Featured
ปัจจุบันหากใครมาพะเยา หลายคนเรียกหากล้วยหอมทองยัดเยียด เพราะเคยกินแล้วติดใจในรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ไม่อมน้ำมัน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองยัดเยียด หลายคนที่ได้ยินชื่อก็ข้องใจว่าชื่อนี้มาได้อย่างไร ติดตามกันต่อไปแล้วท่านจะถึงบางอ้อ คุณอชิรา ปัญญาฟู หรือ พี่ปอนด์ ประธานกลุ่ม เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 แม่บ้านเกษตรกรบ้านปางป้อมเหนือ จำนวน 9 คน ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อทำกิจกรรมลดปัญหาการว่างงาน และเห็นว่า กล้วยไข่พระตะบอง ที่เป็นกล้วยพันธุ์พื้นเมืองของพื้นที่ทางภาคเหนือ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ได้ปลูกไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในที่ของตนเองอยู่แล้ว แต่เป็นกล้วยที่ไม่นิยมกินสุก จึงได้แค่นำไปเป็นอาหารสัตว์เท่านั้น ไม่มีค่าอะไร จึงได้มีความคิดร่วมกันว่า จะนำกล้วยไข่พระตะบองดิบสด มาเป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็น “กล้วยทอดกรอบ” เริ่มแรก ได้ปรึกษาวิธีการผลิตกับทางญาติที่อยู่ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งทำอยู่ก่อนแล้ว แต่รสชาติที่ได้ยังไม่คงที่ ต่อมาได้มีส่วนราชการได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือพัฒนากลุ่มและตัวสินค้า จึงคิดทดลองดัดแปลงสูตรการผลิต จนลงตัวเป็นสูต
เศรษฐกิจที่ไม่ราบรื่นในยุคนี้ ส่งผลสะท้อนไปถึงตลาดการซื้อขายสัตว์เลี้ยงสวยงามทุกกลุ่ม แม้กระทั่งแมวในกลุ่ม Exotic ที่ก่อนหน้านี้มีราคาค่อนข้างสูง ก็ราคาย่อมเยามากขึ้น หากอยู่ในกลุ่มของมือใหม่หัดเลี้ยงหรืออยากมีไว้เป็นเพื่อน ก็ควรพินิจพิเคราะห์แหล่งซื้อ ถึงแม้ว่าราคาจะย่อมเยาลง แต่การคัดสรรให้ได้สายพันธุ์คุณภาพ คงเป็นเรื่องที่ไว้ใจหรือเดินหาซื้อทั่วไปไม่ได้แน่นอน Catzilla Exotic Cattery เป็นเพจแมว Exotic ที่เชื่อมือได้ ที่บอกเช่นนี้ เพราะ พ.ต.หญิง ดลยา เบญจาศิริชัย หรือ คุณเดือน เจ้าของฟาร์มให้เกียรติมาพูดคุยและให้ข้อมูลที่ควรรู้ สำหรับผู้รักและหลงใหลแมว Exotic คุณเดือน เริ่มจากเห็นแมวแล้วรัก เมื่อ 5 ปีก่อน ทั้งที่ไม่เคยเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดใดมาก่อนเลย เมื่อรู้ว่าใจรักและชอบแมว จึงเริ่มศึกษาหาความรู้เรื่องราวและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับแมวอย่างจริงจัง ก่อนจะตัดสินใจซื้อแมวมาเลี้ยง ซึ่งคุณเดือนเลือกแมว Exotic คุณเดือน อธิบายถึงแมว Exotic ว่า เป็นแมวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง แมวเปอร์เซีย (Persian) และแมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น (American Shorthair) จนเลือดนิ่ง และได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา เรี
ตู้ฟักไข่ไก่พื้นเมืองโมเดลกรมปศุสัตว์ เป็น 1 ใน 113 ผลงาน วิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมคุณภาพ ที่นำเข้าร่วมประกวดในงานการประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2560 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัยและประดิษฐ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ ตู้ฟักไข่ไก่พื้นเมืองโมเดลกรมปศุสัตว์ เป็นผลงานการวิจัยของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ในสังกัดสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ โดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วย คุณอำนวย เลี้ยวธารากุล คุณดรุณี โสภา คุณเจนรงค์ คำมงคุณ คุณซิมโอน ปัญญา และ คุณประเสริฐ อยู่สอน คุณเจนรงค์ คำมงคุณ หนึ่งในคณะผู้ประดิษฐ์กล่าวถึงจุดเริ่มต้นการวิจัยพัฒนาจนได้ตู้ฟักไข่ไก่พื้นเมืองโมเดลกรมปศุสัตว์ว่า สืบเนื่องจากที่กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการวิจัยพัฒนาจนได้สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่มีศักยภาพของสายพันธุ์สูงขึ้นมากกว่าเดิม และมีการจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรขึ้น เพื่อดำเนินการผลิตสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองจ
สวัสดีครับ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกามีผลที่สะเทือนไปทั่วโลก พี่ไทยหลายคนกลัวเรื่องเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติ หลายท่านกลัวเรื่องเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปกระทบ สะเทือนประเทศเล็กๆ อย่างไทยเรา ผมอยากจะเรียนท่านผู้อ่านไว้ตรงนี้เลยว่าไม่ต้องกลัวครับ ไม่ต้องกลัวจะไม่กระทบ มันส่งผลกระทบกระเทือนถึงไทยแน่ๆ ครับ แต่จะดีจะแย่แค่ไหนผมก็ไม่ทราบ รู้แต่ว่าเราต้องเตรียมตัว ปรับตัวรับสภาพให้ทัน ดังเช่น เกษตรกรท่านนี้ที่ผมพาไปชม เขาขุนวัวเป็นอาชีพเสริมและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนขนาดธุรกิจของเขาให้เข้ากับทิศทางธุรกิจที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามมาจะพาไปดูครับ วัวขุนอาชีพเสริมที่เอาจริง พาท่านไปพบกับ คุณวิศาล กระต่าย ที่บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี คุณวิศาล มีคอกวัวขุนอยู่หลังบ้าน เป็นคอกวัวขุนที่สร้างขึ้นอย่างแข็งแรง ถาวร ชี้ให้เห็นว่าเขาเอาจริงเอาจังกับการขุนวัวอยู่ไม่น้อย คุณวิศาล เริ่มเล่าให้ฟังว่า “ผมมีงานประจำอยู่แล้วแต่ก็มองหาอาชีพเสริมไปด้วย สุดท้ายก็มาลงเอยที่การขุนวัวเป็นอาชีพเสริม รายได้เสริม เริ่มขุนมาได้ 2 ปีแล้ว เริ่มต้นก็ลงทุนกับเรื่องคอกวัวแบบถาว
สับปะรดในประเทศไทย นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์ในลำดับต้นๆของโลก มูลค่าส่งออกสูงถึง 25,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากคือ สับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 80 และน้ำสับปะรด ร้อยละ 20 โดยมีทั้งการส่งออกในตราสินค้าของตนเองและการรับจ้างผลิต แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิต ในปี 2554 มีโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดเข้มข้นที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มากกว่า 75 โรง กำลังผลิตรวมกันประมาณ 800,000 ตัน/ปี ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกประมาณปีละ 600,000 ตัน/ปี คู่แข่งสำคัญของไทยในอุตสาหกรรมสับปะรด คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจีน พันธุ์สับปะรดที่เกษตรกรปลูก หากเป็นสับปะรดส่งโรงงานนิยมปลูกพันธุ์ปัตตาเวีย เนื่องจากมีเนื้อแน่น รสหวานปานกลางหรือหวานจัดสามารถปลูกได้ทั่วไป สำหรับพันธุ์รับประทานผลสดมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก กล่าวคือ พันธุ์นางแล ลักษณะใบมีขอบเรียบหรือมีหนามเล็กน้อย ผลรูปทรงกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อหวานจัด สีเหลืองทอง พบปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่ตำบลนางแล อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงร
ในปีนี้ นับเป็นบททดสอบที่ยากและท้าทายสำหรับชาวนาไทย เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยในหลายพื้นที่ แต่พวกเขาก็สู้ไม่ถอย พยายามประคบประหงมต้นข้าวในแปลงนาให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้สำเร็จจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี ชาวนาต้องน้ำตาตกอีกครั้งเมื่อเจอปัญหาข้าวเปลือกราคาตกต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ภาครัฐบาลได้จัดทำโครงการรับประกันราคาข้าว โครงการจำนำ ยุ้งฉางข้าว รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวนาผลิตข้าวสารบรรจุถุงออกขายกับผู้บริโภคโดยตรง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เครื่องเกี่ยวข้าว ฝีมือ “วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย” วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเล็งเห็นว่า นอกจากเรื่องราคาข้าวแล้ว ปัจจุบัน ชาวนายังประสบปัญหาต้นทุนสูงจากการจ้างแรงงาน และปัญหาขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวข้าวในหลายพื้นที่ จึงได้พัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวรุ่นใหม่ ที่ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า สามารถเกี่ยวข้าวได้อย่างรวดเร็วกว่าการเกี่ยวด้วยเคียวตามปกติ เมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ทางวิทยาลัยเทคนิคเชียงรายได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ในงานวันช่วยเหลือชาวนาอันเนื่องมาจากราคาข
ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม หากใครเดินทางมาท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ถ้ามีโอกาสเชิญเที่ยวชมแปลงเก๊กฮวยบ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำลังชูช่อดอกสวยงาม คุณภูสิทธิ อินเหลือละ หรือ คุณขาว บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 2 บ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง ซึ่งปลูกประมาณ 1 ไร่และ คุณจรินทร์ทิพย์ ศรีวรรณะ หรือ คุณนก บ้านเลขที่ 88 หมู่บ้านเดียวกัน ปลูกประมาณ 3 งาน ผู้ปลูกดอกเก๊กฮวย ให้ข้อมูลว่า การปลูกดอกเก๊กฮวยของเกษตรกรบ้านอมลองนั้น จะเริ่มปลูกโดยถือฤกษ์วันพืชมงคลของทุกปี เป็นวันเริ่มต้นปลูก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การปลูกจะใช้หน่อที่แตกจากต้นเดิมมาปลูก เมื่อเก็บดอกสดแล้วจะนำไปอบด้วยเตาฟืนแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ขณะนี้ทางสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำลังทำงานวิจัยในส่วนของการใช้เตาอบแบบใช้แก๊สและไฟฟ้าอยู่ ต่อไปคงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ หลังอบ จากดอกเก๊กฮวยสด 7-8 กิโลกรัม จะได้เก๊กฮวยแห้ง ประมาณ 1 กิโลกรัม โดยจะมีผู้ซื้อมารับถึงที่ ในราคากิโลกรัมละ 1,600 บาท ใน 1 ไร่ ปีที่แล้ว คุณขาว บอ
