เกษตรผสมผสาน
ภาพของภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาโล่งแจ้ง มีต้นไม้ขึ้นสลับบ้าง ฤดูฝนดูเขียวขจีสวยงาม ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวมีสีเหลืองอร่ามของทุ่งรวงทอง ครั้นเข้าสู่หน้าแล้ง อากาศแห้ง แม้แต่น้ำในร่องริมถนนก็เหือดหายไปจนหมด ดูแตกต่างจากภาคอื่นโดยสิ้นเชิง นั่นเป็นภาพส่วนใหญ่ มีผืนดินของอีสานบางแห่ง อุดมสมบูรณ์ ใกล้เคียงกับภาคตะวันออก ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชาและลาว สภาพของดินสีแดงคล้ายดินอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แถบถิ่นนี้จึงปลูกไม้ผลเมืองร้อน จำพวกเงาะ ทุเรียนได้ผลดี งานสวนของที่นี่พัฒนาอย่างช้าๆ มั่นคง มีผลผลิตตอบสนองคนในท้องถิ่นได้อย่างดี โอกาสต่อไปคงเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น คุณไพศาล ยงปัญญา เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 241 หมู่ที่ 7 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ 094-274-9931 เป็นเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการทำสวนผลไม้มากที่สุดคนหนึ่ง เขาปลูกไม้ผล 4-5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ ขนุน มะละกอ ด้วยเหตุนี้จึงมีผลผลิตเก็บจำหน่ายได้ทั้งปี ชมพู่ทับทิมจันท์ มีปลูก 40 ต้น ชมพู่ทับทิมจันท์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ประเทศอินโดนีเซีย คุณประเทือง อายุเจ
สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาให้เกษตรกรเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี โดยขับเคลื่อน โครงการเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงสู่พื้นที่เป้าหมาย สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี มอบหมายให้ สำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 7 อำเภอ ตลอดจนเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไว้ใช้เองในครัวเรือน และการนำวัสดุจากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเข้าไปร่วมดำเนินการและให้ความรู้จากการฝึกอบรม สวนป้าต่อ อำเภอนาดี ต้นแบบเกษตรผสมผสาน สำนักงานเกษตรอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ยกย่อง “สวนป้าต่อ” ของ ป้าต่อ หรือ นางอารีวรรณ คำเขียว ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นหนึ่งในสวนเกษตรต้นแบบด้านเกษตรผสมผสาน สวนป้าต่ออ
อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนินสูง ตำบลวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี วางแผนทำเกษตรหลังเกษียณ เพื่อให้มีงานทำ มีรายได้อย่างต่อเนื่องโดยเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเกษียณจริงถึง 10 ปีเต็ม จนปัจจุบันกลายมาเป็น “คุ้มจันทวงษ์ ” สวนเกษตรผสมผสานที่ปลูกพืชผักไม้ผลนานาชนิด จนถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร ในวันนี้ อาจารย์ธีระพลได้แบ่งปันประสบการณ์ 15 ปีเต็มจากการลองผิดลองถูกบนเส้นทางอาชีพการทำเกษตรที่ตัวเองเลือก ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้สนใจทำเกษตรหลังเกษียณในอนาคต หากใครสนใจแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำเกษตรหรือต้องการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน “คุ้มจันทวงษ์ ” เนื้อที่ 38 ไร่ ตั้งอยู่บ้านเนินหินกอง หมู่ที่ 13 ตำบลวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ติดต่อกับอาจารย์ธีระพล ได้ที่เบอร์โทร. 089-893-7269
