ผักพื้นบ้าน
น้ำพริก ผักแนม เป็นเมนูหลักที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ผักที่นิยมรับประทานกันในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ซึ่งแตกต่างกับสมัยก่อนที่มีความหลากหลายมากกว่า ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้านหาได้ง่ายตามท้องถิ่น และคงมีไม่กี่คนที่จะนำเนียมหูเสือมาเป็นหนึ่งในผักแนมรับประทานคู่กับน้ำพริก เนียมหูเสือ เป็นผักพื้นบ้านที่กลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งจะมีกลิ่นหอมออกฉุนๆ สักนิด นำมาเคี้ยว 1-2 ใบ ช่วยดับกลิ่นปากได้ชะงัด เมื่อรับประทานจะมีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้สูงอายุที่มักจะมีอาการดังกล่าวกำเริบกันอยู่เป็นประจำ รวมถึงกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดสูบฉีดได้เป็นปกติ บรรเทาอาการมือชาเท้าชาได้ด้วย หากใครเคยขยี้ใบเนียมหูเสือเล่นๆ จะรู้สึกเย็นๆ เพราะมีน้ำอยู่มาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสรรพคุณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีคือ การตำพอกศีรษะลดไข้ตัวร้อน บรรเทาอาการแสบร้อนจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ หรือจะขยี้ให้กลิ่นหอมออก แล้วนำมาดมบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกก็ดีไม่น้อย ซึ่งทางศูนย์การเรียนรู้การดูแลสุขภาพประชาชนด้านการแพทย์
ฤดูร้อนเมืองไทย ที่ร้อนแบบได้ใจ คนเรามักหงุดหงิดง่าย เวลาจะหาอะไรมากินสมองมันก็มึนตื้อ คิดไม่ค่อยออก บอกไม่ค่อยได้ จนไม่อยากคิด ไม่อยากหาอะไรมากิน บางวันเจอฝนตก ค่อยลดร้อนลงหน่อย วันส่วนใหญ่จะร้อน ร้อนรุมรุ่มร้อนไม่ใช่แต่กาย ใจก็พลอยร้อนรุ่มตาม อาหารการกินมีให้หาเยอะแยะ แต่เพราะมันร้อน ทำให้มองหาอะไรไม่เจอ นึกไม่ออกบอกไม่ถูก ยามตะวันรอนอ่อนแสง เริ่มแลเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีทรงพุ่มต้นสวยโปร่ง ใบพลิ้วสายลมอ่อนช้อยงดงาม ยอดอ่อนเป็นช่อสวยหวานอวบอิ่ม ฝักกลมยาวตรง ห้อยแกว่งไกว เป็นผักพื้นบ้านที่ยังหลุดรอดยืดอายุ ผ่านมาตั้งแต่ปลายหนาวเป็นที่น่าจดจำ พบเห็นแล้วหายร้อน น่ากินจังเลย “มะรุม” ผักประเภทไม้ยืนต้นสูง ทรงพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ เป็นพืชพื้นบ้านที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป เมื่อก่อนการจะปลูกต้นมะรุมไว้ที่บ้าน โบราณเขาถือ เชื่อว่าถ้าบ้านใครปลูกไว้ จะก่อปัญหาวุ่นวาย เกิดความยุ่งยากลำบาก มีภัยคุกคามตามมารุมมาตุ้มครอบครัว ซึ่งน่าจะเป็นกุศโลบายคนเก่าแก่ ที่แฝงซ่อนคำบอกเตือนถึงอันตรายของต้นมะรุม เตือนคนในบ้าน ที่ชอบปีนป่ายขึ้นต้นมะรุม มักจะเกิดอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งต้นมะรุมเป็นไม้ที่กิ่งเปราะหัก
สะตอ…เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรในพื้นถิ่นจังหวัดศรีสะเกษปลูกมานานกว่าสิบปี ฝักสะตอมีลักษณะแบนยาว ในฝักมี 10-20 เมล็ด นิยมนำเมล็ดสะตอสดไปจิ้มน้ำพริก สะตอผัดเปรี้ยวหวาน หรือผัดกะปิสะตอกุ้ง สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต หรือช่วยไม่ให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เกษตรกรที่อำเภอขุนหาญ ได้ปลูกสะตอเป็นพืชแซมในสวนไม้ผล เป็นพืชเศรษฐกิจเสริมรายได้เงินแสนให้ก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง คุณรัตดา คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ เล่าให้ฟังว่า การทำการเกษตรหรือปลูกพืชเชิงเดี่ยวมักจะมีความเสี่ยงสูงได้ทั้งจากสาเหตุของสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ฝนแล้ง