สมุนไพร
คุณสมัย คูณสุข อายุ 55 ปี บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 6 บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรในแปลงอินทรีย์ เพื่ออบแห้งส่งขายให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านบ้านดงบัง ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ประมาณปี 2537 เริ่มปรับเปลี่ยนมาทำไม้ดอกไม้ประดับ เริ่มต้นไปได้สวย รายได้มีขึ้นลงบ้างตามธรรมชาติของตลาด ต่อมาปี 2540 ไม้ดอกไม้ประดับราคาตกต่ำอย่างมาก ชาวบ้านจึงมองหาทางเลือกใหม่ ด้วยการปลูกพืชสมุนไพร เริ่มจากปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริมส่งให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร คุณสมัย เริ่มมีความสนใจที่จะปลูกสมุนไพรจึงได้ไปสอบถามทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศรซึ่งเป็นสถานที่ที่ผลิตยาสมุนไพรควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบันอยู่แล้ว มีการตกลงระหว่างกันว่าบ้านดงบังจะเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรเพื่อป้อนให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร มีการคุยกันและตกลงว่าจะซื้อจึงจะเริ่มปลูก วัตถุดิบที่โรงพยาบาลต้องการในช่วงนั้นคือ หญ้าปักกิ่ง เพราะฉะนั้น สมุนไพรตัวแรกที่ปลูกคือหญ้าปักกิ่ง โดยโรงพยาบาลอภัยภูเบศรได้นำพันธุ์มาให้ทดลองปลูก เมื่อปลูกสำเร็จมีความเจริญงอกงาม นำมาสู่การขยาย มีการปลูกสมุนไพรชนิดอื
คำว่า “สมุนไพร” หมายความว่า ยาที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และบำรุงร่างกายได้ ประเภทของสมุนไพร สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา เช่น เกลือ กำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม การจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยา สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มาจากพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ หรือธาตุวัตถุก็ตาม เวลาจะนำมาใช้เพื่อบริโภค หรือเพื่อการรักษาตามกรรมวิธีจำเพาะอันใดก็ตาม พอจะจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้ดังนี้คือ รูปแบบที่เป็นของเหลว ยาเหล่านี้มักได้จากกรรมวิธีต่างๆ กัน เช่น ยาต้มคือหั่นต้นยาแล้วต้มกับน้ำ ยาชงเป็นยาแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วแล้ว
ย่านางแดงเป็นสมุนไพรสำคัญอีกชนิดหนึ่งของหมอสมุนไพรพื้นบ้าน นอกเหนือจากย่านางที่เราคุ้นเคยกับการคั้นน้ำใส่แกงหน่อไม้หรืออาหารชนิดต่างๆ พ่อหมอ แม่หมอเองก็มีการใช้ย่านางแดงกันอย่างกว้างขวาง ตาเพ็ง สุขบัว หมอยาบ้านปวนพุ เล่าถึงสรรพคุณของย่านางแดงให้ฟังด้วยสำเนียงไทเลย ว่า ย่านางแดงนั้น เป็นยาเกี่ยวกับโรคกษัยไตพิการ เนื่องจากไตไม่ทำงาน จะมีอาการเจ็บหลังด้านที่ไตอยู่ จะรู้สึกเจ็บโยงลงมาที่เหง้าหรือต้นขาด้านใน หากมีอาการนี้ให้ใช้ย่านางแดงทั้งห้า รากกันจ้ำ (หมากก่องข้าว) แก่นไม้มะเฟืองช้าง นำทั้งหมดมาต้มกิน ให้กินแทนน้ำ และที่สำคัญคือ ต้องคละอาหารการกิน คนป่วยจะต้องไม่กินปลาไหล ตุ่น กุดจี่ หากกินจะผิดทันที ไม่หายจากโรค และย่านางเองยังใช้แก้เบื่อแก้เมา แก้ผู้หญิงผิดกรรมหรือผิดกะบูนก็ได้ โดยใช้แก่นจันทน์แดง จันทน์ผา ลำหรือรากย่านางแดง รากซมซื่น (เขยตาย) รากน่องปอม รากสะตีเครือ ฝนกับน้ำท่าหรือน้ำธรรมดากิน หรือนำมาต้มโดยใช้อย่างละสามสี่กีบ ขนาดประมาณนิ้วมือ มัดรวมกันต้มโฮมหรือรมไอน้ำ ให้รมเช้าเย็น ครั้งละครึ่งชั่วโมง และกินน้ำยาด้วย หากผู้หญิงเป็นไข้ทับระดู ก็ให้เอารากย่านางแดงแก่นไม้ลุมพุกแดง (มุ
