เกษตรอินทรีย์
การทำเกษตรสมัยใหม่ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพและขาดความอุดมสมบูรณ์เกิดการตกค้างในดินและชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ การทำเกษตรอินทรีย์เริ่มต้นไม่ยาก เพียงแค่ลงมือทำและมั่นศึกษาเรียนรู้ไปด้วยกัน ก่อนอื่นต้องรู้ที่มาของ “เกษตรอินทรีย์” ที่ตอนนี้เกษตรกรหลายคน หันมาให้ความสนใจไม่น้อย และต่างประสบความสำเร็จ ดีต่อผู้ปลูก และดีต่อผู้บริโภคอีกด้วย “เกษตรอินทรีย์” ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการเกษตรแบบยั่งยืน และมีการผสมผสานเทคนิค การเกษตรจากหลากหลายระบบ แต่สิ่งที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างไปจากระบบการเกษตรอื่นๆ คือ การมีมาตรฐานควบคุม และการตรวจสอบรับรอง โดยเกือบทั้งหมดของปัจจัยที่เป็นสารสังเคราะห์ถูกห้ามใช้ ในขณะที่ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน การทำเกษตรอินทรีย์ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ “การเลือกพื้นที่” ให้เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี และทำการเลือกป
ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรไปสู่การเกษตรยุคใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนภาคการเกษตร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบยุคใหม่ประจำปี 2024 จำนวน 5 สาขาที่มีผลงานโดดเด่น ทั้งด้านทักษะความสามารถในการปรับตัว สร้างความหลากหลายของผลผลิต สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สุดยอดเกษตรกรกรแห่งปี 2024 ซึ่งเป็นต้นแบบเกษตรยุคใหม่ จำนวน 5 สาขา ได้แก่ . 1.สาขา สินค้าเกษตรมูลค่าสูง : อดีตวิศวะต่อยอดสวนมะนาวสู่ คาเฟ่ Lemon Me Farm อ่านเพิ่มเติมได้ที่ . อดีตวิศวะ ต่อยอดสวนมะนาว ใช้เทคนิค “คลุมถุง” มะนาวติดลูกดก สร้างเงินล้าน . สาขา เกษตรผสมผสาน : ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน“คุ้มจันทวงษ์” กับสารพัดพืชทำเงิน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_298022 . สาขา เกษตรหลังเกษียณ : ข้าราชการเกษียณทำสวนคนเดียว 30 ไร่ด้วยนวัตกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_297841 . สาขาเกษตรอินทรีย์ : อดีตช่างภาพพูลิตเซอร์ ทำนาอินทรีย์ สืบสานพันธุ
หากพูดถึง “สวนผักบ้านคุณตา” ที่สุขุมวิท 62 กรุงเทพมหานคร ในสายกรีนจะรู้จักว่าเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรคนเมือง ซึ่งวันนี้เราพาท่านผู้อ่านไปรู้จักเจ้าของสวนผักบ้านคุณตาซึ่งก้าวสู่ความเป็นเจ้าของพื้นที่เกษตรคนเมืองใจกลางเมืองหลวงของไทย นั่นคือ คุณกรชชนก หุตะแพทย์ หรือ “น้องฝ้าย” ซึ่งคลุกคลีกับวิถีชีวิตความพอเพียงตั้งแต่วัยเยาว์ จนมาถึงวัย 36 ปี ที่เปรียบชีวิตของเธอได้กับเป็น “ต้นไม้” ที่เติบโตด้วยการมีต้นแบบที่ดีให้เรียนรู้ถึงความพอเพียง ต้นแบบนั้น คือ คุณพ่อคมสัน หุตะแพทย์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา (Media Center for Development Foundation : MCDF) ซึ่งมีบทบาทขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมธรรมชาติมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยเน้นงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการอบรม เพื่อส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ และเกษตรยั่งยืน ซึมซับต้นแบบที่ดี ตามรอยพ่อสู่เกษตรพอเพียง การซึมซับต้นแบบที่ดี ทำให้คุณกรชชนกเรียนต่อปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไปต่อยอดเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สาขาสิ่งแวดล้อม โดยตรง เรียกว่า เอาจริงเอาจังกับงานด้านสิ่งแวดล้อมก่อน
ในยุคที่เศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ มีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอาชีพการงานจะสร้างกำไรได้มากแค่ไหน ก็มีอันต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดั่งการโดนต้องคำสาปเลยทีเดียว แต่สำหรับเขาคนนี้ คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย ที่เล็งเห็นถึงทางออก โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางงานเกษตร และเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว “เกษตรนี่มันไม่ใช่ทางเลือก แต่มันเป็นทางรอดของเรา” นี่คือคำกล่าวของคุณอภิศักดิ์ เกษตรกรหนุ่มชาวโคราช ที่อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย จากนักเรียนนอก สู่การเป็นเกษตรกรพื้นบ้าน คุณอภิศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ และปริญญาโทเอกภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาสได้โควต้าไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้รู้จักกับอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ท่านก็มีความรู้ความเข้าใจและค่อนข้างสนใจเรื่องของสหกรณ์การเกษตร ท่านก็มักจะพาไปดูการทำเกษตรในพื้นที่ต่า