น้ำท่วม หรือศัตรูพืชเข้าทำลาย ใช้ต้นทุนการผลิตที่สูง หรือไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายได้ จึงมักส่งผลให้ไม่มั่นคงในการยังชีพ แนวทางส่งเสริมการปลูกและพัฒนาคุณภาพผลไม้ สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ ร่วมกับ กรมพัฒนาที่ดิน ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และอีกหลายหน่วยงาน ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด หรือลองกอง ผสมผสานและส่งเสริมการปลูกและผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลไม้คุณภาพ
ย่านาง เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านอย่างเราๆ รู้จักมักคุ้นกันดี แต่สำหรับผู้ที่เคยแต่ได้ลิ้มรส เคยได้ยินแต่ชื่อ อาจจะไม่ค่อยได้รู้ว่า รูปลักษณ์เป็นอย่างไร กำลังนินทาถึง “ย่านาง” หรือผักย่านาง เถาย่านาง เคยฟังเพลงลูกทุ่งเพลงหนึ่งที่เพราะมากและเก่ามาก ชื่อเพลงมนต์รักลูกทุ่ง รำพันวรรคหนึ่งว่า เห็ดตับเต่าขึ้นอยู่ริมเถาย่านาง มองเห็นบัวสล้างลอยอยู่ริมบึง…ย่านาง เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์แก่คนเรามาก ประโยชน์ทางยา ประโยชน์ทางอาหาร และประโยชน์ทางเครื่องใช้ไม้สอย อาหารหลายอย่าง ที่จะอร่อยได้รสชาติสมจริงของพื้นถิ่นและทางภาคอีสานและภาคเหนือ แกงหน่อไม้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ น้ำคั้นจากใบ เถาย่านาง โดยนำเอาใบย่านาง หรือเถาย่านางมาโขลกให้แตก แล้วคั้นน้ำเย็นสะอาดธรรมดา ได้น้ำคั้นที่ข้นเหนียว สีเขียวคล้ำ มีคนทดลองใช้เครื่องปั่น น้ำที่ได้ข้นเหนียวก็จริงแต่สีขุ่นเหมือนขี้โคลน สู้คั้นด้วยมือไม่ได้ น้ำคั้นนี้ใช้ผสมต้มกับหน่อไม้สดที่ซอย หั่น ทุบแล้ว แต่ถ้าจะทำซุบหน่อไม้ มักจะต้มทั้งหน่อไม้แล้วเอาออกมาปรุงซุบหน่อไม้ จริงๆ แล้วน่าจะเรียกว่าลาบ หรือยำหน่อไม้มากกว่า เพราะซุบทำให้มองเห็นน้ำ
เห็ดตับเต่า ได้พึ่งพาต้นโสนเป็นพืชอาศัยเพื่อทำให้เชื้อเห็ดเดินและเจริญเติบโตได้ดี เห็ดตับเต่าเป็นอาหารโปรตีนชั้นยอดที่มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของไทย ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาวิจัยเห็ดและผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีผู้สนใจได้นำผลงานมาต่อยอดด้วยการเพาะเห็ดตับเต่าขายในเชิงการค้า เห็ดตับเต่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่จะผลิตสร้างรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในแบบวิถีพอเพียง มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เห็ดตับเต่า…พืชเศรษฐกิจในดงโสน ผลิตเพื่อการค้าด้วยวิถีพอเพียง มาบอกเล่าสู่กัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงฤดูฝนมักจะมีเห็ดตับเต่าและเห็ดอีกหลายชนิดเจริญเติบโตในป่าธรรมชาติ และเห็ดตับเต่าเป็นชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมบริโภคกันแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะหมู่คนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่ามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงกำลัง หรือดับพิษร้อนภายในร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยบำบัดอาการปวดข้อ ปวดเส้นเอ็น หรือปวดหลัง เห็ดตับเต่า มีชื่อเรียกต่างกัน ภาคเหนือ เรียกว่า เห็ดห้า เนื่องจากพบอยู่ใต้ต้นหว้า ภาคตะวันออกเฉียงเห
เมื่อก่อน บ้านเราเป็นเมืองธรรมชาติ ที่ชาวบ้านคลุกคลีใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร พืชพรรณไม้ป่า ผักหญ้าริมทางเดิน ปลูกถั่วงาธัญญาหารเลี้ยงชีพ โรคภัยไข้เจ็บ เกิดจากธรรมชาติ บำบัดรักษาด้วยธรรมชาติ แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน พืชเกือบทุกชนิดเป็นยารักษาโรค เรียกกันว่า “สมุนไพร” วันนี้ บ้านเราเมืองเรา เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากมาย หลายสิ่งที่เคยมีได้สูญหายไป แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่ยังคงอยู่ คงเป็นเพราะยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและเป็นของดี ที่ยังฝังใจคนบ้านเราอยู่มิคลาย เช่น พืชเก่าแก่พื้นบ้านย่านชนบท พืชผักพื้นเมือง สมุนไพร อย่างเช่นผักชื่อนี้ “ผักฮ้วนหมู” “ผักฮ้วนหมู” เป็นชื่อเรียกของคนทางภาคเหนือ “ฮ้วน” หมายถึง ขดลำไส้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dregea Volubilis stapf วงศ์ ASCLEPIADACEAE พบในป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ชายป่า ป่าละเมาะ และสวนหลังบ้าน มีพบกระจายพันธุ์ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย จีนตอนใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และหลายประเทศในแถบอินโดจีน ขยายพันธุ์โดยการตัดชำกิ่งเถา ชอบพื้นที่ชื้น ขึ้นได้กับดินทุกชนิดที่ระบายน้ำดี ทนแล้งได้ดี อายุยืนหลายปี มีชื่อเรียกตามภูมิภาคต่างๆ ของบ้านเรา ภาคเหนือ เรี
ผักชี ผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ปรุงและประกอบอาหาร เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ากินมากยิ่งขึ้น และด้วยสีเขียวสดของผักชีอีกทั้งรูปร่างของใบที่สวยงาม รวมถึงมีความเป็นเอกลักษณ์ เราจึงคุ้นชินกับการจัดแต่งจานอาหารให้สวยงามด้วยผักชี นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ผักชีโรยหน้า” นั่นเอง (ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอก หรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง) ทำให้ผักชีถูกนำมาใช้กับความหมายในเชิงลบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผักชีนั้นมีคุณความดีอีกมากมาย แล้วเรารู้จักผักชีไทยแค่ไหน ผักชี เป็นพืชสมุนไพร มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักชีไทย มีชื่อพื้นบ้านเรียกหลายชนิดแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก เช่น ภาคเหนือเรียก หอมป้อม ผักป้อม ภาคอีสานเรียก หอมป้อม ผักหอมน้อย ผักหอม ผักชีหอม ส่วนภาคกลาง และภาคใต้เรียก ผักชี ผักชี เป็นผักที่ปลูกง่าย และไม่ค่อยพบโรคหรือแมลงศัตรูพืชมากนัก เนื่องจากมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยไล่แมลงได้ในตัว ผักชี เป็นผักประวัติศาสตร์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พบในหลุมฝังศพของชาวอียิปต์ กรีกและโรมัน ที่เขาใช้เพื่อแต่งกลิ่นเหล้า ไวน์ และใช้เป็นยาด้วย ซึ่งชาว
ดอกกันจอง หรือ ตาลปัตรฤๅษี เป็นพืชผักพื้นบ้านที่เจริญงอกงามได้ดีในท้องนา จึงมักเก็บมาเป็นอาหารในครัวเรือน หรือขายเป็นรายได้ เป็นอีกหนึ่งพืชผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลาย เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตไว ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลตอบแทนคุ้มทุน เกษตรกรที่บ้านบางชัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนามาปลูกดอกกันจองในเชิงการค้า ทำให้มีรายได้เดือนละหมื่นกว่าบาท ดอกกันจองนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของท้องถิ่น การปลูกจึงเป็นหนึ่งอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจในการเสริมสร้างรายได้สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง ดอกกันจอง…พืชผักพื้นบ้าน ผักปลอดภัย ปลูกขายรายได้ดี มาบอกเล่าสู่กัน ป้าประภารัตน์ บุญเลิศ เกษตรกรปลูกดอกกันจอง พืชผักพื้นบ้าน เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพหลักในการทำนา 29 ไร่ ทำนาปีละ 2 ครั้ง ปลูกข้าว พันธุ์ กข 31 ได้ผลผลิตข้าว 80 ถัง ต่อไร่ ขาย 7,000 บาท ต่อเกวียน และปลูกข้าว พันธุ์ กข 47 ได้ผลผลิต 70-80 ถัง ต่อไร่ ขาย 7,000 บาท ต่อเกวียน เมื่อครั้งมีการรับจำนำข้าว เคยมีรายได้ 2-3 แสนบาท ต่อฤดู เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน การทำ
หลายคนที่เคยพบผักเสี้ยว แล้วสับสนงุนงงว่ามันเป็นผักอะไร ผักอะไร กินได้หรือ เห็นชาวบ้านเอามาวางขายในตลาดสดท้องถิ่น จับดูใบอ่อนที่วางขายแล้วสากๆ มือ แต่สีเขียวอ่อนสดใสน่ากิน เขาเด็ดมาเป็นยอดเล็กๆ มีใบยอดละ 3-4 ใบ รูปทรงใบสวยเหมือนปีกผีเสื้อ โคนใบและปลายเว้าลึกมองเห็นลวดลายเส้นใบชัดเจน ยิ่งตอนรับแสงสว่างจะแลดูอ่อนช้อย โปร่งสว่าง น่าเชยชม และก็จะสับสนเมื่อเห็นยอดอ่อนของต้นไม้อีกอย่างคือ ชงโค ใบยอดเพิ่งแตกยอดใหม่ เหมือนกันมาก เพียงแต่ชงโคจะใบใหญ่หนาแข็ง นำมาปลูกเป็นต้นไม้ประดับเอาร่มเงาในสวนหย่อมขนาดใหญ่ใกล้สระน้ำเป็นพืชชนิดเดียวกัน ผักเสี้ยว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia Purpurea Linn. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เสี้ยวดอกแดง เสี้ยวหวาน เป็นต้น ลักษณะของผักเสี้ยวหรือเสี้ยวดอกแดง เดิมทีรู้ว่าเป็นไม้ต่างประเทศ นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ มีลำต้นชูกิ่งขึ้นสูงหลายเมตรแต่ถ้าตัดแต่งให้เป็นพุ่มเอาไว้เด็ดยอดอ่อนสูงประมาณ 1 เมตรเศษๆ กำลังเป็นพุ่มพอเหมาะ แต่ถ้าปล่อยให้ต้นสูงจะเด็ดยอดอ่อนกินลำบากหน่อย ใบสีเขียวเข้มแต่ใบอ่อนยอดอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนสว่าง โคนใบ ปลายเว้าเข้าหากัน ใบกว้างปร
คนตะวันออกเชื่อว่าการรับประทานอาหารอย่างสอดคล้องกับฤดูกาลเป็นผลดีต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพสมดุลและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สำหรับในสังคมไทย ทัศนะการแพทย์แผนไทย แผนดั้งเดิมเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุ 4 (มหาภูติรูป 4) ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุแต่ละอย่างมีลักษณะและธรรมชาติที่แตกต่างกัน และธาตุทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งกำเนิดของโรค โรคจะบังเกิดกับธาตุใดธาตุหนึ่งจะต้องมีธรรมชาติภายนอกมากระทบหรือมูลเหตุอื่นๆ เช่น อาหาร อิริยาบถ อารมณ์ ฯลฯ ทำให้เสียสมดุล จึงเกิดโรคธรรมชาติภายนอกที่สำคัญคือ ธรรมชาติของความร้อน ความเย็น ความหนาว เมื่อธรรมชาติภายนอก มากระทบธาตุ 4 ภายใน หากร่างกายต้านทานไม่ไหวจะทำให้เจ็บป่วยได้หรือธรรมชาติภายนอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือรุนแรงมากไป จนธรรมชาติภายในเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็จะเจ็บป่วยได้ เมื่อเข้าใจกฎเกณฑ์ดังนี้ เราควรปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จะทำให้หลีกเลี่ยงหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย การเลือกรับประทานอาหารหรือผักพื้นบ้าน ควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว การรับประทานผักพื้นบ้านควรพิจารณาให้สอดคล้องกับฤดูกาลใน 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ในฤด