สมุนไพรต่างประเทศ ไม่ว่าจะใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค หรือจะนำมาประกอบอาหารก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ และมีอยู่มากมายใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด หลายชนิดถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูโปรดของเรา หลายชนิดมีสรรพคุณทางยามากมายและหลากหลายไม่แพ้สมุนไพรไทย แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า สมุนไพรต่างประเทศ และสามารถปลูกในเมืองไทยได้ดี มีอะไรบ้าง ปลูก สมุนไพรต่างประเทศ ในเมืองไทยได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจคิดว่า สมุนไพรต่างประเทศนั้นปลูกยาก เพราะต้องปลูกในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็นและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ แต่ความจริงแล้วเราสามารถปลูกสมุนไพรเหล่านี้ในเมืองไทยได้ เพราะวิธีปลูกและขยายพันธุ์ส่วนใหญ่จะคล้ายกันกับสมุนไพรไทยทั่วไปคือ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ ส่วนการดูแลรักษาอาจแตกต่างกันบ้างตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด บางชนิดต้องการแสงแดดมาก บางชนิดชอบน้ำมาก หรือบางชนิดชอบอยู่ในอุณหภูมิต่ำ การปลูกสมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนรักการปลูกต้นไม้ที่อยากลองปลูกอะไรแปลกใหม่ดูบ้าง สมุนไพรต่างประเทศ อีกหนึ่งทางเลือกของการจัดสวน สมุนไพรรักษาโรค นอกจากจะสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ประกอบอาหารเพื่อสุขภาพได
แวะตลาดด่วน! สธ. เปิดลิสต์ สมุนไพร ล้างพิษฝุ่น PM2.5 หาได้ใกล้บ้าน-สรรพคุณทางยาเพียบ ต้านอนุมูลอิสระ-การอักเสบ เพิ่มสมรรถภาพปอด ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ กรณีฝุ่น PM2.5 แถลงข่าวประจำวัน โดย ดร.ภญ.ดวงแก้ว ปัญญาภู รองผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงานกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 มีสมุนไพร 3 ชนิด ที่มีข้อมูลวิจัยว่า สามารถปกป้องระบบทางเดินหายใจจากฝุ่นพิษในสิ่งแวดล้อมได้ ได้แก่ 1.ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญอย่าง Curcumin ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ รวมถึงเพิ่มสมรรถภาพของปอด โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ โดยประเทศจีนศึกษาว่า หากทานอาหารที่ผสมด้วยขมิ้นชันเพียงเดือนละ 1 ครั้ง สามารถเพิ่มสมรรถภาพปอดได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทาน ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องระวังในการทานขมิ้นชันคือ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็ก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน และห้ามใช้ในผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดตัน นิ่วในถุงน้ำดี เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้ “ปกติจะใช้ขมิ้นชันลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ในช่วงฝุ่น PM2.5 ก็นำมาทานได้ ทั้งในรูปแบบขมิ้นชันสดประมาณ 1 ข้อนิ้ว
