เศรษฐกิจพอเพียง
“ส้มควาย” ผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเดียวกับ “ส้มแขก” นิยมใช้เป็นพืชอาหารและพืชสมุนไพร ส้มควาย พบได้แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากชาวบ้านนิยมปลูกส้มควายเป็นไม้ผลประจำบ้าน ต้นส้มควายภูเก็ต มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือขนาดผลใหญ่ เนื้อมาก ชาวบ้านนิยมนำส้มควายมาปรุงอาหารสารพัดเมนู ทั้ง แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณ นิยมนำส้มควายมาตากแห้ง และบดเป็นผงก่อนนำมาผสมกับน้ำร้อน เพื่อแช่เท้า ลดอาการปวดเมื่อย อาการเท้าบวม และช่วยระงับกลิ่นเท้าได้เป็นอย่างดี ในยุคปัจจุบัน ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า “ส้มควาย” เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยในการระบาย และมีกรดผลไม้ประเภทสาร AHA ช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส คุณประโยชน์ที่ดีของส้มควาย ทำให้พืชสมุนไพรชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เพราะส้มควายเป็นพืชสมุนไพรที่ไม่มีสารตกค้างในร่างกาย คุณณัฐณิชา บุญยวรรณ เล็งเห็นโอกาสทางการตลาดของพืชสมุนไพรชนิดนี้ จึงได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นจาก ผงส้มควาย สำหรับแช่เท้า มาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในลักษณะ “สเปรย์ดับกลิ่นเท้าส้มควาย” ที่ม
“จน เครียด กินเหล้า” เป็นช่วงต่ำสุดของชีวิต พ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้านแห่งจังหวัดบุรีรัมย์ สุดยอดคนเกษตรแห่งแดนอีสาน ในอดีต พ่อคำเดื่องปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างปอ มันสำปะหลัง ถั่วลิสง อ้อย ยาสูบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ยิ่งทำมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นหนี้เป็นสินมากขึ้นเท่านั้น เพราะเครียดจากความล้มเหลวทางการเกษตร จึงหันหน้าไปหาเหล้ายาจนชีวิตเกือบพังไม่เป็นท่า โชคดีพ่อคำเดื่องได้สติยั้งคิดว่านี่ไม่ใช่ทางออกของปัญหา หันมาเรียนรู้การพึ่งพาตัวเองโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในชีวิต ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ให้สภาพแวดล้อมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพันธุ์ไม้นับหมื่นต้นพลิกฟื้นผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ เติบโตอย่างมั่นคงในวิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ จนสามารถปลดหนี้สินได้ภายใน 4 ปี ยึดหลักวิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ พ่อคำเดื่องค้นพบวิถีทางที่คนและสัตว์อยู่ร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี เพราะธรรมชาติได้จัดสรรให้แมลงศัตรูพืชแต่ละ
“ทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่ ไม่เครียดและไม่กดดัน เพราะมีหลักคิดง่ายๆ เริ่มทำอย่างไรก็ได้ให้มีความสุขก่อน อย่าเพียงมุ่งหาแต่รายได้ คิดแค่ว่าทำเพื่อลดรายจ่ายก่อน แล้วรายได้จะตามมาทีหลัง” หลักคิดการทำเกษตร ของ คุณเมธยา คุณเมธยา ภูมิระวิ หรือ คุณเมย์ อยู่บ้านเลขที่ 343 หมู่ที่ 6 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เกษตรกรรุ่นใหม่สานต่องานเกษตรที่พ่อสอน บนเนื้อที่ 27 ไร่ คุณเมย์ เล่าว่า เธอเรียนจบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อเรียนจบเธอตัดสินใจกลับบ้านที่จังหวัดชุมพรทันที ไม่ได้อยู่ทำงานตามสายที่เรียนมา เนื่องจากเคยได้ฝึกงานก่อนที่จะเรียนจบ แต่รู้สึกว่าไม่ใช่วิถีชีวิตที่ชอบ ไม่ชอบทำงานในออฟฟิศที่ต้องตื่นเช้ามาตอกบัตรเข้า-ออก ต้องนั่งทำงานที่มีพาร์ติชั่นกั้นเป็นล็อกๆ รู้สึกอึดอัด จึงคิดว่าที่บ้านก็มีพื้นที่ให้ทำต่อยอด ทำไมไม่กลับไปดูแลพื้นที่ของตัวเอง เริ่มทำเกษตร บนคำสบประมาท ของชาวบ้าน หาว่า “บ้า” ด้วยความที่ คุณเมย์ เรียนจบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์มา เธอเล่าว่า หากย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ขาดแคลน ตลาดกำลังต้องการ แต่เธอเลือกที่จะทิ้งโอ
สวัสดีครับ พี่น้องคนไทยส่วนใหญ่ ใครๆ ก็คงรู้จัก แจ๊ก หม่า (Jack Ma) ในเวทีระดับโลกเวทีหนึ่ง แจ๊ก หม่า ให้ความเห็นว่า IQ หรือความฉลาดทางด้านความรู้เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในชีวิต เช่นเดียวกับ EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ก็เป็นประโยชน์มาก แต่สิ่งที่ แจ๊ก หม่า บอกว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จ อยากมีชีวิตที่ดีและได้รับความนับถือ ต้องมี LQ อยู่ด้วย LQ : Leadership Quotient หมายถึง ความฉลาดทางภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของคนที่จะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ คอลัมต์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้เต็มใจพาท่านไปพบกับชายหนุ่มที่ละทิ้งงานประจำที่หลายคนใฝ่ฝัน มาอยู่กลางดิน กลางแปลงเกษตร เพื่อเดินตามความฝันของตัวเอง ต้องพิสูจน์ตัวเองมาตลอดก่อนจะมีวันนี้ วันที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นคนรุ่นใหม่ผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ ตามผมไปดูกันครับ ตัวตนที่แท้จริง พาท่านมาพบกับ ดร.สิริกร ลิ้มสุวรรณ ที่บ้านเลขที่ 156/51 หมู่ที่ 9 ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ดร.สิริกร หรือ คุณสิริกร เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ได้มีโอกาสไปทำงานจ
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง คุณอภิวรรษ สุขพ่วง (คุณพอต) อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่ที่ 10 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผู้น้อมนำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยอดเยี่ยม คุณพอต เล่าว่า หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี จากคณะการจัดการอุตสาหกรรม ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อจะมาทำอาชีพเกษตรกรรมทันที ไม่ได้มองสายงานที่เรียนมา เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่มรดกไว้แต่ไม่มีใครสร้างประโยชน์ ปล่อยให้เป็นพื้นที่รกร้าง และด้วยนิสัยส่วนตัวที่เป็นคนรักธรรมชาติ และมีความคิดที่อยากเป็นนายตัวเอง ไม่อยากเป็นลูกน้องใ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคล เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องจาก ร.ต.สุรชัย บุญคง วัย 68 ปี มีผลงานโดดเด่นด้านการปลูกแฝกและเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงประกาศยกย่อง ร.ต.สุรชัย บุญคง ในฐานะปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ.2568 สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงโดยจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันศุกร์ที่ 9พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทำเกษตรหลังเกษียณ หลังลาออกจากข้าราชการทหาร ร.ต.สุรชัย บุญคง ผันตัวมาทำเกษตรโดยปลูกมันสำปะหลังและมะม่วง บนเนื้อที่ 26 ไร่ แต่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายแถมมีปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก จึงเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน ปลูกปุ๋ยพืชสดเช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และปอเทือง
ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเฟิร์น สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และนอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อม ให้ได้รู้ว่าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้น ด้วยสรรพคุณและคุณค่าที่มีมากมาย จึงทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักกูดเชิงการค้ามากขึ้น คุณชาญณรงค์ พวงสั้น อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เล่าถึงงานปลูกผักกูดว่า เกิดนึกสนใจและมองเห็นอนาคตของผักกูดว่าน่าจะไปได้ดี ผักกูดเป็นผักที่หาได้จากธรรมชาติในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มหารับประทานยากขึ้นทุกวัน ตนจึงมองเห็นโอกาสจากตรงนี้ ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำงานสวนปลูกผักกูดอินทรีย์แซมสวนสัก โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดังนั้น ในสวนของคุณชาญณรงค์จะเต็มไปด้วยการปลูกพืชที่เอื้ออำนวยกันไปเป็นลำดับ
