ประมง
ปลากดเหลือง เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลักษณะลำตัวกลมยาวค่อนข้างแบนเรียว ลักษณะสีของลำตัวเปลี่ยนไปตามอายุและขนาดตัว ซึ่งปลาที่ตัวโตเต็มวัยลำตัวบริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง และบริเวณท้องมีสีขาว ส่วนฐานครีบอกท้องก้นมีสีเทาเจือชมพู ดวงตามีขนาดปานกลาง เมื่อโตเต็มที่สามารถมีขนาดยาวได้ตั้งแต่ 20-25 เซนติเมตร หรือที่เคยพบมีขนาดใหญ่สุดได้มากกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู จึงทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภค โดย คุณอุดร อรัญโชติ ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการทำตลาดปลากดเหลือง จึงเพาะพันธุ์สร้างรายได้ส่งขายลูกปลาให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คุณอุดร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนพื้นที่ทางการเกษตรทั้งหมดเน้นการทำนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยผลผลิตสมัยก่อนได้ไม่มากและต่อปีทำได้ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้มองหาช่องทางการสร้างรายได้จากทางอื่น ได้หันมาเพาะพันธุ์ปลากดเหลืองและปลาอื่นๆ ขาย โดยมองว่าใช้เวลาไม่นานต่อรอบการผลิตไม่เกิน 30 วัน ก็ได้เงินมาใช้หมุนเวียน ได้ไวกว่าการทำนา “ช่วงนั้นก็ได้เปลี่ยนจากพื้นที่นามาเพาะพันธุ์ปลากด เพราะการเพาะพันธุ์
ประเทศไทยในยุคโลกรวน เสี่ยงเจอภาวะอาการแปรปรวนได้ตลอดเวลา หากในช่วงเช้าฟ้าครึ้มผิดปกติ เมฆหนา ไม่มีแดด แม้จะเป็นช่วงเวลา 06.00-09.00 น. ซึ่งตามปกติต้องมีแสงแดดที่เป็นตัวกลางสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะพบว่า ปลาว่ายน้ำรวมตัวเป็นฝูง ลอยหัวเหนือผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปลาขาดอากาศ ส่งผลให้สุขภาพปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตช้า หากปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำเกินค่ามาตรฐาน ปลาที่เลี้ยงในบ่อ อาจลอยตายได้ หากเกิดกรณีดังกล่าว สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี ให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น ใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องมือที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ ให้ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศละลายผสมกับน้ำ เพื่อให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของปลา ทั้งนี้ อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมีผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของปลา เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโรคจะเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วงเดียวกับอุณหภูมิทางสรีระ (physiological range) ปลาจะมีอัตราการเผาผลาญของร่างกาย (metabolic rates) เพิ่มขึ้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลาส่วนใหญ่ถ้าอุณหภูมิข
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดที่ได้รับความนิยมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เพราะเนื้อปลามีรสชาติที่อร่อยราคาขายไม่แพงมาก และหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด จึงทำให้ยังมีคนนิยมบริโภคเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้มีการเลี้ยงปลานิลกันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นอาชีพ การที่จะได้ปลานิลให้เป็นปลาเนื้อที่มีคุณภาพนั้น สิ่งที่สำคัญขาดเสียไม่ได้คือ เรื่องของลูกพันธุ์ปลานิล ต้องมีการเพาะพันธุ์ที่ดี พร้อมทั้งมีการลดต้นทุนในเรื่องของการเลี้ยงเข้ามาช่วยอีกหนึ่งช่องทาง ก็จะส่งผลให้การเลี้ยงปลานิลสร้างผลกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อย่างยั่งยืน คุณจิรทีปต์ คงทอง อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตีนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลานิลที่มีคุณภาพ ทำให้ลูกพันธุ์ปลาที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณจิรทีปต์มากว่า 20 ปีทีเดียว โดยมีการผลิตเป็นแบบปลานิลแปลงเพศและปลานิลแบบปกติที่ลูกค้าสามารถนำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไปได้ จากผู้เลี้ยงปลาเนื้อ สู่ผู้ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลคุณภาพ คุณจิรทีปต์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มมาดำเนินการประกอบอ
” ต๊ะเสะ” เป็นอำเภอหนึ่งของอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ที่นี่รายล้อมไปด้วยป่าโกงกางที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อาศัยของปูแสมจำนวนมาก ชาวบ้านนิยมจับปูแสมมาทำปูเค็มสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่บ้านเลขที่ 9/7 หมู่4 ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นบ้านของนายซอและห์ ลาโยด หรือบังอูฐ อายุ 43 ปี ซึ่งเป็นจุดรับซื้อและแปรรูปปูแสม หรือปูเปี้ยวที่ชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านกว่า 20 ครัวเรือนเดินเท้าเข้าป่าโกงกางไปจับปูแสมหรือปูเปี้ยวตัวเป็นๆ มาขาย ให้กับบังอูฐไม่กว่าวันละ 300-400 กิโลกรัม เพื่อนำมาแปรรูปเป็นปูเค็ม ปูดองส่งขายให้กับแม่ค้าในตลาดสดเมืองตรัง และส่งไปขายจังหวัดสตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เดิมบังอูฐและครอบครัวเคยทำธุรกิจท่องเที่ยวที่กรุงเทพฯ ต่อมามีลูกและได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวจึงย้ายครอบครัวกลับมาตั้งหลักที่ตำบลตะเสะ และทำอาชีพขายส่งปลาสด เวลาไปส่งปลา แม่ค้ามักถามว่า มีปูดองหรือปูเค็มขายมั้ย ทำให้บังอูฐเกิดความสนใจที่จะทำปูเค็มปูดองส่งขายให้แม่ค้า บังอูฐได้รับซื้อปูแสมหรือปูเปี้ยวจากชาวบ้าน
“ปลากระบอกดำ” สัตว์น้ำเศรษฐกิจ ทางเลือกใหม่ ราคาดี คืนทุนเร็ว ตอบโจทย์นโยบาย รัฐมนตรีเกษตรฯ “การผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง” นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า “การผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ที่มุ่งเน้นให้มีการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลผลิตหรือสินค้าประมงที่มีมูลค่าสูง เป็นนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายให้การเกษตรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี และประเทศไทยพัฒนาสู่ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก “ปลากระบอกดำ” เป็นปลาทะเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง เนื่องจากเป็นปลาเนื้อขาวที่มีรสชาติดีและนิยมนำมาบริโภคในหลากหลายเมนู ใช้เวลาการเลี้ยงไม่นานก็ได้ขนาดที่ตลาดต้องการและขายได้ราคาดี กรมประมง ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ครั้งแรกในปี 2536 (โดยนายนิเวศน์ เรืองพานิช อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในปริมาณมาก จนกระทั่งเมื่อปี 2561 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ได้เริ่มดำเนินการศึกษาพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลากระบอกดำคว
กุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่รสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน แคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ จึงทำให้มีความนิยมบริโภคกันมาก สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ที่นิยมมากที่สุดคือ “กุ้งเต้น” รองลงมาคือกุ้งชุบแป้งทอด ตำกุ้ง เป็นต้น และนอกจากเป็นอาหารมนุษย์แล้ว กุ้งฝอยยังมีความสำคัญในระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เนื่องจากกุ้งฝอยเป็นอาหารของปลากินเนื้อทุกชนิด กุ้งฝอยยังสามารถผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 60 วัน และแม่พันธุ์กุ้งฝอยสามารถให้ไข่ได้มากถึง 200-250 ฟองต่อตัว จึงเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีความน่าใจ เพราะนอกจากจะบริโภคในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจับจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 200-350 บาท หากเป็นกุ้งพ่อ-แม่พันธุ์ ก็มีราคาสูงถึงตัวละ 2 บาท สำหรับผู้สนใจเลี้ยงกุ้งฝอย สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานีมีคำแนะการเลี้ยงกุ้งฝอย โดยจับรวบรวมกุ้งฝอยตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การใช้ไซดักกุ้ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดักจับกุ้งโดยเฉพาะ วิธีนี้จะดักได้เฉพาะกุ้งอย่างเดียว และเป็นกุ้งที่มีขนาดตัวเต็มวัยแล้ว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยกกุ้ง 2. การใช้ผ้าช้อนกุ้ง ผ้าช้อนกุ้ง เป็นอุปกรณ์จับกุ้งห
หอยเชอรี่สีทอง เป็นสายพันธุ์ของหอยเชอรี่ที่มีเปลือกสีทอง หรือสีเหลืองอำพัน แตกต่างจากหอยเชอรี่ทั่วไปที่มักมีเปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีจุดเด่นคือ เลี้ยงง่าย กินอาหารหลากหลาย โตไว ใช้พื้นที่น้อย ต้นทุนต่ำ แต่สร้างรายได้ดี ไม่ว่าจะขายเป็นอาหาร หรือแปรรูปเพิ่มมูลค่า ก็ทำกำไรได้สบายๆ สำหรับใครที่กำลังอยากเริ่มต้นทำเกษตรแบบไม่ต้องลงทุนเยอะ หอยเชอรี่ตอบโจทย์ ใช้พื้นที่เล็กๆ ก็เลี้ยงได้ ขยายพันธุ์เร็ว ขายได้ทั้งตัวและไข่ แถมตลาดยังต้องการสูง คุณเมย์-เมทินี ภาคีสุข ผู้จัดการ 123 อยุธยาฟาร์ม หอยเชอรี่สีทอง ตั้งอยู่ที่ 123 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแป้ง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนรมิตพื้นที่ 30 ไร่ ทำฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันตลาดในประเทศโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าขยายความนิยมให้เหมือนเนื้อหมู เนื้อไก่ เพราะด้วยรสชาติของหอยเชอรี่ที่หวานกรอบ มีโปรตีนสูงไม่แพ้เนื้อหมูเนื้อไก่ จนได้รับฉายาว่าเป็น “หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด” คุณเมย์ เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองเกิดจากที่เจ้าของฟาร์มชอบกินหอยเชอรี่แต่ติดปัญหาที่หาซื้อ