คุณโสพี ทองทุม เกษตรกรอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร หลังเกษียณจากงานประจำกลับมาทำเกษตรผสมผสานยังบ้านเกิดของตัวเอง โดยยึดการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ในพื้นที่ทำเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงปลาภายในบ่อน้ำสำหรับใช้ภายในสวน คุณโสพี เล่าว่า เริ่มทำเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2560 แบ่งพื้นที่ที่มีอยู่จำนวน 19 ไร่ มาทำเกษตรผสมผสานอยู่ที่ 3 ไร่ โดยในพื้นที่สำหรับแบ่งมาทำการเกษตร จะดำเนินการขุดบ่อน้ำไว้เพื่อให้ใช้รดพืชผักและไม้ผลต่างๆ และเลี้ยงปลาเข้ามาเสริมด้วย จึงทำให้ภายในบ่อน้ำ นอกจากมีน้ำใช้ทำการเกษตรแล้ว ปลายังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย การปลูกพืชจะเน้นปลูกให้ที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่ไม้ผลที่สร้างรายได้ประจำปีจำพวกมะม่วง มะขามเทศ มะขาม สะเดา ส่วนพืชผักสวนครัวเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นอกจากจะบริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย อาทิ คะน้า กะเพรา ถั่วฝักยาว ฯลฯ เรียกได้ว่ากินอะไรก็ปลูกพืชชนิดนั้น “นอกจากผมจะปลูกพืชแล้ว ผมยังมีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เรียกได้ว่าค่อนข้างครบวงจร เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเรามีของครบอยู่ทุกด้าน ก็จะช่วยใ
สวนฝรั่งสายพันธุ์แดงอโยธยาเบอร์ 3 ผลงานพัฒนาและทดลองของเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก Young Smart Farmer ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาได้ศึกษาการทำเกษตรด้วยตนเองจากก้าวเล็กๆ สู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพาะต้นพันธุ์ขายส่งออกต่างประเทศรายได้ปีหนึ่งเกือบ 7 หลัก! คุณเมธาพล คุณาไทย หรือ คุณต้น เจ้าของสวนคุณาไทยเกษตรผสมผสาน และเจ้าของสายพันธุ์แท้แดงอโยธยาเบอร์ 3 จากอดีตพนักงานออฟฟิศที่ทำงานมากว่า 10 ปี ก่อนจะผันตัวมาทำสวนผลไม้จนประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นของสายพันธุ์แดงอโยธยาเบอร์ 3 ต้องเล่าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน คุณต้นได้เริ่มปลูกฝรั่งไต้หวัน ซึ่งในตอนนั้นมันจะมีด้วยกันหลักๆ อยู่ 2 สายพันธุ์ คือ “หงเป่าสือ” กับ “ซีกัวปาล่า” หากถามว่าฝรั่งทั้ง 2 มีความแตกต่างกันอย่างไร? “ต้องเล่าอย่างนี้ครับคือ ตัวของซีกัวปาล่าจะมีความดก ข้อเสียคือ มีเมล็ดเยอะ ส่วนหงเป่าสือ ข้อดีคือ มีรสชาติที่อร่อยมาก แต่ข้อเสียของหงเป่าสือคือ ติดผลยาก” คุณต้นเลยเกิดความคิดขึ้นมาว่า “เราจะทำยังไงให้ฝรั่งมันดกแล้วอร่อย” จึงเกิดการทดลองนำ 2 สายพันธุ์ที่สวนปลูกไว้มาผสมกันโดยใช้วิธีการผสมเกสร และได้เพาะเมล็ดออกมาหลายร
คุณสำรวย แตงขาว ใช้พื้นที่ 3 ไร่ ปลูกผักสวนครัว อายุเก็บเกี่ยวสั้น อาศัยทักษะบริหารจัดการวิธีปลูกแบบหมุนเวียน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สร้างรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ผู้สนใจสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องการปลูกผักและกลยุทธ์การขาย กับ คุณสำรวย แตงขาว ได้ที่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 3 ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. เบอร์โทร. (091) 409-4337 . .
คำว่า “พอเพียง” ยังใช้ได้ดีเสมอกับทุกยุคทุกสมัย เพราะถ้าทุกคนมีความพอเพียง ไม่อยากมี อยากได้ จนเกินความจำเป็น ชีวิตก็จะมีความสุขขึ้นเป็นกอง ดังเช่น ลุงจ่อย-สุริยา บุญทะสอน อดีตหัวฝ่ายผลิตที่โรงงานแห่งหนึ่ง ย่านสมุทรปราการ ยอมทิ้งเงินเดือนครึ่งแสน กลับบ้านมาทำเกษตร ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ได้อยู่ร่วมกับครอบครัว มีกิน มีใช้ ไม่ขัดสน ลุงจ่อยบอกว่านี่คือความสุขที่สุดแล้ว คุณสุริยา บุญทะสอน หรือ ลุงจ่อย อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 277 หมู่ที่ 3 บ้านโนนรังน้อย ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี อดีตหัวหน้าฝ่ายผลิต ประจำโรงงานแห่งหนึ่ง ย่านสมุทรปราการ ตัดสินใจทิ้งเงินเดือนครึ่งแสน กลับบ้านเกิดที่อุบลราชธานี มาทำเกษตรผสมผสาน ยึดหลักเกษตรพอเพียงในการดำเนินชีวิต “พออยู่ พอกิน พอใช้” เน้นใช้ชีวิตให้มีความสุขทุกวัน ลุงจ่อย เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาทำเกษตร ตนเองทำงานเป็นพนักงานโรงงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายผลิต ทำมานานกว่า 33 ปี รับเงินเดือนกว่าครึ่งแสน จนมาถึงวันที่ต้องคิดถึงวัยเกษียณออกจากงานแล้วจะกลับไปทำอะไร และก็โชคดีที่ตนเองมีลูกชายเรียนจบปริญญาตรี ด้านการจัดการการตลาด ซึ่งลูกชายก็ได้มาทำงานโรงงา
