เกษตรผสมผสาน
ต้นไม้ กับครอบครัวคนไทยเป็นของคู่กัน ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว รอบๆ บ้านหากมีที่ว่าง เวลากินอะไรอร่อย หากมีเมล็ดเจ้าของจะหว่านหรือโยนเมล็ดพืชออกนอกชาน เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมล็ดพืชจะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมาให้เจ้าของเก็บมาใช้ประโยชน์ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รอบบ้านในยุคเก่าก่อน สามารถบ่งบอกได้ว่าชุมชนนั้นตั้งมานานมากน้อยแค่ไหน เช่น ต้นมะพร้าว ที่ขึ้นสูงเลยหลังคาบ้านไปมากๆ เมื่อทางการจะเข้าไปทำนิติกรรมกับชุมชน ชาวบ้านก็อาจจะบอกว่าอยู่มานานแล้ว นานกว่ากฎหมายจะออกมาเสียอีก สำหรับชุมชนเมือง รูปแบบการปลูกต้นไม้เปลี่ยนไป แทนที่จะปลูกลงดิน ก็ใช้กระถาง วางตั้งตามตึกใหญ่ๆ สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้คือ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน งานปลูกพืชแบบนี้ ส่วนใหญ่ใช้กับการปลูกผักสลัด ที่ผ่านมา มีภูมิปัญญาสำหรับการปลูกต้นไม้รอบบ้านบอกไว้อย่างแยบยล วัตถุประสงค์ก็คงอยากให้คนสนใจปลูกพืชหลายๆ ชนิดไว้ เพื่อเกิดประโยชน์ในครอบครัว นอกจากที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว ยังมีผู้แบ่งต้นไม้ที่ปลูกรอบบ้าน โดยแยกประเภทหรือกลุ่ม คือพืชผัก-สมุนไพร ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก-สมุนไพร มีให้เลือกมากมาย พืชผัก-สมุนไพร ใกล้บ้านคน สามารถปลูกได้ห
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) เปิดเผยถึงการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานและนวัตกรรมเกษตร บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายวีระศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดินระดับจังหวัด ประจำปี 2568 สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานและผู้ก่อตั้ง ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำการเกษตรผสมผสาน การใช้นวัตกรรมทางการเกษตร โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาวะที่ภาคเกษตรต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง และความท้าทายหลายด้าน เกษตรผสมผสานจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก สศท.8 ลงพื้นที่ติดตามและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสัมภาษณ์นายวีระศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ บอกเล่าว่า ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาจากสวนยางพารา บนพื้นที่ 12 ไร่ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มรายได้ แบ่งเป็น 1. แปลงเรียนรู้การทำสวน
ในเมื่อชีวิตต้องดำเนินต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จะเดินหน้าไปต่ออย่างไรให้มีคุณภาพและมีความสุข ฉบับนี้ผู้เขียนจึงไม่พลาดที่จะสรรหาและหยิบยกนำเรื่องราวการทำเกษตรดีๆ มาถ่ายทอดเป็นตัวอย่างให้กับทุกท่านที่กำลังท้อแท้กับชีวิตให้กลับมาลุกขึ้นสู้อีกครั้ง คุณคำภา ไชยมาตย์ อยู่บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่ 2 ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เกษตรกรยุคโควิด-19 และถือเป็นการใช้โอกาสในช่วงเกิดวิกฤตกลับมาทำในสิ่งที่ตนเองรัก แต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำ นั่นก็คือการเป็นเกษตรกร กลับมาเนรมิตที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ พร้อมเปิดเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตบ้านทุ่ง ให้คนในชุมชนได้เข้ามาเลือกซื้อวัตถุดิบไปประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย ราคาย่อมเยา รวมถึงมีการแบ่งปัน ลด แลก แจก แถม เพื่อช่วยพี่น้องให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันโหดร้ายนี้ไปให้ได้ คุณคำภา เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำงานรับเหมาตัดเย็บกระเป๋าผ้าพื้นเมืองมาก่อน แต่ด้วยเหตุการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทำให้งานตัดเย็บที่เคยทำก็ไม่มีให้ทำ แต่เงินจำเป็นต้องใช้ทุกวัน จึงได้ลองหันกลับมามอ
ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรไปสู่การเกษตรยุคใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนภาคการเกษตร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบยุคใหม่ประจำปี 2024 จำนวน 5 สาขาที่มีผลงานโดดเด่น ทั้งด้านทักษะความสามารถในการปรับตัว สร้างความหลากหลายของผลผลิต สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สุดยอดเกษตรกรกรแห่งปี 2024 ซึ่งเป็นต้นแบบเกษตรยุคใหม่ จำนวน 5 สาขา ได้แก่ . 1.สาขา สินค้าเกษตรมูลค่าสูง : อดีตวิศวะต่อยอดสวนมะนาวสู่ คาเฟ่ Lemon Me Farm อ่านเพิ่มเติมได้ที่ . อดีตวิศวะ ต่อยอดสวนมะนาว ใช้เทคนิค “คลุมถุง” มะนาวติดลูกดก สร้างเงินล้าน . สาขา เกษตรผสมผสาน : ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน“คุ้มจันทวงษ์” กับสารพัดพืชทำเงิน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_298022 . สาขา เกษตรหลังเกษียณ : ข้าราชการเกษียณทำสวนคนเดียว 30 ไร่ด้วยนวัตกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_297841 . สาขาเกษตรอินทรีย์ : อดีตช่างภาพพูลิตเซอร์ ทำนาอินทรีย์ สืบสานพันธุ
นายชายศักดิ์ วุฒิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า การเกษตรแบบผสมผสานเป็นระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกษตรกรให้ความสนใจ เพราะในพื้นที่ที่ทำการเกษตรนั้น สามารถมีผลผลิตหลายชนิดออกขายสู่ตลาดได้ ตั้งแต่ผลผลิตที่เป็นพืชผักไม้ผล ตลอดไปจนถึงในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์ จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน ในสภาวะที่ภาคเกษตรไทยเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ดังนั้น เกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคงสำหรับเกษตรกร จากต้นแบบของเศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) ของ สศท.12 ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน คือ นายสรรเสริญ สวรรค์บรรพต ศกอ. อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร อีกทั้งยังเป็นผู้จัดการแปลงใหญ่ผักตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานแ
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคเกษตร นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรมีการจัดการแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา ต้นทุน และมีรายได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการพัฒนาที่มุ่งสู่เกษตร 4.0 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น สร้างรายได้ดี มีความมั่นคง และยั่งยืน คุณขวัญชัย แตงทอง เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) เป็นชาวนาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกข้าวและทำเกษตรปลอดสารพิษ ได้รับมาตรฐาน GAP ข้าวปลอดสารพิษ และได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปัจจุบัน คุณขวัญชัยเป็นประธานศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอหันคา (ศพก.หันคา) และประธานแปลงใหญ่ข้าวบ้านบึงม่วง ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่งได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาทำนา ปี 2562 รางวัลรองชนะเลิศแปลงใหญ่ดีเด่น ปี 2565 รางวัล ศพก. ดีเด่นระดับเขต (ภาคกลาง) ปี 2565 เดิมคุณขวัญชัยทำเกษตรเชิงเดี่ยวโดยปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว และประสบปัญหาเรื่องการแพ้สารเคมี จึงได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เพื
เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่อีกคนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล และถือว่าประสบความสำเร็จในอาชีพเพียงระยะเวลาไม่กี่ปี คุณกิตตินันท์ นุ้ยเด็น บัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งตั้งแต่เรียนจบมาเมื่อปี 2549 ยึดอาชีพเกษตรกรรมมาโดยตลอด เริ่มเมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบัน มีแปลงเกษตรทั้งหมด 60 ไร่ ปลูกพืชหลายชนิด แต่ที่ทำเป็นหลักคือ มะละกอฮอลแลนด์ มะละกอแขกดำ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง หนุ่มวัย 35 ปี รายนี้ เป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ในโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นเจ้าของไร่ “อ.การเกษตร.” อยู่ที่ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ซึ่งเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากสวนยางพาราที่มีอายุกว่า 30 ปี มาปลูกปาล์มน้ำมัน และพืชผักผลไม้แทน เพราะมองว่าทำเงินได้ดีกว่า อีกส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุราคายางตกต่ำ มีรายได้ทุกวัน วันนี้เขามีรายได้เฉลี่ย เดือนละ 30,000-50,000 บาท โดยไม่ต้องไปเป็นมนุษย์เงินเดือน มีความสุขอยู่กับเรือกสวน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ และใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตและแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งสอบถามผู้รู้ คุณกิตตินันท์ เล่าว่า ในพื้นที่ 60 ไร่ แบ่งเป็น 2 แปลง
