เกษตรผสมผสาน
คุณลุงประเสริฐ รัมมันต์ เรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมีเครื่องบินญี่ปุ่นมาทิ้งระเบิดที่บางกอกจึงต้องอพยพไปเรียนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ครูจึงแนะให้ไปเรียนที่โรงเรียนจ่าทหารเรือในปี พ.ศ.2488 ถนนวิทยุ เรียนอยู่ 2 ปี ก็สอบติดจ่าโท ประจำการเป็นช่างอยู่โรงเรียนจ่าทหารเรือ เมื่อมีกบฎแมนอัตตั้นในปี พ.ศ.2494 โรงเรียนถูกยึด เขาเตรียมลาออกจะเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยสำรอง แต่โรงเรียนนายร้อยสำรองไม่รับเพราะเป็นทหารเรือ เขาจึงย้ายสังกัดเข้ากรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหมในยศจ่าเอก ปัจจุบันคือกองบัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาได้มีโอกาสเรียนช่างไฟฟ้า โรงเรียนช่างกลางคืนของกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เพราะประเทศขาดแคลนช่างในช่วงนั้น โรงเรียนดังกล่าวเปิดเพียงระยะสั้นในปี พ.ศ.2492-2500 ก็ยุบกิจการ วุฒิการศึกษาเทียบเท่าอนุปริญญาจึงต้องมีตำแหน่งนายร้อยแต่อัตราที่กรมเสนาธิการไม่มี จึงย้ายไปบรรจุเป็นเรืออากาศตรีในปี พ.ศ.2499 ที่กรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ จนกระทั่งตำแหน่งสุดท้ายมียศนาวาอากาศโท หัวหน้าหน่วยฐานย่อยที่ 2 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ จังหวัดกาญ
การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ด้วยการนำกิจกรรมทางด้านเกษตรทั้งพืช ผัก ผลไม้และสัตว์ มาอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อทำให้เกิดการผสมกลมกลืน เกื้อกูลกันตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมองว่า เป็นการลดความเสี่ยงและประกันความแน่นอนในเรื่องรายได้ “สวนป่ายงพฤกษา” ตั้งอยู่เลขที่ 73 หมู่ 9 ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณภายในสวนแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 30 ไร่ ได้จัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมทางการเกษตรไว้อย่างมีระเบียบ ทั้งไม้ป่าเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ไม้ผล ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไก่พื้นบ้าน หมู และปลาในลักษณะการเกษตรแบบผสมผสาน ลุงทองกาว ยงพฤกษา เจ้าของสวนป่ายงพฤกษา อดีตเคยเป็นราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าหรือ รสทป.เผยว่าภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในฐานะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้ว ได้เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชไร่อย่างข้าวโพด พริก หรือผักต่างๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมบนเขาค้อที่มีความสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้และป่ามีอากาศชื้น จึงไม่เอื้อต่อการปลูกพืชบางชนิด จากนั้นจึงเปลี่ยนมาทดลองปลูกไผ่ตงเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่ประสบความส
ในยุคที่เศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ มีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอาชีพการงานจะสร้างกำไรได้มากแค่ไหน ก็มีอันต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดั่งการโดนต้องคำสาปเลยทีเดียว แต่สำหรับเขาคนนี้ คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย ที่เล็งเห็นถึงทางออก โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางงานเกษตร และเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว “เกษตรนี่มันไม่ใช่ทางเลือก แต่มันเป็นทางรอดของเรา” นี่คือคำกล่าวของคุณอภิศักดิ์ เกษตรกรหนุ่มชาวโคราช ที่อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน จากนักเรียนนอก สู่การเป็นเกษตรกรพื้นบ้าน คุณอภิศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ และปริญญาโทเอกภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาสได้โควต้าไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้รู้จักกับอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ท่านก็มีความรู้ความเข้าใจและค่อนข้างสนใจเรื่องของสหกรณ์การเกษตร ท่านก็มักจะพาไปดูการทำเกษตรในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศญี่ป
คุณสุธรรม จันทร์อ่อน อยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 10 บ้านหนองไข่กา ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 เดิมคุณสุธรรม ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมุ่งผลิตตามความต้องการของตลาด ใช้สารเคมีเต็มที่ ปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวโดยมุ่งหวังผลผลิตในปริมาณสูงต่อรอบการปลูก บนพื้นที่ 17 ไร่ มีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการใช้ที่ดินดั้งเดิมคือ การปลูกข้าวสลับกับการปลูกพืชผัก ต่อมาทำไร่อ้อยซึ่งพบว่ามีผลผลิตที่ดีในช่วงแรก แต่เมื่อปลูกซ้ำหลายครั้งสภาพดินเริ่มเสื่อมโทรม ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นในการควบคุมและจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน ส่วนต่างระหว่างต้นทุนและกำไรเริ่มลดน้อยถอยลง ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกฝ้ายซึ่งให้ผลผลิตสูงในช่วงแรกเช่นเดียวกัน แต่เมื่อปลูกหลายๆ รอบ ประสบปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชระบาด แมลงปรับตัวต่อสารเคมีและดื้อยา ทำให้ต้องซื้อยาปราบศัตรูพืชที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ จนประสบปัญหาไม่คุ้มทุน ต่อมาจึงได้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีการลงทุนที่สูงมาก พบว่ารายได้แทบจะไม่คุ้มทุนในปีแรก ในปีที่สองได้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งและปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อนำต้
เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี มาบอกเล่าสู่กัน คุณยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่การเกษตร 418,781 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 377,826 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 11,002 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชสวน เช่น ปลูกไม้ผล พืชผัก 26,895 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 1,189 ไร่ และพื้นที่ประมง 1,869 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เป็นงานเกษตรที่ทำตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง โดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้วางแผนการปลูกและ
ละออง ภูจวง อายุ 34 ปี ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 16 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ (087) 145-6552 เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ซึ่งได้ใช้ความพยายามฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและเกษตรกรทั่วไป คุณละออง เล่าให้ฟังว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี 2544 ได้ไปสมัครงานและเข้าทำงานที่บริษัท ไทยซัมมิกฮาร์เนส นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แผนกวางแผนและควบคุมการผลิต ตำแหน่งพนักงานทั่วไป ทำหน้าที่แจกจ่ายเอกสาร และธุรการทั่วไป ทำงานได้ 9 ปี และระหว่างนี้ยังศึกษาต่อจนจบ ปวส. ที่โรงเรียนเทคโนโลยีศรีราชา (ภาคค่ำ 2 ปี) อีกด้วย จุดเปลี่ยนอาชีพต่อสำนึกรักบ้านเกิด ตลอดระยะเวลาของการทำงานที่บริษัท ไทยซัมมิกฮาร์เนส นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นไปด้วยดีด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำ เป็นที่ยอมรับของนายจ้าง และเป็นที่รักใคร่ของพี่ เพื่อน และน้องๆ ในบริษัท แม้การทำงานที่บริษัทจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่ปัญหาเรื่องส่วนตัวเริ่มเกิดขึ้นด้วยสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ให้กำเนิ