สมัยตอนเป็นเด็ก วิ่งเล่นอยู่ที่ราชบุรีนั้น ผมจำได้ว่า เวลาถูกใช้ให้ไปซื้อน้ำตาลปี๊บที่ตลาด จะต้องถูกกำชับให้บอกแม่ค้าว่า เอาแบบที่ “ไม่ใส่ยาซัด” เพราะถ้าใส่ ปึกน้ำตาลนั้นจะแข็งกระด้าง กินไม่อร่อย ในตอนนั้น น้ำตาลปี๊บที่ขายแถวบ้านผมนั้นจะทำจากน้ำหวานงวงต้นตาลหรือมะพร้าว ผมเองก็ไม่รู้นะครับ แถมยาซัดที่ว่านั่นคืออะไรก็ไม่เคยถามแม่ค้าสักที พอโตขึ้นมาก็เริ่มเข้าใจว่า อันน้ำตาลปี๊บที่ผมรู้จักส่วนใหญ่ทำจากน้ำตาลมะพร้าวและตาลโตนด และ “ยาซัด” แบบง่ายๆ แบบหนึ่ง ก็คือ น้ำตาลทราย ซึ่งเมื่อผสมในสัดส่วนที่เหมาะสม จะทำให้น้ำตาลปี๊บนั้นแข็ง ไม่อ่อนตัวง่าย บรรจุส่งขายได้สะดวก ส่วนน้ำตาลอ้อย สีคล้ำๆ เป็นแว่นขนาดงบน้ำอ้อยบ้าง ทรงกระบอกสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้น ผมมารู้จักเอาทีหลัง และผมชอบรสชาติ ตลอดจนกลิ่นหอมแบบดิบๆ ของมันมาก โดยเฉพาะเวลาอมเล่นเป็นขนมหวานตอนปั่นจักรยานเหนื่อยๆ ที่จริง ภาพจำของผมเกี่ยวกับน้ำตาลที่ขายๆ กันในตลาดก็น่าจะชัดเจนตามที่พรรณนามาแล้วนะครับ อย่างอื่นๆ อย่างเช่น น้ำตาลกรวด น้ำตาลตังเม (แบะแซ) ก็ล้วนแต่รู้จักแล้วทั้งสิ้น…แต่บางครั้ง เรื่องน้ำตาลที่ว่าหวานๆ ก็กลับซับซ้อนเกินกว่าจะคาด
คุณอาธัญฤทธิ์ สีท้าว เจ้าของสวนพริกไทย ไร่ธัญฤทธิ์ (ศูนย์จำหน่ายพันธุ์และถ่ายทอดความรู้เกษตรผสมผสาน) เลขที่ 98/9 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โทร. (097) 924-9993, (056) 000-579 คุณอาธัญฤทธิ์ สีท้าว ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจการเกษตร โดยปลูกพริกไทยพันธุ์ซีลอน (ยอดขาว) ซึ่งพันธุ์ซีลอนยอดขาว เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาว โดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่าคือส่วนยอด ช่อผลจะยาว การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัก ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัก นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง กำลังเป็นที่นิยมปลูก เนื่องจากสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบหรืออากาศร้อน เพียงแต่จะต้องมีสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีการพรางแสงช่วย ขั้นตอนการเตรียมดิน สำหรับการเตรียมดินนั้น เราจะใช้ดินในส่วนแรก หน้าดิน จำนวน 70% ผสมขุยมะพร้าว จำนวน 10% ผสมปุ๋ยคอกเก่า จำนวน 10% ผสมพวกเศษวัสดุการเกษตร เช่น เปลือกถั่วต่างๆ ใบก้ามปู ใบไผ่ จำนวน 10% เคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน โดยเรียงลำดับชั้น โดยแต่ละชั้นจ
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกในฤดูฝน จึงเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 8.3 ล้านล้านบาท เป็น 9.5 ล้านล้านบาท ก็ตาม แต่เมื่อมองลึกลงไปในภาคการเกษตร จีดีพี กลับลดลงที่ระดับ 6.2 แสนล้านบาท เนื่องมาจากมีปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวม เริ่มจาก ข้าว พืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ในแต่ละปีส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศ มีมูลค่า 1.5-1.7 แสนล้านบาท จากปริมาณการผลิต 21-22 ล้านตันข้าวสาร ในจำนวนนี้ใช้บริโภคภายในประเทศ 9.8 ล้านตัน และส่งออกอีก จำนวน 10.0 ล้านตัน ในรอบปีที่ผ่านมาประเทศคู่ค้าของไทยผลิตข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ก็ตาม และขณะเดียวกันประเทศเวียดนาม พม่า และอินเดีย มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย สามารถส่งออกได้ราคาถูกกว่า ตันละ 900-1,000 บาท ทำให้ประเทศคู่ค้าหันไปซื้อข้าวที่มีราคาถูกกว่า ข้าวไทยจึงเกิดปัญหาในเรื่องราคา ยางพารา ไทยเคยส่งออก 3 ล้านตัน แต่ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จีนก็มีปัญหาคล้ายคลึงกัน ส่วนญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวจากผลของสึนามิถล