Featured
ชื่อสามัญ : กักกุธะ, ผักก่าม, Sacred barnar ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa/Crateva adansoii/Crateva trifoliate วงศ์ : Cappridaceae กุ่มบก ไม้ยืนต้นที่คุ้นเคยกันมาเนิ่นนานทางแอฟริกาใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลำต้นสวยสง่างดงาม กิ่งก้านคดโค้งพลิ้วไหวตามธรรมชาติ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบย่อยชนิด 3 ใบ ดอกเป็นกระจุกออกตามปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ปนชมพู เหลือบม่วงอ่อน เมื่อถึงฤดูปลายฝนต้นหนาว หรือหน้าเกี่ยวข้าว จะเห็นต้นกุ่มบกสลัดใบทิ้ง ออกดอกพรูพราวทั้งต้น ชนิดที่ใครเห็นต้องตะลึงกันเป็นแถว ปกติพบมากทางภาคอีสาน เหนือตอนล่าง ระมาได้จนถึงชายทะเลภาคตะวันออกก็ยังมีขึ้นตามภูเขาหินปูน บางแสน-อ่างศิลา ก็มีประปราย ผู้เขียนก็เคยได้อาศัยเก็บมากินอยู่บ้างบ่อยๆ ต้นกุ่มนั้น มีความเชื่อกันมาว่าเป็นไม้มงคลและเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก ใครปลูกไว้ประจำบ้านจะช่วยให้ลูกหลานครอบครัวอยู่กันเป็นปึกแผ่น เหนียวแน่นมั่นคง แต่งานนี้ขอกระซิบกันไว้ก่อนนะว่า อย่าปลูกใกล้ตัวบ้านเรือนอาคารมากไปก็แล้วกัน เพราะกิ่งเขาเปราะ ฉีกขาดหักง่ายเวลาโดนลมแรงๆ คำว่า “กุ่ม” มาจากภาษาไทยใหญ่ ที่แปลได้ความว่า “คุ้ม” ในภาษาก
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับขึ้นทะเบียน “สับปะรดห้วยมุ่น” เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยระบุว่า สับปะรดห้วยมุ่น หมายถึงสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ที่มีผิวบาง ตาตื้น เนื้อหนานิ่ม สีเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติหวานหอม ฉ่ำน้ำ ไม่ระคายลิ้น ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ตำบลห้วยมุ่นและตำบลน้ำไผ่ ของอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดูตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม และกลางเดือนเมษายน-กรกฎาคม ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสิงหาคม-ตุลาคม ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 482 ราย ระยะทางจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ถึงตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด เกือบ 100 กิโลเมตร ถือว่าไม่มากนัก แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางทวีคูณเป็นสองเท่า เพราะเส้นทางเป็นเขาชัน คดเคี้ยว แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานมนานกลับคุ้นชิน และมองว่าไม่ใช่ความลำบากหากต้องเดินทาง คุณบันแล มาดีคาน และคุณรัตนาพรรณ มาดีคาน สองสามีภรรยา ชาวตำบลห้วยมุ่น เจ้าของแปลงสับปะรดห้วยมุ่น พื้นที่ 20 ไร่ เกิดและเติบโตในพื้นที่ มองเห็นความเปลี่ยนแปลงของพืชในท้องถิ่น ชี้ให้เห็นว่าก่อนหน้าพื้นท
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณทิวาพร ศรีวรกุล อยู่บ้านเลขที่ 213 หมู่ที่ 2 ซอยพัฒนา 1 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ (081) 857-2500 เดิมคุณทิวาพรได้ลงทุนปลูกอ้อยในพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ทำไร่อ้อยได้ประมาณ 4 ปี ช่วงนั้นจังหวัดกาญจนบุรีประสบกับปัญหาอากาศแห้งแล้งติดต่อกัน 3 ปี พื้นที่ที่ปลูกอ้อยดังกล่าวติดเชิงเขา ไม่มีแหล่งน้ำ ทำให้อ้อยแห้งตายเป็นจำนวนมาก ต่อมามันสำปะหลังมีราคาดีจึงตัดสินใจตัดอ้อยทิ้ง แล้วหันมาปลูกมันสำปะหลังแทน แต่เมื่อถึงเวลาเก็บ ราคามันสำปะหลังตกต่ำ จึงตัดสินใจไม่ขุด รอราคาดี ทิ้งไว้ข้ามปีจึงขุดมันสำปะหลังจำหน่าย จึงกลับมาคิดทบทวนพบว่า การปลูกพืชเชิงเดี่ยวต้องใช้ปุ๋ยเคมีที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคงจะไม่เป็นผลดี จึงตัดสินใจขายที่ดินใช้หนี้ และเริ่มต้นยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด จากช่วงแรกทำการเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 2 ไร่ ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 14 ไร่ รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร คุณทิวาพร ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินในตำบลท
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนืออย่างอุตรดิตถ์ ระยะหลังมีปลูกได้ผลที่อิสาน จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันพบว่า ทุเรียนมีปลูกได้ผลหลายจังหวัด มากบ้างน้อยบ้าง มีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนไม่น้อย ที่ต้นตายลงก่อนให้ผลผลิต โดยเฉพาะช่วงปลูกใหม่ 1-3 ปี ทำให้ต้องเสียเงินซื้อต้นพันธุ์หลายครั้ง สาเหตุการตายของทุเรียนต้นเล็ก นอกจากโรคและแมลงเข้าทำลายแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความชื้นในช่วงแล้งไม่เพียงพอ ดังนั้นเมื่อฝนหยุดตกไม่เกิน 1 เดือน เจ้าของควรตัดหญ้าคลุมโคนต้นให้ หรืออาจจะใช้ฟางข้าวคลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำ 3 วันครั้งหนึ่ง ระบบน้ำที่ให้อาจจะเป็นน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ก็ได้ ถ้าเป็นช่วงเดือนเมษายนที่อากาศร้อนจัด เกษตรกรบางรายถึงกับให้น้ำวันเว้นวัน เพื่อรักษาความชื้นในดิน เรื่องของปุ๋ย นอกจากปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักแล้ว เกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนชา ช่วยทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตเร็ว คุณกฤษณ์ วงษ์วิทย์ เกษตรกรที่ตำบลแสลง อำเภอเมือง จันทบุรี ปลูกทุเรียนอายุได้ 4 ปี ก็สามารถไว้ผลผลิตได้แล้ว ทุเรียนปลูกได้ในหลายพื้นที่ เพ
เมืองไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ เมื่อกินผลไม้สักอย่างหนึ่ง เหลือเมล็ด โยนออกจากนอกชาน หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม อาจจะงอกเป็นต้นใหม่ เจริญเติบโต ออกดอกให้ผลกับเจ้าของได้ คนไทยนั้นมีนิสัยชอบปลูกต้นไม้ มีที่ว่างเป็นไม่ได้ ต้องปลูกพืชผัก ตะไคร้ มะกรูด เมืองใหญ่ แม้แต่หน้าร้าน ก็มีปลูกต้นไม้กัน ไม่มีดินจริงๆก็ปลูกในกระถาง มะม่วงเป็นไม้ผลที่เจ้าของบ้านนิยมปลูกรอบๆบ้าน จำนวนอาจจะไม่มากต้นนัก ทำไมต้องปลูกมะม่วงไว้รอบบ้าน เปรียบเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น มะม่วงอยู่ใกล้ครอบครัวคนไทยมากที่สุด มีปลูกไว้รอบๆบ้านมากที่สุด สาเหตุที่มะม่วงมีปลูกไว้ใกล้บ้านนั้นเพราะ หนึ่ง.มะม่วงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง รวมทั้งน้ำท่วม เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เมื่อใช้ต้นตอที่แข็งแรงเป็นส่วนขยายพันธุ์ มะม่วงจะเจริญเติบโตในที่ฝนน้อยได้ดี ขณะเดียวกัน หากน้ำท่วม ก็ยืนต้นอยู่ได้นาน ถึงนานที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ชนิดอื่น สอง.ดูแลไม่ยาก ผู้ปลูกบางคน อาศัยหย่อนต้นลงดินต้นฝน ไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ต้นก็เจริญเติบโตได้ อาจจะมีแมลงมากัดกินใบ แต่ก็กินไม่หมด ใบทีเหลือจะช่วยหุงหาอาหารเลี้ยงต้น ให้กิ่งก้านใหม่ สาม.ปลู
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น คุณณรงค์ชัย ปาระโกน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติดอกคำ อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง “ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายใน
ที่ตลาดน้ำดอนหวาย มีของกิน ผัก ผลไม้ และสินค้าอื่นๆ วางขายอยู่เป็นจำนวนมาก มะละกอจาก”สวนนายปรุง” เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่สร้างชื่อให้กับตลาดแห่งนี้ ปัจจุบันคุณปรุง ป้อมเกิด อยู่บ้านเลขที่ 45/3 หมู่ 4 ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คุณปรุง ปลูกมะละกอมานานกว่า 20 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมที แม่ค้าในตลาด มีมะละกอแขกดำรสชาติดี จึงนำผลให้คุณโสภา ภรรยานายปรุงเพื่อชิมเนื้อ แล้วก็ลองนำเมล็ดไปปลูก คุณปรุงและภรรยาชอบใจ จึงปลูกมะละกอที่แม่ค้าให้มา เมื่อมีผลผลิตเขาชิมดู ปรากฏว่าอร่อยมาก ผลผลิตที่ได้เจ้าของนำออกจำหน่าย แต่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น คุณปรุงไม่ย่อท้อ พยายามปลูกรุ่นใหม่ เมื่อมีผลผลิตก็นำออกทดลองตลาดอีก ระยะหลังๆราคากระเตื้องขึ้น ทุกวันนี้ เท่าที่ทราบ คุณปรุงขายมะละกอจากสวนได้ราคาดีที่สุดในประเทศไทย คือกิโลกรัมละ 25-30 บาทมีบวกลบบ้างเล็กน้อย มะละกอที่ปลูกอยู่เป็นสายพันธุ์แขกดำ เจ้าของได้คัดพันธุ์ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากดูที่ผลมีความยาวพอประมาณ โคนผลเล็ก ตรงกลางใหญ่ ปลายเรียว แต่ไม่แหลมจนเกินไป ปลายควรทู่พอสมควร ผิวผลสวย ขนาด 1.5-2 กิโลกร
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณจันทร์ที ประทุมภา138 หมู่ที่ 6 บ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา 30270 โทรศัพท์ (089) 948-4737, (081) 074-2843 เดิมคุณจันทร์ที ประกอบอาชีพเป็นช่างซ่อมรถยนต์ ทำอยู่ประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นได้แต่งงานมีครอบครัว สร้างโรงสีข้าวและเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ โดยมีหมู 80 ตัว นอกจากนั้นก็ทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว โดยทำนาเพียงอย่างเดียว รายได้จากการทำนาในปีแรกพอมีพอใช้ในครอบครัว ส่วนในปีที่สองจำเป็นต้องเอาหลักทรัพย์ไปจำนองสหกรณ์เพื่อนำเงินที่ได้มาลงทุนและใช้จ่ายในครอบครัว ผลจากการทำนาซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว ก่อให้เกิดหนี้สินและไม่มีเงินออม ต่อมาคุณจันทร์ทีได้ไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรผสมผสานของ พ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้แนวความคิดการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นจึงนำมาเผยแพร่ให้กับสมาชิกในครอบครัว และร่วมกันตัดสินใจที่จะเริ่มต้นทำการเกษตรผสมผสานและดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ทำการเกษตรผสมผสานโดยการลดต้นทุ
ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และ ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทย ซึ่งจากการประกวด World’s Best Rice 2016 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 จัดโดย The Rice Trader ข้าวหอมไทยครองแชมป์ชนะเลิศอันดับ 1 สำหรับการประกวดดังกล่าว มีข้าวจากหลากหลายประเทศส่งเข้าประกวดมากกว่า 50 ตัวอย่าง โดยการให้คะแนนจะพิจารณาจากความสวยและความสะอาดจากตัวอย่างข้าวที่ยังไม่ได้หุง ร่วมกับการพิจารณาจากข้าวที่หุงแล้วในด้านกลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม และรูปร่างลักษณะ ว่าอยู่ในระดับใดแล้วคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย โดยใช้วิธีตัดสินแบบการทดสอบด้วย Blind testing (คือไม่ให้กรรมการทราบว่าเป็นข้าวของประเทศใด) และจากการประกวดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าข้าวหอมไทย มีคู่แข่งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมจากประเทศพม่า กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยได้รับรางวัลชนะ
นอกจากส้มเขียวหวานและส้มโอที่มีการปลูกในประเทศมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ในระยะเวลาต่อมาเกษตรกรได้ทำการคัดเลือกต้นพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งมีการนำพันธุ์ส้มชนิดและสายพันธุ์ต่างๆทั้งส้มโอ ส้มติดเปลือก และโดยเฉพาะส้มเปลือกล่อนจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกอีกหลายสายพันธุ์ ส้มบางสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวและการพัฒนาที่ดี สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้ บริโภค ทำให้ปัจจุบันมีสายพันธุ์ของส้มเปลือกล่อน และส้มที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านลักษณะคุณภาพ และรสชาติ ให้เลือกบริโภคตามความต้องการ ปัจจุบันมีส้มเปลือกล่อนที่เกษตรกรนิยมปลูกในประเทศ ได้แก่ 1.ส้มเขียวหวาน พันธุ์บางมด (บางล่าง/กิ่งอ่อน) 2.ส้มเขียวหวาน พันธุ์แหลมทอง (บางบน/กิ่งแข็ง) 3.ส้มสีืองหรืส้มผิวทองซึ่งตามความเป็นจริง คือส้มเขียวหวาน หรือพันธุ์แหลมทอง ที่นำไปปลูกจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ หากแต่ผลส้มที่มีสีของเปลือกผลเป็นสีส้มแดง แทนที่จะมีเปลือกเป็นสีเขียว เนื่องจากอิทธิพลของอากาศเย็น 4.ส้มฟรีมองต์ 5.ส้มสายน้ำผึ้ง (หรือส้มโชกุน) 6.ส้มออร่า (พวงทอง/ออร่า 9) 7.ส้มซัสซุมา 8.ส้มพองแกน พั