เกษตรผสมผสาน
การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกาหรือกฎตายตัว ว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ทั้งนี้ เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน เพียงแต่การผสมผสานนี้ขอให้ยึดหลัก สร้างความร่มรื่น แล้วให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกันมีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน คุณจินดา ฟั่นคำอ้าย อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อดีตศึกษานิเทศก์ จังหวัดลำปาง เป็นอีกท่านหนึ่งที่สนใจการทำเกษตรผสมผสาน แล้วตั้งใจเดินตามแนวทางนี้ในบั้นปลายชีวิต จึงวางแผนล่วงหน้าก่อนจะเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา อดีตศึกษานิเทศก์ท่านนี้ให้เหตุผลที่เลือกแนวทางการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เนื่องจากสมัยที่รับราชการได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ตลอดจนศึกษาหาความรู้ด้านการทำเกษตรหลายแห่ง หลายด้าน ล้วนพบว่าการทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะเกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก เพราะรายได้ของการมีชีวิตแบบชาวไร่ ชาวนา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำเกษต
ในการทำเกษตรกรรม “ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญเท่ากับ “น้ำ” และถ้าทั้งสองอย่างมีความสมบูรณ์เกื้อกูลกันแล้วก็จะสร้างความมั่นคง ตลอดจนความแข็งแรงทางการเกษตรอย่างแน่นอน ดินไม่ดี หรือดินที่ขาดคุณภาพย่อมส่งผลร้ายต่อภาคการเกษตรกรรม ที่ผ่านมาพบว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดคุณภาพและเสื่อมลงเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีในปริมาณสูงติดต่อกันยาวนาน สร้างปัญหา ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร “จันท์นิภา หวานสนิท” หญิงเก่ง แห่งเมืองกระบี่ เกษตรกรต้นแบบสภาเกษตรกรแห่งชาติ สาขาเกษตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหัวข้อ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้หลักพึ่งตนเอง และอยู่อย่างพอเพียง นับเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ จันท์นิภา หวานสนิท อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 7 บ้านใสสด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เป็นอีกคนหนึ่งที่น้อมนำแนวทางของพระองค์มาใช้ในอาชีพเกษตรกรรมจนประสบความสำเร็จ ในอดีตครอบครัวของจันท์นิภาประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ดูจะต้องต่อสู้กับความยากลำบากอันเนื่องมาจ
ผลจากสภาวะทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการประกอบเกษตรกรรมในยุคก่อนที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ พอเกิดปัญหาความแปรปรวนทางธรรมชาติจึงสร้างความเสียหายโดยตรงกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทันที ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกับรายได้ในการทำมาหากิน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเคมี สู่อินทรีย์ “สมัย แก้วภูศรี” เกษตรกรต้นแบบ สภาเกษตรกรแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ที่ลำพูน ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมผสานบนเงื่อนไขของความพอเพียง พึ่งพาตนเอง และลดรายจ่าย เมื่อชาวบ้านได้น้อมนำไปปฏิบัติต่างประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้า อีกทั้งบางรายสามารถผลักดันไปสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์แล้วจับมือกับกลุ่มธุรกิจเปิดตลาดเป็นสินค้าออร์แกนิก คุณสมัย แก้วภูศรี หรือ ลุงสมัย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนสองพิมพ์ เลขที่ 45/1 หมู่ที่
ปีนี้ไปทางไหนคนก็บ่นเรื่องความแห้งแล้ง ความไม่ปกติของธรรมชาติทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี เกษตรกรที่อาศัยธรรมชาติ จำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมการรับมือไว้ เพื่อสู้กับความแห้งแล้งนี้ ช่วงวันอาทิตย์ก่อนปั่นจักรยานผ่านไปทางตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา เห็นเกษตรกร สามีภรรยาคู่หนึ่งกำลังมัดผักกาดอยู่ที่แปลงผัก เลยลงไปพูดคุยด้วย ทราบชื่อว่า คุณเจริญ ปัญญาชื่น อยู่บ้านเลขที่ 349 หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ด้วยวัย 55 ปี มีลูก 2 คน คนโตเรียนจบแล้ว ทำงานเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช คนสุดท้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม ตั้งอยู่ตำบลติดกัน ถามว่าลูกชายมาช่วยงานบ้างหรือเปล่า คุณเจริญ ส่ายหน้า บอกว่าไม่เหมือนสมัยลูกสาวเรียน เดี๋ยวนี้ลูกชายมีแต่กิจกรรมของโรงเรียน วันหยุดก็ต้องเรียนพิเศษ ก็อาศัย 2 แรง สามีภรรยา หากวันไหนที่ต้องเก็บผักชีซึ่งต้องใช้แรงงานมาก ก็ต้องจ้างแรงงานเพื่อนบ้านมาช่วย คุณเจริญ เล่าว่า ที่ดินที่ปลูกผักเป็นมรดกที่คุณพ่อมอบให้ จำนวน 2 ไร่ 2 งาน สันนิษฐานว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นชุมชน ดึกดำบรรพ์ หลายพันปีมาแล้ว เป็นแนวทางน้ำเพราะ
บ้านกะลุบี เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมเทือกเขาบูโด อยู่ในเขตอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี สภาพแวดล้อมภูมิอากาศแบบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรม รายได้หลักคือ ยางพารา กะพ้อ แม้เป็นเพียงอำเภอเล็กๆ แต่มีเรื่องราววิถีชีวิตผู้คนที่น่าสนใจอยู่มากทีเดียว เช่น ปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรนักพัฒนาผู้ริเริ่มโครงการปลูกพืชพันธุ์เกษตรทางเลือกต่างๆ ให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ใช้เวลาว่างและเพิ่มเติมรายได้ เนื่องจากราคายางพาราขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะที่ตกต่ำ ชาวบ้านที่รู้จักกันเรียกขานกันว่า แบเซ็ง แบเซ็ง หรือ แวอุเซ็ง แต วัย 61 ปี อาชีพเดิมเป็นเช่นชาวบ้านทั่วไป ยึดอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ด้วยมีความรักในอาชีพเกษตรกรรม จึงหมั่นเพียรเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผ่านการฝึกอบรมดูงานภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ และกลับมาทดลองในแปลงของตนเอง บนพื้นที่ 2 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 15/1 หมู่ที่ 7 บ้านกะลุบี อำเภอกะพ้อ โทร. (081) 275-6642 จนเริ่มเข้าใจเรื่องดิน เรื่องสมุนไพรต่างๆ การกินผักเป็นยา แบบคนในสมัยอดีต จากสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติ แบเซ็ง บอกว่า จากการที่ได้เรียนรู้อย่างจริงจังและนำมาปฏิบัติจริงจนประสบผ
วงศ์สถิตย์-บุปผา โมราษฎร์ อดีตข้าราชการครูลาออก วางชอล์กและไม้เรียว หันมาทำธุรกิจหวังรวย สุดท้าย ล้มเหลว ถูกยึดทรัพย์ จากชีวิตที่แทบหมดตัวหันมาทำเศรษฐกิจแบบพอเพียง สามารถมีทรัพย์สินส่งลูกเรียนหนังสือจนประสบผลสำเร็จได้ มีโอกาสพบกับ คุณร่มไม้ นวลตา เกษตรจังหวัดสกลนคร คุณร่มไม้ แนะนำว่า มีเกษตรกรรายหนึ่ง อยู่ที่ 148 หมู่ที่ 7 บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร อดีตเป็นข้าราชการครูทั้ง 2 คน สามี-ภรรยา ได้ลาออกจากข้าราชการครู หันมาทำธุรกิจหลายอย่าง แต่สุดท้าย มาเจอพิษเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เมื่อประมาณ ปี 2540 ทำให้ล้มเหลวและถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ชีวิตเร่ร่อน ไม่นอนบ้านกว่า 4 ปี สุดท้าย ได้คิดและหันกลับมาทำเกษตรผสมผสานแบบพอเพียง ในผืนดินที่ร้องขอจากผู้ยึดทรัพย์ ให้โอกาสพลิกพื้นแผ่นดิน 43 ไร่ ของตนเอง ปัจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้ งานเกษตรผสมผสาน หมู เห็ด เป็ด ไก่ นา สวน บ้านเซือม ไปไม่ยาก ออกจากตัวจังหวัดสกลนคร มุ่งหน้าไปตามถนนสาย สกลนคร-อุดรธานี ยามหน้าแล้งสองข้างทางมีคลองส่งน้ำจากเขื่อนน้ำอูน ตัดเป็นบางช่วง แต่ไม่มีน้ำในคลอง เนื่องจากเป็นช่วงงดปล่อยน้ำ ทำให้พื้นที่แห้งแล้ง เห็นนาป