ว่าเริ่มต้นยังไงให้ประสบความสำเร็จมาจนถึงวันนี้ เริ่มจากมองปัญหาของเกษตรกรหลักๆ ที่เกิดขึ้น ทุกวันนี้ “ราคาขาย” และ “การตลาด” เป็นสิ่งสำคัญ อยู่ที่ว่าจะทำยังไงให้สิ่งที่แปรรูป ออกมาแล้วขายได้ ต้องไปฟังคุณฉัตรชัยเล่าสู่กันฟัง
คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด เล่าว่า กลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จังหวัดตราด ได้รับผลกระทบจากลมพายุ ส่งผลให้ผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองผลผลิต ในอำเภอเมืองตราด 3 ตำบล คือ ตำบลชำราก 4 หมู่บ้าน ผลผลิตร่วงประมาณ 1,500 ลูก ตำบลตะกาง 3 หมู่บ้านประมาณ 7,000 ลูก ตำบลท่ากุ่ม จำนวน 1 หมู่บ้าน ประมาณ 7,000 ลูก รวม 15,500 ลูก เป็นทุเรียนระยะกำลังพัฒนา อายุประมาณ 70 วัน ขนาดน้ำหนัก 0.5-2 กิโลกรัม เหลืออีก 40-50 วัน จะเริ่มแก่ตัดได้ ลักษณะของผลทุเรียนที่ร่วงหล่นเริ่มเข้าเนื้อแต่ไม่สามารถนำมาใช้รับประทานได้ ความเสียหายประมาณ 5-6 ล้านบาท เมื่อรับทราบความเสียหาย คุณลำยอง ครีบผา เกษตรอำเภอเมืองตราด ได้เข้าไปให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย พร้อมกับทีมงานของ คุณอภิเดช บุญล้อม นายกเทศบาลตำบลตะกาง อำเภอเมือง จังหวัดตราด นำรถเครื่องย่อยกิ่งไม้บดสับ 1 คัน พร้อมวัสดุที่ทำปุ๋ยหมัก เข้าไปช่วยเหลือแนะนำการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้ผลทุเรียนที่ร่วงหล่น ที่ไม่สามารถนำไปขาย นำมาใช้ประโยชน์ โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดร่วมกับเทศบาลตำบลตะกาง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติให้เกษตรกรทำปุ๋ยหมัก โ