เส้นทางความสำเร็จของคนแต่ละคนนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน บางคนประสบความสำเร็จได้ด้วยการลงมือเพียงไม่กี่ครั้ง แต่กลับบางคน การจะได้มาซึ่งความสำเร็จต้องอาศัยความเพียรพยายามและการลองผิดลองถูกมานับครั้งไม่ถ้วน เช่นเดียวกับ ‘ป้านา’ หรือ ‘ธนพร โพธิ์มั่น’ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ฟาร์มเห็ดป้านา’ และผู้นำต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่โคกหนองนาอารยะเกษตร ที่ต้องใช้การลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งกว่าจะเป็นป้านาที่หลาย ๆ คนรู้จักในปัจจุบันนี้ โดยก่อนหน้าที่จะหันมาทำการเกษตร ป้านาทำอาชีพเป็นผู้ช่วยพยาบาลมาก่อน จากนั้นก็ได้เปลี่ยนสายงานไปเป็นเจ้าหน้าที่ในห้องแลปวิเคราะห์อาหารสัตว์ และหลังจากทำงานอยู่ในห้องแลปมาเป็นระยะเวลายาวนานจนสุขภาพเริ่มย่ำแย่ ก็ได้หันมาทำการเกษตรผสมผสานด้วยหลักการบริหารงานแบบคนจน สร้างความหลากหลายในพื้นที่ เพาะเห็ด ปลูกผัก และหันมาเริ่มจากการทำอะไรเล็ก ๆ แต่รอบคอบแม่นยำ มากกว่าที่จะเป็นการทำอะไรใหญ่ ๆ แต่ขาดการไตร่ตรองและความรู้ความเข้าใจ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูว่ากว่าจะมาเป็นฟาร์มเห็ดป้านาในทุกวันนี้ ป้านาได้ตกตะกอนและมีเรื่องราวอะ
“ทุกวันนี้โอ๋ภูมิใจกับอาชีพเกษตรของโอ๋มาก เพราะเราเลือกที่จะทำ เลือกในสิ่งที่ชอบมาตั้งแต่แรก เราไม่ได้ทำเพราะว่าเราไม่มีอะไรจะทำ แต่เราทำเพราะเราอยากทำ มันเลยมีความสุขในระหว่างทางอยู่แล้ว ถามว่าตรงนี้สำเร็จหรือไม่อย่างไร โอ๋ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าเราทำสำเร็จไปแค่ไหน แต่เรารู้ว่าระหว่างทางที่เราเดิน หรือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่เรามีความสุขมาก หากวันข้างหน้าเกิดอะไรขึ้นเราก็ไม่เสียดายแล้ว เพราะเราได้ทำเต็มที่กับที่สมองเราคิดแล้ว” ความในใจของคุณโอ๋ที่มีต่ออาชีพเกษตร ซึ่งผู้เขียนเชื่ออย่างเต็มร้อยว่าสิ่งที่คุณโอ๋สื่อสารออกมาน่าจะโดนใจใครหลายๆ คน คุณพรนภา เจริญถิ่น หรือ คุณโอ๋ เจ้าของบ้านเฉลี่ยสุขฟาร์ม อยู่บ้านเลขที่ 46/2 หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง อดีตพนักงานการเงิน ผันตัวเป็นเกษตรกรอินดี้ ปลูกผักตามใจตัวเอง เน้นผลิตสินค้าคุณภาพ แม้มีพื้นที่ไม่มาก แต่ทำรายได้ครึ่งหมื่นต่อวัน คุณโอ๋ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกร เคยทำงานประจำในตำแหน่งพนักงานการเงินมาก่อน ทำมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี จนมาถึงจุดเปลี่ยนในวัยที่อายุครบ 27 ปี ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพราะด้วยนิสัยส่วน
“แรกๆ ใครก็หาว่าบ้า มีที่ดินดีๆ เอามาปลูกสวนป่า ปลูกไปเมื่อไร จะโต เชื่อสิยังไงก็ไปไม่รอด” คำพูดเหล่านี้หญิงแกร่งคนนี้ ไม่เคยลืม แต่ ณ ปัจจุบัน คำพูดสบประมาทเหล่านี้ ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง หากคนเรามุ่งมั่น และมีแบบแผน อย่างไรแล้วความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล คุณธวัลรัตน์ คำกลาง เกษตรกรดีเด่น ปี 2561 อยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หญิงผู้รักต้นไม้ รักป่า ชอบสีเขียวเป็นชีวิตจิตใจ เล่าถึงความเป็นมาของสวนป่าว่า แรกเริ่มพื้นที่ตรงนี้พ่อกับแม่อพยพมาจากอำเภอสูงเนิน แล้วมาได้งานเฝ้าสวนที่ตำบลวังกะทะ แต่เวลาผ่านไปเจ้าของที่จะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจึงเอ่ยปากขายที่ให้กับพ่อแม่ของตน พ่อกับแม่จึงตกลงซื้อ แต่ตอนนั้นซื้อแบบเงินผ่อน โดยมีพ่อแม่และพี่น้องช่วยกันผ่อน ที่ดินจำนวน 100 ไร่ และเมื่อตนมีครอบครัวพ่อแม่ก็แบ่งสันปันส่วนที่ให้กับเราและพี่น้องอีก 6 คน คุณธวัลรัตน์ ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมา 24 ไร่ เพื่อนำมาปลูกป่าที่ตนเองรักและสร้างครอบครัวต่อไป แรกเริ่มปลูกสวนป่า เพราะความชอบไม่ได้คิดอะไร คุณธวัลรัตน์ เป็นคนชอบป่า ชอบสีเขียว ชอบความสงบของป่า อยู่แล้วตั้