คุณอธิคม ขุนแก้ว อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 426 หมู่ที่ 6 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง สมาชิกยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง อดีตพนักงานบริษัท ได้ใช้พื้นที่นาร้างที่แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาปรับเปลี่ยนทำการเกษตรผสมผสาน ตามความฝันของตัวเอง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ของเกษตรกรรายอื่นอีกด้วย คุณอธิคม เล่าว่า หลังจากที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเกษตร ได้สอบบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนราธิวาส แต่ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จึงต้องลาออกจากราชการ จากนั้นไปทำงานบริษัทเอกชน ไปเป็นอาจารย์พิเศษ และตำแหน่งสุดท้าย ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำให้ค้นพบว่า ไม่ใช่ชีวิตที่แท้จริงของตนเอง จึงได้ลาออกจากบริษัทเมื่อปี 2557 และกลับมาอยู่บ้านเกิดที่อำเภอควนขนุน หลังจากกลับมาอยู่บ้าน ได้ซื้อที่ดินนาร้างว่างเปล่า จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ ซึ่งเป็นที่นาของครอบครัว ที่ได้ขายไปเมื่อหลายปีก่อน จากนั้นได้ขุดคันยกร่อง ขนาดร่องกว้าง 13 เมตร คูร่องกว้าง 4 เมตร ลึก 3 เมตร บนคันร่องปลูกปาล์มร่
วันที่ 27 ตุลาคม 2559 ที่บ้านสวนที่ร่วมรื่นสวยงามในพื้นที่หมู่ที่1 ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นบ้านของนายสมเจตร์ บุญเพ็ชร์ อดีตข้าราชการไปรษณีย์ไทย อายุ 73 ปี ที่ผันเปลี่ยนชีวิตตนเองมาศึกษาแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช โดยใช้พื้นที่สวนจำนวน 6 ไร่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ปลูกทุกอย่างที่กินได้เช่นส้มโอ กล้วยหอม มะละกอ ขนุน ไผ่รวก มะนาว และทุกอย่างที่สามารถขายได้เช่นหมากเหลือง ใบยาง ที่มีร้านจัดดอกไม้มารับซื้อถึงสวน และเลี้ยงสัตว์ไว้กินผลผลิตคือไก่ไข่ และเลี้ยงปลาในสระขนาดเล็กที่ขุดไว้เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ภายในสวน นอกจากนี้นายสมเจตร์ยังได้ศึกษาเรียนรู้การตอนกิ่งพันธุ์ส้มโอขาย จนชำนาญและสามารถขายสร้างรายได้รวมเดือนละกว่า 20,000 บาทด้วย นายสมเจตร์เปิดเผยว่า หลังจากนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงมาใช้ ทำให้ตนเองที่อดีตเป็นข้าราชการรับเงินเดือนจำกัด แต่สามารถมีรายได้จากการขายพืชผลในสวนมีรายได้หลักหมื่นในแต่ละเดือนโดยไม่ขัดสน เพราะอาหารการกินก็ได้จากผลผลิตภายในสวน ทั้งผัก ไข่ไก่ รวมถึงเนื้อสัตว์จากปลาในสระ และส่วนที่เหลือก็ยังสามารถนำออกข
สวนเกษตรแบบผสมผสานที่นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ บนพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน พร้อมกับต่อยอดงานเกษตรด้วยการทำ “ฟาร์มสเตย์” เป็นอีกหนึ่งหลักคิดของคุณวโรชา จันทรโชติ เจ้าของสวนวโรชา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง คุณวโรชาบอกว่า การทำเกษตรผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสมเป็นการทำเกษตรที่ไม่เจาะจงชนิดของพืชที่ปลูก โดยภายในพื้นที่สามารถปลูกพืชพรรณนานาชนิด ที่เอื้อเฟื้อต่อกันได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก สมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักป่า ผักสวนครัว และอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง …ภายในสวนวโรชาแห่งนี้จะมีอะไรที่น่าสนใจ ติดตามได้จากคลิป “ฟาร์มสเตย์” เป็นอีกหนึ่งหลักคิดของคุณวโรชา จันทรโชติ หลุมพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ผลผลิตจากสวน ปลอดสารเคมี ตอนกิ่งมะละกอ ได้ผลเร็ว ลูกดก ปลูกไม้ดอก พืชผักอายุสั้นเก็บขายรายวัน คุณวโรชา จันทรโชติ
ท่านที่เคารพครับ ปี 2559 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1. คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง 2. คุณอัคระ ธิติถาวร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 3. คุณอดิศร เหล่าสะพาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ซึ่งได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม 2501 มีพี่น้องร่วมกัน 3 คน เป็นชายทั้ง 3 คน คุณคำพันธ์ เป็นคนที่ 3 จบการศึกษาชั้น ปวช. และ ปวส. วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สมรสกับ คุณบรรจง เหล่าวงษี (อี้ด) มีบุตร 3 คน หญิง 2 คน ชาย 1 คน อาชีพเกษตรกรรม วิสัยทัศน์ คือ พัฒนาตน พัฒนาคน ขยายผล พัฒนาสังคม ระดมแนวคิดสู่เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญา คือ รู้ชาติตระกูลพงศ์เผ่า รู้เหล่าจักรวาลสรรค์สร้าง รู้คิดรู้ทำนำทาง รู้วางตนแต่พอดี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คู่เคียงภ