ต้นไม้ กับครอบครัวคนไทยเป็นของคู่กัน ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว รอบๆ บ้านหากมีที่ว่าง เวลากินอะไรอร่อย หากมีเมล็ดเจ้าของจะหว่านหรือโยนเมล็ดพืชออกนอกชาน เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมล็ดพืชจะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมาให้เจ้าของเก็บมาใช้ประโยชน์ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รอบบ้านในยุคเก่าก่อน สามารถบ่งบอกได้ว่าชุมชนนั้นตั้งมานานมากน้อยแค่ไหน เช่น ต้นมะพร้าว ที่ขึ้นสูงเลยหลังคาบ้านไปมากๆ เมื่อทางการจะเข้าไปทำนิติกรรมกับชุมชน ชาวบ้านก็อาจจะบอกว่าอยู่มานานแล้ว นานกว่ากฎหมายจะออกมาเสียอีก สำหรับชุมชนเมือง รูปแบบการปลูกต้นไม้เปลี่ยนไป แทนที่จะปลูกลงดิน ก็ใช้กระถาง วางตั้งตามตึกใหญ่ๆ สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้คือ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน งานปลูกพืชแบบนี้ ส่วนใหญ่ใช้กับการปลูกผักสลัด ที่ผ่านมา มีภูมิปัญญาสำหรับการปลูกต้นไม้รอบบ้านบอกไว้อย่างแยบยล วัตถุประสงค์ก็คงอยากให้คนสนใจปลูกพืชหลายๆ ชนิดไว้ เพื่อเกิดประโยชน์ในครอบครัว นอกจากที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว ยังมีผู้แบ่งต้นไม้ที่ปลูกรอบบ้าน โดยแยกประเภทหรือกลุ่ม คือพืชผัก-สมุนไพร ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก-สมุนไพร มีให้เลือกมากมาย พืชผัก-สมุนไพร ใกล้บ้านคน สามารถปลูกได้ห
หลายท่านคงเคยตั้งคำถาม และอยากรู้จัก ว่าพืชผักชนิดนี้มีดีอย่างไร? หลายคนยังไม่รู้จัก ก็อยากจะบอกว่า คนไทยเราเขารู้จักกันมานาน ถึงแม้ว่าจะมีคนบอกกล่าวว่าไม่ใช่พืชพื้นถิ่นของไทยก็ตามที แต่คนไทยเราเขาชอบมากๆ เป็นคนไทยนิยมกินอะไรที่เผ็ดร้อนอยู่แล้ว ผักชนิดนี้นิยมนำมาปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว กลิ่นสาบของเนื้อสัตว์บางชนิด ที่ลำพังข่า ตะไคร้ เอาไม่อยู่ “กะเพราควาย” ชื่อดูดุดัน เรียกกันแถบภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ ในถิ่นภาคเหนือ เรียก “จันทน์จ้อ” และชื่ออย่างเป็นทางการคือ “ยี่หร่า” กะเพราควาย มีชื่อสามัญว่า Shrubby Basil ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimmum gratissimum อยู่ในวงศ์กะเพรา LAMIACEAE เป็นพืชล้มลุก ประเภทพุ่ม อายุยืนกว่าปี ชอบขึ้นที่ดินสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุมาก น้ำดีพอสมควร แต่ก็ขึ้นได้ดีกับดินทุกชนิดเหมือนกัน ต้องการแสงแดดมากพอสมควร เนื่องจากเป็นพืชที่มีใบดก ใบใหญ่ แต่กิ่งก้านเล็ก กรอบ หักง่าย จึงไม่ทนทานต่อสภาพลมแรง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด งอกงาม เจริญเติบโตเร็ว สามารถใช้ใบประกอบอาหาร และทุกส่วนใช้ประโยชน์เป็นยา ได้ตั้งแต่ต้นเล็กๆ อายุเดือนเศษๆ กลิ่นที่ไม่มีใครเหมือน ใช้เป็
ในช่วงฤดูหนาว ประเทศไทยมักเผชิญกับ มลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะค่าฝุ่น PM2.5 สูง เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดต่ำลง สภาพอากาศที่นิ่ง ถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หมอก และควัน ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันมักมีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในระยะนี้ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพิ่มขึ้นสูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยในวงกว้าง เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันในระยะยาว ทำให้ร่างกายมีความไวต่อการติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่ายขึ้น