กุ้งฝอย เป็นกุ้งที่มีขนาดเล็ก สามารถพบได้ทั่วไปในหลายภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งสัตว์น้ำชนิดนี้นิยมบริโภคเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู โดยกุ้งฝอยนั้นถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อันประกอบไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศใช้เป็นอาหารให้กับสัตว์น้ำชนิดอื่นได้อีกด้วย คือใช้เป็นอาหารให้กับปลาเศรษฐกิจในช่วงเลี้ยงอนุบาล อย่างเช่น ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม ต่อมาด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจึงทำให้กุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง ส่งผลให้ปัจจุบันมีการเลี้ยงกุ้งฝอยกันมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด คุณจรินทร์ ขำการะเกตุ หรือ คุณเอ้ ได้เล็งเห็นถึงช่องทางการทำตลาดว่ามีความต้องการกุ้งฝอย เธอจึงได้ทำการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ โดยกว่าจะประสบผลสำเร็จมาได้จนถึงทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการเลี้ยงต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาพอสมควร แต่ด้วยความที่ไม่ย่อมแพ้และมีใจแน่วแน่ที่จะลงมือทำ กุ้งฝอยในฟาร์มของเธอจึงเป็นที่รู้จักของลูกค้าและสามารถทำการตลาดไปทั่วประเทศ สานต่ออาชีพประมงจากครอบครัว คุณเอ้ เล่าให้ฟังว่า ในช่วงแรกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อ
ปูทะเลเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงนำมาทำตลาดได้หลากหลายขึ้นอยู่ที่ลูกค้าต้องการนำไปประกอบอาหารประเภทใด จึงทำให้อาหารที่ทำขึ้นจากปูทะเลได้รับความนิยมและตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการทำเกษตรให้ได้คุณภาพและจำหน่ายได้ราคาสูง ถือเป็นอีกหนึ่งการผลิตที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น เพราะความต้องการของตลาดเป็นตัวแปรสำคัญ ช่วยให้สินค้าที่ผลิตออกมาขายได้ราคาสูง คุณโอม-ธนกฤต พลอยงาม ผู้คิดค้นและริเริ่มเรื่องของการเลี้ยงปูทะเลในภาคเหนือ โดยทำน้ำเค็มให้คล้ายกับน้ำทะเลไว้ใช้เองจนประสบผลสำเร็จ ทดลองเลี้ยงตั้งแต่กุ้งไปจนถึงปูทะเล พร้อมกับทำตลาดปูทะเลให้เป็นสินค้าปูนิ่ม จนสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด เรียกได้ว่าในช่วงนี้ผลิตไม่ทันขายกันเลยทีเดียว อดีตช่างแอร์ ผู้มีใจมุ่งมั่น เลี้ยงปูทะเลคุณภาพสูง คุณโอม เล่าให้ฟังว่า เดิมนั้นทำอาชีพเป็นช่างแอร์มาประมาณ 15 ปี ซึ่งช่วงหลังๆ จำนวนช่างมีมากขึ้นทำให้รู้สึกต้องมองหาอาชีพใหม่ เพื่อให้มีรายได้จากจำนวนงานช่างแอร์ที่ลดน้อยลง เริ่มแรกได้นำกุ้งแม่น้ำมาทดลองเลี้ยง หลังจากนั้นนำปูทะเลมาเลี้ยงด้วยเช่นกัน คุณโอม บ
ปลาหมอ หนึ่งในปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมนำมาเลี้ยงบริโภค มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว เป็นปลาที่มีรสชาติ มัน เนื้อแน่น นุ่ม สามารถแปรรูปหรือประกอบอาหารได้หลายประเภท ทั้งย่าง แกง ต้มยำ ทอด ปัจจุบันยังถือเป็นปลาที่มีความต้องการในตลาดสูง นิยมบริโภคกันมากทั้งในประเทศ คุณศิววงศ์ นวลสุวรรณ นำปลาหมอมาเลี้ยงภายในสวนยางพารา โดยใช้วิธีเลี้ยงให้อยู่ภายในบ่อผ้าใบ ทำให้ไม่ต้องขุดบ่อใช้พื้นที่ในสวนยางพาราได้อย่างเต็มที่ สามารถจัดการในเรื่องของระบบต่างๆ ภายในบ่อได้เป็นอย่างดี ทำให้ปลาหมอโตดี เนื้อแน่นมีคุณภาพ แปรรูปได้หลายรูปแบบเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรสวนยาง เลี้ยงปลาเสริมรายได้ คุณศิววงศ์ เล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนได้ทำสวนยางในที่ดินของตัวเอง เมื่อราคายางพาราตกต่ำจนไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวได้ จึงทำให้ต้องหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ในตอนนั้นทางการยางแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ในสวนยางให้เกิดประโยชน์มากขึ้น จนเกิดเป็นโครงการเลี้ยงปลาหมอในบ่อผ้าใบ ทำให้เกิดความสนใจที่จะเลี้ยงปลา