ลุงนิล ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้กำเนิดแนวคิด ‘เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น’ ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือ ลุงนิล เป็นเกษตรกรต้นแบบ อยู่ที่ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ซึ่งพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียน มีมากกว่า 700 ต้น อยู่ในสวนลุงนิล เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรค่อนข้างมาก ลุงนิล เป็นที่รู้จักในนามของเกษตรกรผู้คิดค้น “เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น” ซึ่งจุดเด่นของลุงนิลคือ การได้รับความสนใจจากผู้ไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเกษตรผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เน้นใช้พื้นที่ของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ และพืชแซม พร้อมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจไปในตัว และนอกจากจุดเด่นของลุงนิลจะอยู่ที่การทำสวนแล้ว ลุงนิลยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ของจังหวัดชุมพรอีกด้วย เศรษฐกิจพอเพียง กู้วิกฤตชีวิตลุงนิล ลุงนิล เผยถึงแนวคิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน 9 ชั้น ว่า ในอดีตลุงนิลเคยทำอาชีพค้าขายมาเป็นเวลานาน แล้วก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ด้วยความที่ลุงนิลในตอนนั้น ต้องการที่จะมีรายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยความอยากรวย จึงมี
คุณธนน อินต๊ะป้อ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้ามีประสบการณ์ประกอบธุรกิจทำน้ำหมักชีวภาพจำหน่ายที่กรุงเทพฯ หลังจากน้าสาวหุ้นส่วนใหญ่ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง เขาเดินทางกลับพะเยา ลงหลักปักฐานทำเกษตรอินทรีย์ สร้างธุรกิจด้วยความแตกต่าง สร้างแบรนด์สินค้าให้หน่อไม้ กระทั่งหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ภายใต้แบรนด์ “ธนน” ต่อยอดเป็นธุรกิจร้านอาหาร “กระทรวงการย่าง” มีเมนูหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเป็นเมนูดึงดูดลูกค้า (Signature) มีพืชผักอินทรีย์อันมีตรารับรองมาตรฐาน เป็นเมนูประกอบสร้างความรื่นรมย์ให้กับการรับประทาน ปักหลักธุรกิจ ด้วยพันธุ์ไผ่บง สมัยก่อนนั้น ธนน ทำงานอยู่กับน้าสาว ชื่อ ปรัชญาณีย์ โลหะสวัสดิ์ ที่กรุงเทพฯ พวกเขาทำน้ำหมักชีวภาพแบรนด์ “นวกุล” หลังจากนั้นเธอล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งตับ ธนน จึงหันเหชีวิตกลับคืนสู่บ้านเกิดที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีน้ำหมักชีวภาพเป็นต้นทุนทำการเกษตรจำนวนหนึ่ง คุณธนน เล่าว่า มีที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้คนเช่าทำไร่ข้าวโพด ธนนเริ่มวางแผนทำการเกษตรโดยศึกษาจาก Youtube เริ่มปลูกต้นมะพร้าวจำนวนกว่า 100 ต้น แต่ก็ประสบภัยแล้งจนต้นมะพร้าวที่ปลูกไว้ทั้งหมดตายเรียบ จึงหันมาศึกษาเรื่องเกษตรอินท
การปลูกผักข้างบ้านนอกจากจะเป็นแหล่งสำรองอาหารในเมืองแล้ว ยังผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการทำงานอีก การปลูกไม้ดอกในแปลงผักในระบบเกษตรอินทรีย์มักเลือกต้นที่มีกลิ่นไล่แมลง และเป็นพืชผักสมุนไพรที่แมลงรังเกียจ เช่น ดอกดาวเรือง กะเพรา และดอกไม้ที่ไม่มีแมลงรบกวนมากนัก แต่มีสีสันเพื่อตัดสีเขียวของใบผักที่ทำให้ดูแล้วมีความสุข นอกจากการอิ่มท้องด้วยแล้ว ในสมัยก่อนการจัดสวนมีเฉพาะในสถานที่ที่มีบุคคลชั้นสูงพักอาศัยเท่านั้น ส่วนชาวบ้านธรรมดาไม่ได้มีอารมณ์สุนทรีย์ขนาดนั้น แต่บ้านขุนนางในระดับล่างๆ ลงมาก็เลียนแบบเอาจากบุคคลชั้นสูงมาบ้าง แต่ก็เป็นเพียงปลูกไปตามอย่างโดยไม่ได้มีหลักแต่อย่างใด ส่วนชาวบ้านเองก็ปลูกไม้ดอกไม้ประดับก็เพียงแค่ให้พอมีดอกไม้เก็บไปวัดวันพระเท่านั้น บางสวนตามวัดวาที่พระสงฆ์มีหน้าที่ต้องรักษายามชาวบ้านเป็นไข้ก็ปลูกสมุนไพรเสียเป็นหลัก แต่สวนชาวบ้านจริงๆ ก็ปลูกผักที่กินได้มากกว่าที่จะปลูกอย่างอื่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการท่านหนึ่งที่ผมรู้จักคือ คุณสำรอง วรภาพ มีฝืมือในการจัดสวน โดยท่านจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมนครราชสีมา หรือเรียกเกษตรสีคิ้ว เมื่อปี 2523 และได้รับราชการในกรมส่