ภายในสวนยางอ่อนก่อนเปิดกรีด สามารถปลูกพืชอื่นได้หลากหลายชนิดที่เรียกว่าพืชแซมยางและพืชร่วมยาง ซึ่งชาวสวนยางขนาดเล็กจะคุ้นเคยกับการปลูกข้าวไร่ พืชไร่ หรือพืชผักในสวนยางเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือจำหน่ายเพื่อเสริมรายได้ในครอบครัว พืชแซมยางและพืชร่วมยางควรจะเป็นพืชที่ไม่รบกวนต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหรือทำให้ผลผลิตของต้นยางลดลง โดยปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี ส่วนพืชร่วมยางคือ พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางโดยอาศัยร่มเงาของต้นยางเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต สามารถปลูกได้ตั้งแต่ต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ดังในพื้นที่ภาคตะวันออกภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรทฤษฎีใหม่ที่จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกยางพารา นำกล้วยป่ามาปลูกเป็นพืชแซม เช่น กรณีของแปลงส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ของ คุณละมัย สนวัตร์ เกษตรกร หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไร่ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำหลักการการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยให้การส่งเสริมตามหลักเศรษฐกิจพ
ในยุคที่เศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ มีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอาชีพการงานจะสร้างกำไรได้มากแค่ไหน ก็มีอันต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดั่งการโดนต้องคำสาปเลยทีเดียว แต่สำหรับเขาคนนี้ คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย ที่เล็งเห็นถึงทางออก โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางงานเกษตร และเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว “เกษตรนี่มันไม่ใช่ทางเลือก แต่มันเป็นทางรอดของเรา” นี่คือคำกล่าวของคุณอภิศักดิ์ เกษตรกรหนุ่มชาวโคราช ที่อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย จากนักเรียนนอก สู่การเป็นเกษตรกรพื้นบ้าน คุณอภิศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ และปริญญาโทเอกภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาสได้โควต้าไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้รู้จักกับอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ท่านก็มีความรู้ความเข้าใจและค่อนข้างสนใจเรื่องของสหกรณ์การเกษตร ท่านก็มักจะพาไปดูการทำเกษตรในพื้นที่ต่า
ละออง ภูจวง อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 16 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 087-145-6552 เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ซึ่งได้ใช้ความพยายามฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและเกษตรกรทั่วไป คุณละออง เล่าให้ฟังว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี 2544 ได้ไปสมัครงานและเข้าทำงานที่บริษัท ไทยซัมมิกฮาร์เนส นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แผนกวางแผนและควบคุมการผลิต ตำแหน่งพนักงานทั่วไป ทำหน้าที่แจกจ่ายเอกสาร และธุรการทั่วไป ทำงานได้ 9 ปี และระหว่างนี้ยังศึกษาต่อจนจบ ปวส. ที่โรงเรียนเทคโนโลยีศรีราชา (ภาคค่ำ 2 ปี) อีกด้วย จุดเปลี่ยนอาชีพต่อสำนึกรักบ้านเกิด ตลอดระยะเวลาของการทำงานที่บริษัท ไทยซัมมิกฮาร์เนส นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นไปด้วยดีด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำ เป็นที่ยอมรับของนายจ้าง และเป็นที่รักใคร่ของพี่ เพื่อน และน้องๆ ในบริษัท แม้การทำงานที่บริษัทจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่ปัญหาเรื่องส่วนตัวเริ่มเกิดขึ้นด้วยสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ให้กำเนิดเริ่มเข้าสู่วัยชรา ไม่ม