หน่วยงานภาครัฐจึงเตือนให้ประชาชนใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยกรองฝุ่นในบ้าน รวมทั้งสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก เมื่อออกจากบ้าน สมุนไพรไทยช่วยดูแลสุขภาพ ลดผลกระทบ PM 2.5 ได้ ก่อนหน้านี้มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในพระอุปถัมภ์ฯ ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหาแนวทางการวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรกับโรคเรื้อรังและการลดผลกระทบของ PM 2.5 ต่อสุขภาพ ตั้งแต่การ
คนโบราณสมัยก่อน ท่านมักจะนำสมุนไพรประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบสดๆ โดยตรง เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ จากสมุนไพรให้ได้มากที่สุด และเครื่องดื่มรูปแบบชาสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ชาขิง ชามะตูม ชาเก๊กฮวย ชารางจืด ชาคำฝอย และชาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก่อนที่จะแปรรูปมาเป็นชาเพื่อสุขภาพต่างๆ นั้น จำเป็นต้องนำเอาวัตถุดิบเหล่านั้นมาทำความสะอาด แล้วค่อยผ่านกระบวนการอบฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงนำไปเข้าเครื่องตัด สับ บด และต้มสกัด จนได้ตามรูปแบบที่ต้องการ เช่น แบบผงละเอียด หรือของเหลวข้นๆ แล้วนำมาผสมน้ำตาลก่อนเข้าเครื่องอบแล้วพาสเจอร์ไรซ์ บรรจุซองเพื่อใช้และจำหน่ายต่อไป เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดบรรจุซองพร้อมชง ส่วนมากมักจะมีราคาสูง ค่อนข้างสูงกว่าการซื้อสมุนไพรสดมาต้มกินเอง ซึ่งสมุนไพรชนิดพร้อมชงนั้นย่อมมีความสะดวก และให้คุณค่าทางยาที่คงที่กว่าสมุนไพรสดต้มอย่างแน่นอน ชาสมุนไพรของไทย ยังมีการนำส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศบ้าง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น แต่ปัญหาจากการผลิตสมุนไพรก็คือ ปริมาณวัตถุดิบที่ได้มาแต่ละปีมักมีจำนวนไม่แน่นอน เพราะเกษตร
ยุคสมัยก่อน ชาวบ้านดำรงชีวิตเป็นอยู่ทำมาหากินแบบบ้านๆ อาจจะเรียกว่า แบบคนไพรก็คงไม่ผิดนัก สมัยก่อน “ป่า” คือชีวิต คือทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีมากมายที่อยู่บนผืนดิน ทรัพยากรธรรมชาติของโลกและของบ้านเรา ได้แก่ น้ำ อากาศ และดิน บนผืนดินมีสิ่งไม่มีชีวิต คือ น้ำ หิน แร่ อากาศ และสิ่งที่มีชีวิต คือ คน สัตว์ แมลง ป่าไม้ พืชพรรณนานา การจับคู่อยู่อาศัยดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต กับธรรมชาติที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต จึงเกิดขึ้นเอง เกิดมาเนิ่นนานมากแล้ว เอาเป็นว่านานมากๆ และมากๆ ก็แล้วกัน เช่นเดียวกันกับพฤติกรรม แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น แข่งขัน เข่นฆ่า ท้าทาย เสพสมสู่ มันก็เกิดขึ้นมาพร้อมกัน เหตุผลที่เด่นชัด คือการหากิน เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด “คนกินสัตว์ สัตว์กินพืช พืชกินดิน” ในบรรดาพืชในป่าที่คนเอามากิน เชื่อว่า “ผักปู่ย่า” จะเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่คนได้ลองลิ้มชิมรส คงจะกินมาสมัยปู่ย่าของปู่ย่า หลายสิบลำดับชั้นปู่ย่าแล้ว คือนานมามากแล้วนั่นแหละ “ผักปู่ย่า” พบเห็นกันอยู่ในป่าเขตร้อนทั่วไป พบแถบอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย ลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เอาเฉพาะ