เมล่อน เป็นไม้ผลที่มีจุดเด่นด้านรสหวาน มีกลิ่นหอม เหมาะกับการทานสดหรือแปรรูป นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญนิยมปลูกเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีราคาสูงและมีความต้องการต่อเนื่อง การปลูกเมล่อนอินทรีย์แม้จะมีความยุ่งยากในกระบวนการ รวมถึงใช้เวลานาน แต่ผู้ประกอบอาชีพที่เลือกแนวทางนี้ก็ไม่ท้อและอดทนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ที่สำคัญคือมีราคาสูงคุ้มค่ากับการลงทุน “DRAGON LION FARM” ตั้งอยู่เลขที่ 123/1 หมู่ที่ 4 บ้านท่าผาปุ้ม ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นฟาร์มเมล่อนที่ปลูกแบบอินทรีย์การันตีความปลอดภัยด้วยระบบโรงเรือนน้ำหยด มาตรฐาน GAP นำเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านมือถือมาใช้ควบคุมการปลูกเพื่อให้เมล่อนทุกผลมีคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยเมื่อส่งถึงมือลูกค้า โดยมี คุณวันวิสาข์ ฟูใจ หรือ คุณเหมียว เป็นเจ้าของและผู้ดูแลบริหารฟาร์ม คุณเหมียวเรียนจบด้านการโรงแรม ไม่มีความรู้หรือพื้นฐานการทำเกษตรกรรมแต่อย่างใด เนื่องจากลูกชอบทานผลไม้ โดยเฉพาะเมล่อน แต่หาอร่อยและถูกใจได้น้อย จึงลงมือและลงทุนเรียนรู้การปลูกด้วยตนเองด้วยการปลูกเมล่อนเป็นแบบโรงเรือน ขนาด 5 คูณ 20 เมตร จำนวน 3 โรง เมื่อ
คุณสุพจน์ โคมณี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120 โทรศัพท์ 081-041-0911 เจ้าตัวสืบทอดการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวจากบิดา มารดา คือปลูกข้าวและทำไร่ข้าวโพดโดยใช้หลักพึ่งพาธรรมชาติ แต่ด้วยฤดูกาลที่ไม่แน่นอน บางปีน้ำหลาก บางปีน้ำแล้ง การเพาะปลูกจึงไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมการทำเกษตรผสมผสานของจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเรียนรู้แล้วคุณสุพจน์ได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการทำการเกษตรกรรมจากที่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตเพื่อการค้าขายมาเป็นแบบพึ่งตนเองเพื่อบริโภคในครัวเรือน จากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูก และริเริ่มทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 20 ไร่ แบ่งสัดสัดพื้นที่เป็น 30-30-30-10 หรือนาข้าว 6 ไร่ น้ำ 6 ไร่ ไม้ผล 6 ไร่ ที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 2 ไร่ ตั้งแต่นั้นมาชีวิตครอบครัวเริ่มดีขึ้น มีผลผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ส่วนที่เหลือสามารถนำไปจำหน่ายได้จนสามารถใช้หนี้สินที่กู้ยืมมาหมดภายใน 4 ปี เป็ดที่เลี้ยง
คุณสมศักดิ์ เจียรสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สุขทุกคำ จำกัด อดีตเขาทำงานบริษัทเอกชน ทำหน้าที่เกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้า เขาเห็นความสำคัญของสุขภาพ ชอบเลือกสินค้าที่มีประโยชน์มารับประทาน ต้องการให้ครอบครัวรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ต่อมาเมื่อคนไทยเห็นความสำคัญของสุขภาพ จึงค้นหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ จนพบกับ “ตะกร้าปันผัก” ของร้าน HealthMe ซึ่งจัดจำหน่ายผักผลไม้อินทรีย์ จึงตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิก รับผักผลไม้และวัตถุดิบประกอบอาหารที่จัดส่งถึงบ้าน สินค้าเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะนั้น คุณสมศักดิ์เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทำหน้าที่เกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้า มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ จึงตัดสินใจเข้าถือหุ้นธุรกิจ HealthMe จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สุขทุกคำ จำกัด หลังจากนั้นซื้อกิจการ HealthMe เพื่อบริหารธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจของบริษัท สุขทุกคำ จำกัด คือการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ทางเว็บไซต์ https://www.healthmedelivery.com เช่น ผักผลไม้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว อาหารทะเล ไข่ไก่ ไข่เป็ด และสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ นอกจากนั้น ยังผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมปรุงพร้อมรับประทานจากวัตถุดิบเกษตร