คุณโสพี ทองทุม เกษตรกรอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร หลังเกษียณจากงานประจำกลับมาทำเกษตรผสมผสานยังบ้านเกิดของตัวเอง โดยยึดการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ในพื้นที่ทำเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงปลาภายในบ่อน้ำสำหรับใช้ภายในสวน คุณโสพี เล่าว่า เริ่มทำเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2560 แบ่งพื้นที่ที่มีอยู่จำนวน 19 ไร่ มาทำเกษตรผสมผสานอยู่ที่ 3 ไร่ โดยในพื้นที่สำหรับแบ่งมาทำการเกษตร จะดำเนินการขุดบ่อน้ำไว้เพื่อให้ใช้รดพืชผักและไม้ผลต่างๆ และเลี้ยงปลาเข้ามาเสริมด้วย จึงทำให้ภายในบ่อน้ำ นอกจากมีน้ำใช้ทำการเกษตรแล้ว ปลายังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย การปลูกพืชจะเน้นปลูกให้ที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่ไม้ผลที่สร้างรายได้ประจำปีจำพวกมะม่วง มะขามเทศ มะขาม สะเดา ส่วนพืชผักสวนครัวเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นอกจากจะบริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย อาทิ คะน้า กะเพรา ถั่วฝักยาว ฯลฯ เรียกได้ว่ากินอะไรก็ปลูกพืชชนิดนั้น “นอกจากผมจะปลูกพืชแล้ว ผมยังมีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เรียกได้ว่าค่อนข้างครบวงจร เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเรามีของครบอยู่ทุกด้าน ก็จะช่วยใ
“แรกๆ ใครก็หาว่าบ้า มีที่ดินดีๆ เอามาปลูกสวนป่า ปลูกไปเมื่อไร จะโต เชื่อสิยังไงก็ไปไม่รอด” คำพูดเหล่านี้หญิงแกร่งคนนี้ ไม่เคยลืม แต่ ณ ปัจจุบัน คำพูดสบประมาทเหล่านี้ ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง หากคนเรามุ่งมั่น และมีแบบแผน อย่างไรแล้วความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล คุณธวัลรัตน์ คำกลาง เกษตรกรดีเด่น ปี 2561 อยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หญิงผู้รักต้นไม้ รักป่า ชอบสีเขียวเป็นชีวิตจิตใจ เล่าถึงความเป็นมาของสวนป่าว่า แรกเริ่มพื้นที่ตรงนี้พ่อกับแม่อพยพมาจากอำเภอสูงเนิน แล้วมาได้งานเฝ้าสวนที่ตำบลวังกะทะ แต่เวลาผ่านไปเจ้าของที่จะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจึงเอ่ยปากขายที่ให้กับพ่อแม่ของตน พ่อกับแม่จึงตกลงซื้อ แต่ตอนนั้นซื้อแบบเงินผ่อน โดยมีพ่อแม่และพี่น้องช่วยกันผ่อน ที่ดินจำนวน 100 ไร่ และเมื่อตนมีครอบครัวพ่อแม่ก็แบ่งสันปันส่วนที่ให้กับเราและพี่น้องอีก 6 คน คุณธวัลรัตน์ ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมา 24 ไร่ เพื่อนำมาปลูกป่าที่ตนเองรักและสร้างครอบครัวต่อไป แรกเริ่มปลูกสวนป่า เพราะความชอบไม่ได้คิดอะไร คุณธวัลรัตน์ เป็นคนชอบป่า ชอบสีเขียว ชอบความสงบของป่า อยู่แล้วตั้
ต้นไม้ กับครอบครัวคนไทยเป็นของคู่กัน ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว รอบๆ บ้านหากมีที่ว่าง เวลากินอะไรอร่อย หากมีเมล็ดเจ้าของจะหว่านหรือโยนเมล็ดพืชออกนอกชาน เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมล็ดพืชจะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมาให้เจ้าของเก็บมาใช้ประโยชน์ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รอบบ้านในยุคเก่าก่อน สามารถบ่งบอกได้ว่าชุมชนนั้นตั้งมานานมากน้อยแค่ไหน เช่น ต้นมะพร้าว ที่ขึ้นสูงเลยหลังคาบ้านไปมากๆ เมื่อทางการจะเข้าไปทำนิติกรรมกับชุมชน ชาวบ้านก็อาจจะบอกว่าอยู่มานานแล้ว นานกว่ากฎหมายจะออกมาเสียอีก สำหรับชุมชนเมือง รูปแบบการปลูกต้นไม้เปลี่ยนไป แทนที่จะปลูกลงดิน ก็ใช้กระถาง วางตั้งตามตึกใหญ่ๆ สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้คือ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน งานปลูกพืชแบบนี้ ส่วนใหญ่ใช้กับการปลูกผักสลัด ที่ผ่านมา มีภูมิปัญญาสำหรับการปลูกต้นไม้รอบบ้านบอกไว้อย่างแยบยล วัตถุประสงค์ก็คงอยากให้คนสนใจปลูกพืชหลายๆ ชนิดไว้ เพื่อเกิดประโยชน์ในครอบครัว นอกจากที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว ยังมีผู้แบ่งต้นไม้ที่ปลูกรอบบ้าน โดยแยกประเภทหรือกลุ่ม คือพืชผัก-สมุนไพร ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก-สมุนไพร มีให้เลือกมากมาย พืชผัก-สมุนไพร ใกล้บ้านคน สามารถปลูกได้ห